ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เวลาเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์คนส่วนใหญ่จะนึกถึงประกันอุบัติเหตุภาคสมัครใจก่อน พ.ร.บ.รถยนต์ เนื่องจากให้ความคุ้มครองทั้งคนและรถที่เกิดอุบัติเหตุ นอกจากนั้นยังสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันรถยนต์มาจัดการปัญหาในที่เกิดเหตุได้ทันที ซึ่งแตกต่างจาก พ.ร.บ. รถยนต์ที่ผู้บาดเจ็บต้องดำเนินการเรื่องเอกสารเบิกเคลมประกันกับบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถด้วยตัวเอง ด้วยเหตุนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เมื่อประสบอุบัติเหตุหลายคนจะลืมเคลมประกันและทิ้งเงินก้อนโตจาก พ.ร.บ. ไปโดยปริยาย ทั้ง ๆ ที่ในความจริงแล้วการเบิกเคลมประกันจาก พ.ร.บ. ไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่หลายคนเข้าใจ ส่วนจะต้องดำเนินการอย่างไร และ พ.ร.บ.รถ คุ้มครองอะไรบ้าง นั้น เรามีคำตอบมาฝาก
สำหรับคนที่สงสัยว่า พ.ร.บ.รถ คุ้มครองอะไรบ้าง คำตอบคือความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. จะแบ่งเป็นสองแบบ คือ การคุ้มครองความเสียหายเบื้องต้น เป็นการคุ้มครองผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทั้งฝ่ายถูกและผิด เพื่อให้ทุกคนได้รับการรักษาพยาบาลเบื้องต้นและเงินชดเชยอย่างเหมาะสม โดย พ.ร.บ. จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ตามจริงสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท แต่หากสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิตจะได้รับเงินชดเชย 35,000 บาท ขณะส่วนที่สองเป็นค่าสินไหมทดแทนที่ทาง พ.ร.บ. จะจ่ายให้กับฝ่ายถูกเท่านั้น ซึ่งมีการเพิ่มค่ารักษาพยาบาลสูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท เงินชดเชยวันละ 200 บาท สูงสุด 20 วัน กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน สูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพได้รับเงินชดเชย 200,000 – 500,000 บาท โดยพิจารณาตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ และกรณีเสียชีวิตจะได้รับเงิน 500,000 บาท
การเคลมความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. รถยนต์หลังเกิดอุบัติเหตุในส่วนของการคุ้มครองความเสียหายเบื้องต้น สามารถยื่นเคลมความคุ้มครองได้โดยไม่ต้องรอผลการพิสูจน์ความผิดจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ขณะที่ส่วนของสินไหมทดแทนจะสามารถเคลมได้หลังจากมีการพิสูจน์ความจริง สำหรับขั้นตอนการขอเคลมความคุ้มครองผู้บาดเจ็บหรือทายาทสามารถยื่นเอกสารของผู้ประสบอุบัติเหตุตามที่ พ.ร.บ. กำหนดให้กับโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษาประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือยื่นที่บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถโดยตรง ซึ่งเอกสารที่ต้องเตรียมจะขึ้นอยู่กับกรณีที่เคลม แต่เอกสารหลักประกอบไปด้วยสำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบอุบัติเหตุหรือเอกสารยืนยันตัวตนที่ออกโดยหน่วยงานราชการ สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาทะเบียนรถคันที่เกิดเหตุ ใบแจ้งความหรือบันทึกประจำวันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล ใบรับรองแพทย์ที่มีระบุอาการหรือความพิการ ใบมรณบัตรกรณีเสียชีวิต และที่สำคัญสำเนาใบกรมธรรม์ พ.ร.บ.รถยนต์
เป็นอย่างไรบ้างสำหรับข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับความคุ้มครองและวงเงินคุ้มครองของ พ.ร.บ. ที่เรานำมาฝาก ซึ่งถึงแม้ว่า พ.ร.บ. จะไม่ครอบคลุมในส่วนความเสียหายของทรัพย์สิน แต่เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยบรรเทาความเสียหายที่เกิดจากอุบัติเหตุได้ ดังนั้นถ้าไม่อยากทิ้งห้ามลืม ต่อพ.ร.บ.รถยนต์ อย่างเด็ดขาด เพราะนอกจากเป็นการกระทำผิดกฎหมายเสี่ยงต่อการถูกปรับจากเจ้าหน้าที่แล้ว หากเกิดอุบัติเหตุยังต้องรับผิดชอบความเสียหายทั้งหมดเองอีกด้วย แต่สำหรับใครที่ พ.ร.บ. ใกล้หมดอายุและยังไม่รู้ว่าจะ ต่อพ.ร.บ.รถยนต์ ออนไลน์จากที่ไหนดี แนะนำ Insurverse ที่ทั้งสมัครง่ายและมีเจ้าหน้าที่คอยให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง เช็กเบี้ยเลย!
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นประจำทุกปีนั้นเป็นสิ่งที่จะสร้างความอุ่นใจ แต่หากลืมว่าทำ พ.ร.บ. รถยนต์ กับที่ไหน หมดอายุเมื่อไหร ตรวจสอบได้ดังนี้
ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์กี่บาท? ราคาเท่าไหร่? คำตอบขึ้นอยู่กับประเภทรถยนต์ เช่น รถเก๋ง 499 บาท รถกระบะ 799 บาท รถตู้ราคา 999 บาท ราคาถูกชัวร์แบบนี้ต้องที่ insurverse
พ.ร.บ. รถยนต์ หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เป็นประกันภาคบังคับที่เจ้าของรถทุกคันต้องทำ ซึ่งให้ความคุ้มครองผู้ประสบภัยไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิด