ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เวลาเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์คนส่วนใหญ่จะนึกถึงประกันอุบัติเหตุภาคสมัครใจก่อน พ.ร.บ.รถยนต์ เนื่องจากให้ความคุ้มครองทั้งคนและรถที่เกิดอุบัติเหตุ นอกจากนั้นยังสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันรถยนต์มาจัดการปัญหาในที่เกิดเหตุได้ทันที ซึ่งแตกต่างจาก พ.ร.บ. รถยนต์ที่ผู้บาดเจ็บต้องดำเนินการเรื่องเอกสารเบิกเคลมประกันกับบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถด้วยตัวเอง ด้วยเหตุนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เมื่อประสบอุบัติเหตุหลายคนจะลืมเคลมประกันและทิ้งเงินก้อนโตจาก พ.ร.บ. ไปโดยปริยาย ทั้ง ๆ ที่ในความจริงแล้วการเบิกเคลมประกันจาก พ.ร.บ. ไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่หลายคนเข้าใจ ส่วนจะต้องดำเนินการอย่างไร และ พ.ร.บ.รถ คุ้มครองอะไรบ้าง นั้น เรามีคำตอบมาฝาก
สำหรับคนที่สงสัยว่า พ.ร.บ.รถ คุ้มครองอะไรบ้าง คำตอบคือความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. จะแบ่งเป็นสองแบบ คือ การคุ้มครองความเสียหายเบื้องต้น เป็นการคุ้มครองผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทั้งฝ่ายถูกและผิด เพื่อให้ทุกคนได้รับการรักษาพยาบาลเบื้องต้นและเงินชดเชยอย่างเหมาะสม โดย พ.ร.บ. จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ตามจริงสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท แต่หากสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิตจะได้รับเงินชดเชย 35,000 บาท ขณะส่วนที่สองเป็นค่าสินไหมทดแทนที่ทาง พ.ร.บ. จะจ่ายให้กับฝ่ายถูกเท่านั้น ซึ่งมีการเพิ่มค่ารักษาพยาบาลสูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท เงินชดเชยวันละ 200 บาท สูงสุด 20 วัน กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน สูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพได้รับเงินชดเชย 200,000 – 500,000 บาท โดยพิจารณาตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ และกรณีเสียชีวิตจะได้รับเงิน 500,000 บาท
การเคลมความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. รถยนต์หลังเกิดอุบัติเหตุในส่วนของการคุ้มครองความเสียหายเบื้องต้น สามารถยื่นเคลมความคุ้มครองได้โดยไม่ต้องรอผลการพิสูจน์ความผิดจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ขณะที่ส่วนของสินไหมทดแทนจะสามารถเคลมได้หลังจากมีการพิสูจน์ความจริง สำหรับขั้นตอนการขอเคลมความคุ้มครองผู้บาดเจ็บหรือทายาทสามารถยื่นเอกสารของผู้ประสบอุบัติเหตุตามที่ พ.ร.บ. กำหนดให้กับโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษาประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือยื่นที่บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถโดยตรง ซึ่งเอกสารที่ต้องเตรียมจะขึ้นอยู่กับกรณีที่เคลม แต่เอกสารหลักประกอบไปด้วยสำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบอุบัติเหตุหรือเอกสารยืนยันตัวตนที่ออกโดยหน่วยงานราชการ สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาทะเบียนรถคันที่เกิดเหตุ ใบแจ้งความหรือบันทึกประจำวันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล ใบรับรองแพทย์ที่มีระบุอาการหรือความพิการ ใบมรณบัตรกรณีเสียชีวิต และที่สำคัญสำเนาใบกรมธรรม์ พ.ร.บ.รถยนต์
เป็นอย่างไรบ้างสำหรับข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับความคุ้มครองและวงเงินคุ้มครองของ พ.ร.บ. ที่เรานำมาฝาก ซึ่งถึงแม้ว่า พ.ร.บ. จะไม่ครอบคลุมในส่วนความเสียหายของทรัพย์สิน แต่เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยบรรเทาความเสียหายที่เกิดจากอุบัติเหตุได้ ดังนั้นถ้าไม่อยากทิ้งห้ามลืม ต่อพ.ร.บ.รถยนต์ อย่างเด็ดขาด เพราะนอกจากเป็นการกระทำผิดกฎหมายเสี่ยงต่อการถูกปรับจากเจ้าหน้าที่แล้ว หากเกิดอุบัติเหตุยังต้องรับผิดชอบความเสียหายทั้งหมดเองอีกด้วย แต่สำหรับใครที่ พ.ร.บ. ใกล้หมดอายุและยังไม่รู้ว่าจะ ต่อพ.ร.บ.รถยนต์ ออนไลน์จากที่ไหนดี แนะนำ Insurverse ที่ทั้งสมัครง่ายและมีเจ้าหน้าที่คอยให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง เช็กเบี้ยเลย!
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
หลายๆ คนที่ขับรถน่าจะรู้กันอยู่แล้วล่ะ ก่อนต่อภาษีรถยนต์ต้องต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ซะก่อน แต่ตรงขั้นตอนชำระภาษีใน dlt vehicle tax เนี่ยสิทำยังไง
ในยุคที่โลกดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน การทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ก็กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว รวมถึงการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ที่ง่าย
ทุกคนนน!! วันนี้มีเรื่องสำคัญมากๆ สำหรับเจ้าของรถทุกคนมาบอกต่อ! ซึ่งก็คือ เรื่องของการต่อประกันภัยภาคบังคับหรือที่เรียกติดปากว่าการต่อพ.ร.บ.