พ.ร.บ.รถยนต์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับรถทุกคัน ไม่ว่าจะเป็นรถเก่าหรือใหม่ ไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมมากน้อยแค่ไหน แต่หากว่าไม่ได้ทำ พ.ร.บ.รถยนต์ หรือ พ.ร.บ.รถยนต์ หมดอายุ แต่ไม่ยอมไปต่อ นอกจากจะมีผลทางกฎหมายแล้ว หากเกิดอุบัติเหตุขึ้น ก็จะตามมาพร้อมค่าใช้จ่ายมากมายอีกเช่นเดียวกัน
พ.ร.บ.รถยนต์ หรือประกันภัยภาคบังคับที่กฎหมายกำหนดว่าเจ้าของรถจะต้องทำให้รถทุกคัน โดยปกติแล้วจะมีอายุ 1 ปี และจำเป็นต้องดำเนินการต่อ พ.ร.บ. เป็นประจำทุกปี และหากไม่ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ เจ้าของรถหรือผู้ขับขี่รถคันนั้นจะมีโทษทางกฎหมาย เนื่องจากมีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยมีค่าปรับดังนี้
นอกจากนี้ หากเกิดอุบัติเหตุจะไม่ได้รับความคุ้มครอง ไม่สามารถยื่นต่อภาษีรถยนต์ หรือต่อทะเบียนรถยนต์ได้ หากปล่อยไว้นานเกิน 3 ปี ทะเบียนรถจะถูกระงับ และเมื่อจะไปต่อภาษี จะเสียค่าปรับสำหรับการชำระภาษีรถยนต์ย้อนหลังเดือนละ 1%
หากถึงวันหมดอายุแล้วไม่มีการทำเรื่องต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ยิ่งปล่อยไว้นานก็ยิ่งมีผลกระทบและการดำเนินการที่ยุ่งยากมากขึ้น
หากปล่อยให้ขาดต่อเนื่องมาไม่เกิน 1 ปี จะสามารถทำเรื่องต่อภาษีได้เลยโดยไม่เสียค่าปรับในส่วนของ พ.ร.บ. เพิ่มเติม แต่อาจจะโดนปรับในส่วนของภาษีได้
จะต้องนำรถไปตรวจสภาพก่อน และไปต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ด้วยตนเองได้ที่กรมการขนส่งทางบก เพื่อทำการต่อทะเบียนรถพร้อมกับเสียค่าปรับครับ โดยมีเอกสารที่ต้องใช้ ได้แก่ ทะเบียนบ้านเจ้าของรถ สมุดทะเบียนรถ และสำเนาบัตรประชาชนเจ้าของรถ ซึ่งอาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าจดทะเบียน ค่าต่อภาษี และค่าตรวจสภาพรถด้วย
ในระยะเวลานี้รถจะถูกระงับทะเบียน หากต้องการใช้รถ จะต้องทำการจดทะเบียนรถยนต์ใหม่และเสียค่าปรับจากการเก็บภาษีรถยนต์ย้อนหลัง เอกสารที่ใช้จะมี ทะเบียนบ้านเจ้าของรถ สมุดทะเบียนรถ และสำเนาบัตรประชาชนเจ้าของรถ และมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามมาด้วย
ไม่มีประโยชน์อะไรที่เราจะรอให้ พ.ร.บ.รถยนต์ หมดอายุ เพราะสามารถต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ล่วงหน้าได้ถึง 3 เดือน ดังนั้น เช็กวันหมดอายุให้ดี แล้วมาต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ล่วงหน้า พร้อมรับกรมธรรม์ทันทีทางอีเมล ราคาสบายกระเป๋า เริ่มต้นที่ 569 บาทเท่านั้น พลาดไม่ได้แล้ว ที่ insurverse
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
สมรรถนะรถยนต์ไฟฟ้าเทียบเท่าได้กับรถยนต์ทั่วไป เหนือระดับด้วยความเป็น รถไฟฟ้า ev ประหยัดพลังงาน
หลายๆ คนที่ขับรถน่าจะรู้กันอยู่แล้วล่ะ ก่อนต่อภาษีรถยนต์ต้องต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ซะก่อน แต่ตรงขั้นตอนชำระภาษีใน dlt vehicle tax เนี่ยสิทำยังไง
ในยุคที่โลกดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน การทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ก็กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว รวมถึงการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ที่ง่าย