เชื่อว่าผู้ใช้รถยนต์ส่วนใหญ่ย่อมจะต้องรู้จัก “พ.ร.บ.รถยนต์” หรือ “ประกันภัยภาคบังคับ” กันดีอยู่แล้ว เพราะเป็นสิ่งที่กฎหมายบังคับให้รถทุกคันต้องมี แต่สำหรับเจ้าของรถมือใหม่บางคนก็อาจจะไม่รู้ว่าการ ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ นั้นต้องทำทุก ๆ ปี ห้ามขาด ไม่เช่นนั้นจะมีโทษปรับตามกฎหมาย ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยให้เจ้าของรถมือใหม่ต่อ พ.ร.บ.ได้สะดวกราบรื่น วันนี้เราก็จะมาแนะนำบริการต่อ พ.ร.บ.ออนไลน์ พร้อมรับส่วนลดพิเศษที่ Insurverse
สำหรับผู้ที่ ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ กับทาง Insurverse จะได้รับความคุ้มครองตาม “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535” ที่คุ้มครองทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร รวมทั้งคู่กรณีจากอุบัติเหตุต่าง ๆ โดยไม่สนใจว่าบุคคลนั้นจะเป็นฝ่ายผิดหรือถูก โดยความคุ้มครองมีดังนี้
สำหรับผู้ที่ ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ โดยสารส่วนบุคคลทุกประเภทกับทาง Insurverse จะได้รับส่วนลดพิเศษค่าต่อ พ.ร.บ. รายปีดังนี้
ทั้งนี้ เราขอเตือนไว้ก่อนว่าเจ้าของรถที่ไม่ได้ต่อ พ.ร.บ. ประจำปี จะมีโทษปรับตามกฎหมายสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท และจะไม่สามารถยื่นต่อภาษีทะเบียนรถยนต์ประจำปีได้ ดังนั้น เราขอแนะนำอย่าให้ พ.ร.บ.ขาดหรือหมดอายุ เพราะค่าปรับแพงกว่าค่า ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ หลายเท่า แถมเสียเวลาอีกต่างหาก
สำหรับใครที่กำลังสงสัยว่าเราจะสามารถเช็กวันที่ พ.ร.บ.รถยนต์ หมดอายุได้อย่างไร? ก็ต้องตอบว่าเราสามารถเช็กได้ตามวิธีดังต่อไปนี้
นอกจากบริการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ แล้ว Insurverse ยังมีบริการทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจแบบออนไลน์ โดยมีแผนประกันให้เลือกหลากหลายแบบตั้งแต่ประกันรถยนต์ชั้น 1, ชั้น 2+, ชั้น 3+ และชั้น 3 รวมทั้งมีบริการทำประกันอุบัติเหตุที่สามารถเลือกจำนวนทุนประกันเองได้ ตอบโจทย์เจ้าของรถที่กำลังมองหาผู้บริการทำประกันแบบครบวงจร
สำหรับใครที่สนใจอยากศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปเช็กเบี้ยได้ที่นี่ และอย่าลืมต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ให้ตรงเวลาเพื่อความอุ่นใจในการใช้รถใช้ถนน
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
หลายๆ คนที่ขับรถน่าจะรู้กันอยู่แล้วล่ะ ก่อนต่อภาษีรถยนต์ต้องต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ซะก่อน แต่ตรงขั้นตอนชำระภาษีใน dlt vehicle tax เนี่ยสิทำยังไง
ในยุคที่โลกดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน การทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ก็กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว รวมถึงการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ที่ง่าย
ทุกคนนน!! วันนี้มีเรื่องสำคัญมากๆ สำหรับเจ้าของรถทุกคนมาบอกต่อ! ซึ่งก็คือ เรื่องของการต่อประกันภัยภาคบังคับหรือที่เรียกติดปากว่าการต่อพ.ร.บ.