vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
วิธีต่อพ.ร.บ.รถยนต์ 2567 ต่อออนไลน์ได้ เตรียมเอกสารอะไรบ้าง?

วิธีต่อพ.ร.บ.รถยนต์ 2567 ต่อออนไลน์ได้ เตรียมเอกสารอะไรบ้าง?

schedule
share
วิธีต่อพ.ร.บ.รถยนต์ 2567 ต่อออนไลน์ได้ เตรียมเอกสารอะไรบ้าง?
ที่มารูปภาพ: https://pixabay.com/th/photos/รถยนต-bmw-กนชน-ดวงเลก-ไฟหนา-1834278/

ถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าของรถทุกคันไม่ว่าจะเป็นรถจักรยานยนต์หรือรถยนต์ที่จะต้องต่อภาษีประจำปี หรือที่ใครหลายคนมักจะเรียกว่าต่อทะเบียนรถ หากเป็นรถใหม่และยังผ่อนชำระกับทางไฟแนนซ์ ไฟแนนซ์จะเป็นคนดำเนินการให้ หากได้โอนกรรมสิทธิ์เป็นรถของตัวท่านเองแล้วจะต้องจัดการด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดความเข้าใจและ ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ และภาษีให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สามารถทำได้ดังนี้

สำรวจวัน เดือน ปี ที่ครบกำหนดชำระภาษี

  1. สิ่งแรกที่ต้องทำก่อนต่อ พ.ร.บ. เจ้าของรถจะต้องตรวจสอบ วันที่ครบกำหนดชำระ ซึ่งจะระบุไว้ที่แผ่นป้ายชำระภาษีหรือใครหลายคนเรียกว่าแผ่นป้ายวงกลม ในการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ และภาษีประจำปี จะต้องทำก่อนวันที่ครบกำหนด เพราะหากเลยวันที่ครบกำหนดไปแล้ว มีโอกาสที่จะโดนเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกจับปรับได้ และหากไปต่อหลังวันที่ครบกำหนดจะต้องเสียค่าปรับตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
  2. หากรถยนต์ที่มีอายุไม่ถึง 7 ปี, รถจักรยานยนต์ที่มีอายุไม่ถึง 5 ปี ไม่ต้องนำรถเข้าตรวจสภาพ สามารถนำสมุดคู่มือทะเบียนไปยื่นซื้อ พ.ร.บ.รถยนต์ กับตัวแทนบริษัทประกันภัยรถยนต์หรือที่กรมการขนส่งทางบก จะมีเจ้าหน้าที่บริษัทประกันหรือตัวแทนมาคอยรับเรื่องในการต่อ พ.ร.บ. เมื่อดำเนินเรื่องต่อ พ.ร.บ. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้นำเอกสารการต่อ พ.ร.บ.กับคู่มือทะเบียนรถ ไปยื่นกับเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบกเพื่อต่อภาษีรถประจำปีได้เลย
  3. แต่ถ้ารถยนต์ที่มีอายุเกินกว่า 7 ปีขึ้นไป, รถจักรยานยนต์ที่อายุเกินกว่า 5 ปี ขึ้นไป จะต้องนำรถเข้ารับการตรวจสอบสภาพที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกก่อน จึงจะสามารถ ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ได้
  4. หลังจากนำรถตรวจสภาพเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สามารถนำเอกสารการตรวจสภาพไปต่อ พ.ร.บ. เพื่อนำหลักฐานการต่อ พ.ร.บ. รถ ไปแนบคู่กับคู่มือทะเบียนรถเพื่อต่อภาษีประจำปีต่อไปได้
  5. การต่อภาษีรถยนต์ประจำปีนั้น สามารถต่อล่วงหน้าได้ 90 วัน ก่อนที่ภาษีรถยนต์และ พ.ร.บ.จะครบกำหนด

การยื่นต่อ พ.ร.บ.ออนไลน์

ปัจจุบัน กรมการขนส่งทางบกได้อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ครอบครองรถยนต์ที่จดทะเบียนอายุเกิน 7 ปี สามารถยื่นต่อภาษีและ พ.ร.บ.ออนไลน์ได้ด้วยตนเองแล้ว เพียงแต่เข้าไปลงทะเบียนข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลรถได้ที่ https://eservice.dlt.go.th จากนั้นลงทะเบียนในส่วนของรถยนต์ที่ต้องการจะต่อภาษีและ พ.ร.บ. โดย

  • กรอกรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับรถของท่าน เพื่อลงทะเบียนรถ จากนั้นค่อยยื่นชำระภาษี        
  • กรอกรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับหลักฐานการเอาประกัน ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535  
  • เลือกช่องทางการชำระเงิน สามารถเลือกได้เพียง 1 ช่องทาง ได้แก่   
  • ชำระเงินโดยหักบัญชีเงินฝาก (ต้องมีบัญชีเงินฝากและเป็นสมาชิกใช้บริการโอนเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ตกับธนาคาร/สถาบันการเงิน)       
  • ชำระเงินโดยบัตรเครดิต/บัตรเดบิต (เฉพาะบัตรที่มีสัญลักษณ์ VISA และ Master Card)
  • ชำระเงินโดยพิมพ์ใบแจ้งชำระภาษีรถแล้วนำไปชำระเงิน ณ เคาน์เตอร์ ตู้ ATM หรือแอปพลิเคชันของธนาคาร/สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ        
  • กรณีชำระเงินไม่สำเร็จหรือยังไม่ได้ชำระเงิน ท่านสามารถเปลี่ยนช่องทางการชำระเงินได้ด้วยตนเอง โดยไปที่เมนู ตรวจสอบผล การชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน    
  • เมื่อชำระเงินเป็นที่เรียบร้อย สามารถตรวจสอบสถานะการดำเนินการยื่นชำระภาษี สถานะการจัดส่งเอกสาร หมายเลข EMS เลขกรมธรรม์ หรือปัญหาจากการยื่นชำระ ได้ที่เมนู ตรวจสอบผลการชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน     
  • กรมการขนส่งทางบก จะจัดส่งใบเสร็จรับเงินเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีและสมุดกรมธรรม์ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ให้ผู้ชำระเงินทางไปรษณีย์ตามที่อยู่จัดส่งเอกสารที่กรอกผ่านหน้าเว็บไซต์ 
  • เจ้าของรถสามารถนำสมุดคู่มือจดทะเบียนรถไปปรับบันทึกรายการชำระภาษีได้ที่สำนักงานขนส่งจังหวัดทั่วประเทศ

สำหรับใครที่ยังไม่เคยลงทะเบียนหรือต้องการตรวจสอบ พ.ร.บ.รถยนต์ราคา ของรถแต่ละประเภท สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.insurverse.co.th หนึ่งในผู้ให้บริการ พ.ร.บ. ออนไลน์และประกันรถยนต์ออนไลน์ที่ครอบคลุมทุกยานพาหนะทางบกในราคาที่คุ้มค่า สามารถ เช็กเบี้ย เปรียบเทียบ พ.ร.บ.รถยนต์ราคา ถูกได้ด้วยตัวเองตลอด 24 ชั่วโมง สร้างความอุ่นใจให้คุณตลอดทุกการเดินทาง

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)