vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
รู้หรือไม่ พ.ร.บ. รถยนต์คุ้มครองคุณเพิ่มเติม หากคุณไม่ใช่ผู้ผิด

รู้หรือไม่ พ.ร.บ. รถยนต์คุ้มครองคุณเพิ่มเติม หากคุณไม่ใช่ผู้ผิด

schedule
share

คุณรู้หรือไม่ ว่าพ.ร.บ. รถยนต์มีการคุ้มครองถึง 2 รูปแบบ นั่นก็คือ การคุ้มครองในส่วนแรกเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ทุกคนจะได้รับค่ารักษาพยาบาลแน่นอนเมื่อต้องเข้ารักษาพยาบาล และอีกส่วนเมื่อมีการพิสูจน์แล้วว่าคุณไม่ได้ทำผิด สามารถยื่นขอเงินชดเชยจาก พ.ร.บ. รถยนต์ได้อีกด้วย

พ.ร.บ.รถยนต์กับการคุ้มครอง

พ.ร.บ.รถยนต์กับการคุ้มครอง

ดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า พ.ร.บ. รถยนต์มีการคุ้มครองอยู่ 2 แบบ แต่โดยภาพรวมแล้วการคุ้มครองของ พ.ร.บ. รถยนต์นั้นจะชดเชยเป็นเงินในกรณีดังนี้ 

  • ความเสียหายต่อร่างกายและอนามัย
  • ค่าชดเชยรายวัน กรณีเข้ารักษาตัวผู้ป่วยใน
  • สูญเสียอวัยวะ / ทุพพลภาพอย่างถาวร
  • เสียชีวิต

คุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น โดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด

ในส่วนนี้ทุกคนที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุจะได้รับการชดเชยทันที ในกรณีดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาล พ.ร.บ. จะจ่ายให้ตามจริง โดยจ่ายให้สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท
  •  ในกรณีสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพถาวรทันทีหลังเกิดอุบัติเหตุ พ.ร.บ. จะจ่ายให้ไม่เกิน 35,000 บาทต่อคน 
  • ในกรณีที่เกิดการเสียชีวิต หากเสียชีวิตทันทีหลังจากเกิดอุบัติเหตุ พ.ร.บ. จะจ่ายค่าทำศพเป็นจำนวน 35,000 (หากเกิดความเสียหายหลายกรณีรวมกัน จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาทต่อหนึ่งคน)

ชดเชยค่าเสียหายหลังจากการพิสูจน์ความผิดแล้วให้กับฝ่ายถูก

เมื่อมีการพิจารณา หรือพิสูจน์ความผิดได้แล้ว ฝ่ายที่เป็นฝ่ายถูกสามารถเรียกร้องเงินชดเชยจาก พ.ร.บ. หรือประกันจากฝ่ายที่ผิดได้ โดยจะสามารถเรียกค่าชดเชยได้ดังนี้

  • ในส่วนของค่ารักษาพยาบาลกรณีได้รับบาดเจ็บ จะมีการจ่ายเงินชดเชยรวมค่าสินไหมทดแทนให้ไม่เกิน 80,000 บาท
  • ในกรณีสูญเสียอวัยวะ /ทุพพลภาพถาวร จะมีการจ่ายชดเชยรวมกับค่ารักษาพยาบาลสูงสุดไม่เกิน 200,000 – 500,000 บาท เป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
  • กรณีเสียชีวิต จะมีการจ่ายเงินชดเชยรวมกับค่ารักษาพยาบาล (ในกรณีเสียชีวิตภายหลัง) สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
  • นอกจากนี้จะมีการจ่ายเงินชดเชยเมื่อต้องนอนโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) โดยจ่ายชดเชยให้วันละ 200 บาท รวมไม่เกิน 20 วัน

โดยจะมีเอกสารที่ต้องเตรียมเพื่อยื่นขอเงินชดเชยข้างต้นได้ดังนี้

เอกสารที่ใช้ในการเบิกค่าชดเชย

เอกสารในการเบิกค่าชดเชยต่าง ๆ อาจใช้แตกต่างกันไปเล็กน้อย แต่โดยรวมแล้วเอกสารจำเป็นเมื่อต้องการเบิกค่าชดเชยจากกรณีอุบัติเหตุรถชนนั้น มีดังนี้

  1. แบบฟอร์มการเรียกร้องสินไหมทดแทนของบริษัทประกันภัยที่คุณทำประกันเอาไว้
  2. ใบเสร็จรับเงินฉบับจริง และสำเนา ไม่ว่าจะเป็นจากสถานพยาบาล หรืออู่ซ่อมรถ แจ้งรายการค่าใช้จ่ายอย่างละเอียดและมีลายเซ็นรับรอง
  3. สำเนาบันทึกประจำวันของตำรวจ (กรณีอุบัติเหตุ) ซึ่งต้องมีการรับรองสำเนาจากตำรวจ
  4. ใบรับรองแพทย์ที่ระบุวันที่นอนโรงพยาบาล อาการ บริเวณที่บาดเจ็บ และสาเหตุ (ในกรณีที่เจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ)
  5. บัตรประชาชนของผู้เอาประกันภัยและผู้รับผลประโยชน์ พร้อมสำเนา
  6. ทะเบียนบ้านต้นฉบับของผู้เอาประกันภัย และผู้รับผลประโยชน์
  7. สำเนาทะเบียนรถ (กรณีอุบัติเหตุ)
  8. สำเนาหน้าสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร
  9. เอกสารอื่นๆ เช่น สำเนารายงานการชันสูตรพลิกศพ ภาพถ่ายอุบัติเหตุ สำเนาสูติบัตร สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อนามสกุล (แล้วแต่กรณี)

บทสรุป

พ.ร.บ.รถยนต์กับการคุ้มครอง

พ.ร.บ. รถยนต์ไม่เพียงแต่ช่วยคุ้มครองคุณในขณะเกิดเหตุเพียงเท่านั้น หากคุณเป็นฝ่ายถูกคุณจะได้รับค่าชดเชยเพิ่มเติมอีกด้วย การมี พ.ร.บ. รถยนต์เป็นเรื่องที่ดีและไม่ควรปล่อยให้ พ.ร.บ. รถยนต์ของคุณหมดอายุ เพราะหากเป็นเช่นนั้น ค่าชดเชยหรือการคุ้มครองทั้งหมดที่กล่าว คุณจะไม่ได้รับทั้งสิ้น แต่อาจจะเรียกร้องค่าชดเชยจากประกันของคู่กรณีได้เพียงเท่านั้น

หาก พ.ร.บ. รถยนต์ของคุณหมดอายุแล้ว หรือใกล้หมดอายุ เลือกต่อพ.ร.บ. รถยนต์ออนไลน์ตอนนี้ เพื่อให้คุณได้รับสิทธิ์ทั้งหมดที่กล่าวมา และอุ่นใจทุกครั้งที่ขับขี่ มีการคุ้มครองจาก พ.ร.บ. รถยนต์ช่วยเหลือคุณเสมอ 

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)