vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
รวมเหตุผลว่าทำไมต้องต่อ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ไม่ให้ขาด!!!

รวมเหตุผลว่าทำไมต้องต่อ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ ไม่ให้ขาด

schedule
share
รวมเหตุผลว่าทำไมต้องต่อ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ ไม่ให้ขาด

พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์  จำเป็นต้องต่อไม่ให้ขาด เมื่อเกิดเหตุจะได้รับความคุ้มครองชีวิตและบาดเจ็บทั้งสองฝ่ายหากผู้ขับขี่เป็นฝ่ายถูก เพื่อเป็นการบอกถึงความสำคัญว่าไม่ควรขาดการต่อพ.ร.บ.วันนี้เราได้รวมเหตุผลมาให้คุณได้ทราบ

เหตุผลและการคุ้มครองจากการทำ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์

แม้ว่ารถไม่มีประกันภัยภาคสมัครใจอย่างน้อยต้องทำพ.ร.บ. รถตามกฎหมายกำหนด  เมื่อเกิดอุบัติเหตุจะได้รับการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้ ซึ่งในวันนี้เราจะมาพูดถึงเหตุผลและการคุ้มครองว่ามีอะไรบ้าง

1. เกิดอุบัติเหตุจะได้รับการคุ้มครองแม้ยังไม่พิสูจน์ว่าใครผิด

เช่น ขับขี่รถจักรยานไปตลาดแล้วล้ม ไม่ว่าจะล้มเองหรือมีใครมาทำให้ล้มก็จะได้รับสิทธิเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล หากมีคู่กรณีทั้งสองฝ่ายสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลตามจริง มีรายละเอียดดังนี้

  • จ่ายค่ารักษาพยาบาลในวงเงินไม่เกิน 30,000 บาท /คน
  • หากอุบัติเหตุครั้งนี้มีผู้เสียชีวิต ทุพพลภาพและสูญเสียอวัยวะ จะได้รับเงินชดเชย 35,000 บาท /คน

2. เกิดอุบัติเหตุจะได้รับการคุ้มครองมากขึ้นหากพิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูก

เช่น ขับรถมาตามเลนปกติ แต่ถูกรถอีกคันปาดหน้า จากเหตุการณ์รี้รถที่ถูกตักหน้าคือฝ่ายถูก จึงจะได้รับสิทธิเบิกค่าสินไหมต่างๆ เพิ่มขึ้นจ่ายค่ารักษาพยาบาลในวงเงินไม่เกิน 80,000 บาท

  • หากเสียชีวิตหรือทุพพลภาพจะได้รับเงินชดเชย 300,000 บาท
  • หากอุบัติเหตุทำให้สูญเสียอวัยวะจะแบ่งการคุ้มครอง เช่น นิ้วขาดตั้งแต่ 1 ข้อขึ้นไป ชดเชย 200,000 บาทและจะเพิ่มเป็นลำดับสูงสุดที่ 300,000 บาท
  • หากมีการพักฟื้นรักษาตัวจะได้รับเงินชดเชยขาดรายได้วันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน

ไม่ต่อ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ จะเกิดอะไรขึ้น

เมื่อพูดถึงความสำคัญกับ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ ลองนึกภาพว่าถ้ารถคันดังกล่าวไม่มี พ.ร.บ. แล้วเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นจะต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ๆ อีกทั้งจะโดนข้อหาการฝ่าฝืนขับขี่รถยนต์ที่

  • ขาดต่อ พ.ร.บ.ถูกปรับสูงสุด 10,000 บาท ฉะนั้น พ.ร.บ.หมดต้องต่อเลย ไม่ควรปล่อยให้เวลาล่วงเลย นอกจากนี้ยังมีโทษเพิ่มเติม ดังนี้งเหตุผลและการคุ้มครองว่ามีอะไรบ้าง
  • เมื่อขับรถจักรยานยนต์เกิดอุบัติเหตุชนท้ายรถอีกคัน แต่กลับพบว่าผู้ขับขี่ไม่ใช่เจ้าของรถและรถคันดังกล่าวไม่ได้ต่ออายุ พ.ร.บ. จะต้องรับโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาทและต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด
  • ในเหตุการณ์รถจักรยานยนต์เปลี่ยนเลนกระทันหัน ทำให้รถที่ขับมาด้วยกันได้รับความเสียหาย เมื่อตรวจสอบก็พบว่าเป็นเจ้าของรถที่ขับรถไม่ได้ต่ออายุ พ.ร.บ. จะต้องรับโทษมากขึ้น ปรับไม่เกิน 20,000 บาท ฉะนั้นเมื่อมีรถหรือขับขี่เพื่อการสัญจรก็ควรต่อ

จะเห็นว่าการทำ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ จะช่วยในเรื่องค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชยขาดรายได้ของทั้งสองฝ่าย แต่หากไม่ทำการต่อหรือละเลย ปัญหาที่ตามมาก็จะเพิ่มรายจ่ายขึ้นหลายเท่าตัว วันนี้สะดวกสบายสามารถทำพ.ร.บ.รถ ออนไลน์ได้แล้ว อย่างที่ insurverse บริษัทประกันรถในเครือทิพย มาพร้อมบริการทำ พ.ร.บ. รถ ภาคบังคับและภาคสมัครใจ ซื้อผ่านระบบออนไลน์ให้ความคุ้มครองทันที เช็กเบี้ย พ.ร.บ. ได้ที่นี่!

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)