ผู้ขับขี่รถยนต์ครั้งแรกคงมีคำถามว่าระหว่าง พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ กับการต่อภาษีรถแตกต่างกันอย่างไร เพราะทั้งสองอย่างนี้คล้ายกันจนแยกไม่ออก ทำให้หลายคนเข้าใจผิดไปต่าง ๆ นานาว่าเป็นสิ่งเดียวกัน แต่ความจริงขอบอกตรงนี้เลยว่าไม่ใช่อย่างที่หลายคนเข้าใจกัน ดังนั้นเพื่อเคลียร์ข้อสงสัย มาดูกันเลยดีกว่าว่า พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ กับการต่อภาษีไม่เหมือนกันตรงไหนบ้าง!
พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ เปรียบเสมือนการทำประกันรถยนต์ภาคบังคับ ซึ่งแตกต่างจากประกันชั้น 1 หรือประกันชั้น 2 ที่เราเห็นตามโฆษณาของบริษัท เพราะช่วยคุ้มครองความปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สินให้แก่ผู้ขับขี่ แต่ความคุ้มครองของ พ.ร.บ. ต้องยอมรับว่าน้อยกว่าประกันรถยนต์ภาคสมัครใจอยู่มากเลยทีเดียว
เมื่อคุณทำ พ.ร.บ.มอเตอร์ไซค์ ความคุ้มครองที่จะได้รับในกรณีที่ไม่ต้องพิสูจน์ความผิด คือ 1.ค่าเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือสูญเสียอวัยวะชดเชย 35,000 บาทต่อคน 2.ค่ารักษาพยาบาล จ่ายตามจริงวงเงินไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน โดยเป็นความคุ้มครองที่ได้รับทั้งคนขับและผู้ซ้อนท้าย
ส่วนในกรณีที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูก จะได้รับสิทธิความคุ้มครองดังต่อไปนี้
1.หากเสียชีวิต หรือทุพพลภาพ พ.ร.บ.รถ ชดเชย 300,000 บาท
2.ค่ารักษาพยาบาล โดยจ่ายตามจริง ไม่เกิน 80,000 บาท
3.ถ้ามีการรักษาถึงขั้นต้องแอดมิทเป็นผู้ป่วยใน รับเงินชดเชยวันละ 200 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 วัน
4.กรณีสูญเสียอวัยวะ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กรณี ได้แก่
4.1นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป พ.ร.บ.ชดเชย 200,000 บาท
4.2 สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน ชดเชย 250,000 บาท
4.3 สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน ชดเชย 300,000 บาท
การต่อภาษีรถยนต์เปรียบเสมือนการเสียภาษีให้รัฐ คล้ายกับภาษีที่ดิน ภาษีป้าย หรือการยื่นภาษีเงินได้ การขับรถยนต์ก็ไม่พ้นต้องเสียภาษีด้วยเช่นกัน เพราะการขับรถบนท้องถนนแต่ละครั้งก็ทำให้ถนนเกิดความเสียหาย ซึ่งรัฐก็ต้องการเงินเพื่อพัฒนาและบำรุงถนนใหม่ในทุก ๆ ปี
โดยหากไม่ต่อภาษีรถยนต์ในช่วงเวลา 1 – 3 ปี จะต้องเสียค่าปรับกับกรมการขนส่งทางบกในอัตราร้อยละ 1% ของค่าต่อทะเบียนที่ต้องชำระต่อเดือน และจ่ายค่าปรับใบสั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจในอัตราไม่เกิน 2,000 บาท
ส่วนในกรณีที่ไม่ต่อภาษีรถยนต์เกินกว่าระยะเวลา 3 ปีขึ้นไป โทษจะหนักยิ่งขึ้น เพราะมอเตอร์ไซค์จะถูกระงับป้ายทะเบียน และต้องนำรถไปทำเรื่องจดทะเบียนใหม่ภายใน 30 วัน หากไม่ทำต้องเสียค่าปรับในอัตราไม่เกิน 1,000 บาท
การต่อภาษีรถยนต์สามารถทำเรื่องได้ที่สำนักงานของกรมการขนส่งทางบกทั่วประเทศ, ไปรษณีย์ไทย หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ เช่น DLT Vehical Tax,mPay หรือแม้แต่ True Money Wallet
หากสนใจต่อ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ แต่ยังไม่รู้ว่าจะเลือกใช้บริการกับบริษัทไหนดี เราแนะนำ Insurverse ที่นอกจากจะรวบรวมประกันชื่อดังจากค่ายต่าง ๆ แล้ว ยังมีบริการต่อ พ.ร.บ.ออนไลน์อีกด้วย ทำให้ไม่ต้องไปทำเรื่องถึงสำนักงานขนส่งฯ และหากเกิดอุบัติเหตุต้องการเคลมประกันแล้ว ยังสามารถค้นหาโรงพยาบาล กับสถานพยาบาลใกล้เคียงผ่านเว็บไซต์ได้เลย เรียกได้ว่าสะดวกสุด ๆ เช็กเบี้ย พ.ร.บ. ที่นี่!
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นประจำทุกปีนั้นเป็นสิ่งที่จะสร้างความอุ่นใจ แต่หากลืมว่าทำ พ.ร.บ. รถยนต์ กับที่ไหน หมดอายุเมื่อไหร ตรวจสอบได้ดังนี้
ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์กี่บาท? ราคาเท่าไหร่? คำตอบขึ้นอยู่กับประเภทรถยนต์ เช่น รถเก๋ง 499 บาท รถกระบะ 799 บาท รถตู้ราคา 999 บาท ราคาถูกชัวร์แบบนี้ต้องที่ insurverse
พ.ร.บ. รถยนต์ หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เป็นประกันภาคบังคับที่เจ้าของรถทุกคันต้องทำ ซึ่งให้ความคุ้มครองผู้ประสบภัยไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิด