เจ้าของรถยนต์ทุกคนต้องจ่ายภาษีรถยนต์ตามกฎหมายทุกปี หลังจากต่อภาษีแล้วจะได้รับป้ายทะเบียนรถจากกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ซึ่งรถแต่ละประเภทมีราคาต่อภาษีที่แตกต่างกัน ไปดูกันว่ามีวิธีคิดภาษีอย่างไร และในปี 2567 คุณต้องเตรียมเงิน ต่อ ภาษี รถยนต์ 4 ประตู ราคา เท่าไหร่กันบ้าง
หลังจาก ซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์ ออนไลน์ แล้ว ใครที่กำลังจะต่อภาษีรถยนต์ต้องทราบว่า รถยนต์แต่ละประเภทมีค่าใช้จ่ายไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับประเภทของรถยนต์ น้ำหนักของรถ ขนาดเครื่องยนต์ รวมถึงประเภทการจดทะเบียนรถยนต์ สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล 4 ประตู (ป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือดำ) มีที่นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง
วิธีคำนวนภาษีรถยนต์ประจำปีจะยึดตามความจุกระบอกสูบ (ซีซี) หรือขนาดของเครื่องยนต์นั่นเอง รวมทั้งอายุรถที่มีการใช้งานเกิน 5 ปีขึ้นไปจะได้ลดหย่อนภาษีด้วย มีรายละเอียดดังนี้
สำหรับรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปี ต้องนำไป ตรวจ สภาพ รถ ก่อนต่อภาษีรถยนต์ประจำปี ควรตรวจก่อนวันหมดอายุภาษีประจำปี (ตรวจล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน)
รวมกันเท่ากับ 1,650 บาท รับส่วนลด 20% จะเสียภาษี 1,320 บาท เพียงเท่านี้ก็จะทราบว่าต้องเตรียมเงินสำหรับ ต่อ ภาษี รถยนต์ 4 ประตู ราคา เท่าไหร่
สรุปง่าย ๆ ว่า การต่อภาษีรถยนต์เป็นการจ่ายเงินให้ภาษีรัฐนำไปดูแลรักษาระบบคมนาคมทั่วประเทศ เป็นคนละส่วนกับ พ.ร.บ.รถยนต์ ที่เป็นการทำประกันรถยนต์ภาคบังคับที่รถทุกคันต้องมี ซึ่งจะให้ความคุ้มครองผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร ตลอดจนคนเดินถนน ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุจากรถยนต์ หากไม่ต่อภาษีรถยนต์นานติดต่อกัน 3 ปีมีผลให้รถทะเบียนขาด หากปล่อยทิ้งไว้นาน ค่าปรับก็จะเพิ่มขึ้นไปอีก
สำหรับมือใหม่หัดขับที่เพิ่งมีรถยนต์คันแรกอาจยังไม่รู้ว่าต้องเตรียมอะไรบ้าง มีคำตอบให้ดังนี้
หาก พ.ร.บ. ขาด 2 ปีขึ้นไป ต้อง ตรวจ สภาพ รถ พร้อมกับเสียค่าปรับก่อนต่อภาษีรถประจำปี เจ้าของรถยนต์ต่อภาษีได้หลากหลายช่องทาง รวมทั้งการ ซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์ ออนไลน์ เช็กเบี้ยได้เลยที่นี่!
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
หลายๆ คนที่ขับรถน่าจะรู้กันอยู่แล้วล่ะ ก่อนต่อภาษีรถยนต์ต้องต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ซะก่อน แต่ตรงขั้นตอนชำระภาษีใน dlt vehicle tax เนี่ยสิทำยังไง
ในยุคที่โลกดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน การทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ก็กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว รวมถึงการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ที่ง่าย
ทุกคนนน!! วันนี้มีเรื่องสำคัญมากๆ สำหรับเจ้าของรถทุกคนมาบอกต่อ! ซึ่งก็คือ เรื่องของการต่อประกันภัยภาคบังคับหรือที่เรียกติดปากว่าการต่อพ.ร.บ.