vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
การปรับแต่งความคุ้มครองใน พ.ร.บ. รถยนต์ สิทธิและความคุ้มครองเพิ่มเติม

การปรับแต่งความคุ้มครองใน พ.ร.บ. รถยนต์ สิทธิและความคุ้มครองเพิ่มเติม

schedule
share

ทุกคนที่มีรถขับขี่ในประเทศไทย ทุกคันต้องทำ พ.ร.บ. รถยนต์ตามข้อบังคับทางกฎหมาย ซึ่งจะพ่วงด้วยการต่อภาษีรถยนต์ประจำปีอีกด้วย และปัจจุบันคุณสามารถต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ได้ในช่องทางอื่น ๆ นอกจากที่ต้องเข้าไปต่อกับกรมขนส่งทางบกได้อีกด้วย 

ปรับเพิ่มความคุ้มครองกรมธรรม์ พ.ร.บ. รถยนต์

ปรับเพิ่มความคุ้มครองกรมธรรม์ พ.ร.บ. รถยนต์

มีการเพิ่มความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (พ.ร.บ.- ภาคบังคับ) กรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพ และสูญเสียอวัยวะ จากเดิมที่คุ้มครอง 200,000 – 300,000 บาท เพิ่มเป็น 200,000 – 500,000 บาท แล้วแต่กรณี โดยมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา

มีการปรับเพิ่มการคุ้มครองของประกันรถยนต์เพิ่มเติมอีกด้วย

การปรับเพิ่มความคุ้มครองการประกันภัยรถยนต์ (ภาคสมัครใจ) กรณีบุคคลภายนอกเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง โดย ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวนเงินเอาประกันภัยสำหรับจำนวนเงินเอาประกันภัยตั้งแต่  500,000 บาท ถึง 2,000,000 บาท สำหรับจำนวนเงินเอาประกันภัยส่วนที่เกินจาก 2,000,000 บาท ให้ชดใช้ตามความเสียหายที่แท้จริง

สิทธิและความคุ้มครองของ พ.ร.บ. รถยนต์

พ.ร.บ. รถยนต์จะคุ้มครองใน 2 กรณีดังนี้

ค่าเสียหายเบื้องต้น ไม่ต้องรอผลพิสูจน์ว่าฝ่ายใดชน หรือฝ่ายใดเป็นฝ่ายถูก-ผิด

  • กรณีบาดเจ็บ จ่ายตามค่ารักษาจริงสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้น 35,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิตหลังจากรักษาพยาบาล จะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 30,000 บาท และค่าปลงศพอีกจำนวน 35,000 บาท รวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาท

ค่าเสียหายเบื้องต้นคือสิ่งที่ทุกคนจะได้รับเมื่อเกิดอุบัติเหตุกับรถที่มี พ.ร.บ. รถยนต์คุ้มครองอยู่ มั่นใจได้เลยหากรถยนต์คุณไม่ขาด พ.ร.บ. รถยนต์ ก็รับความคุ้มครองในส่วนนี้ได้เลย

ค่าสินไหมทดแทน คือเงินชดเชยที่ฝ่ายถูกจะได้รับ หลังการพิสูจน์ถูกผิดแล้ว

  • ค่ารักษาพยาบาล จ่ายตามค่ารักษาจริงสูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท
  • กรณีสูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพอย่างถาวร หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ชดเชย 200,000 – 500,000 บาท (กรณีสูญเสียอวัยวะ เป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ)
  • กรณีเสียชีวิต ชดเชย 500,000 บาท
  • ค่าชดเชยกรณีเป็นผู้ป่วยใน 200 บาทต่อวัน แต่ไม่เกิน 20 วัน

ในส่วนนี้เป็นการคุ้มครองเพิ่มเติม สำหรับผู้ที่เป็นฝ่ายถูก พ.ร.บ. รถยนต์จะชดเชยค่าเสียหายให้กับคุณตามวงเงินที่กำหนดข้างต้น แต่ต้องแนบหลักการการพิจารณาต่าง ๆ อย่างชัดเจนแล้วเท่านั้น หากคุณเป็นฝ่ายผิดคุณจะไม่ได้รับความคุ้มครองเพิ่มเติมในส่วนนี้

สามารถเลือกต่อ พ.ร.บ. รถยนต์กับประกันรถยนต์ได้

หากคุณทำประกันรถยนต์ คุณสามารถเลือกทำ พ.ร.บ. รถยนต์ควบคู่กับการต่อประกันรถยนต์รายปีได้ แถมยังได้ส่วนลด เพิ่มเติมอีกด้วย เป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ที่ทำประกันรถยนต์อยู่แล้ว คุณจะได้ไม่ลืมการต่อ อายุ พ.ร.บ. รถยนต์ของคุณอีกด้วย

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ที่ไหนได้บ้าง

การต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ สามารถทำได้ และสะดวกทุกที่ สามารถทำได้ทั้งออนไลน์และออฟไลน์

กรณีออนไลน์ 

สามารถเข้าไปต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ได้ที่ เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก e-Service หรือเว็บไซต์ของ insurverse ที่ให้บริการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ออนไลน์ 

กรณีออฟไลน์ 

คุณสามารถเดินทางไปต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ได้ที่ 

  1. สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ 
  2. ที่ทำการไปรษณีย์ 
  3. ห้างสรรพสินค้า 
  4. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 
  5. เคาน์เตอร์เซอร์วิส เซเว่น-อีเลฟเว่นทั่วประเทศ
ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ที่ไหนได้บ้าง

บทสรุป

พ.ร.บ. รถยนต์มีการปรับเพิ่มความคุ้มครองขึ้น และมีการคุ้มครองเบื้องต้นให้กับคุณ ซึ่งคุณเพียงต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ของคุณในทุก ๆ ปี หากคุณทำประกันรถยนต์ไว้แล้ว สามารถต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ควบคู่กับการต่อประกันรถยนต์ได้ และสามารถต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ออนไลน์ได้ด้วยตนเองอีกด้วย ถือว่าสะดวกมากในปัจจุบัน

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)