vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
วิธีคำนวณภาษีรถยนต์ภาษีรถยนต์แต่ละรุ่นที่คุณควรรู้ !

วิธีคำนวณภาษีรถยนต์แต่ละรุ่นที่คุณควรรู้ !

schedule
share

ในการชำระภาษีรถยนต์แต่ละปี จะมีค่าใช้จ่ายที่อาจจะไม่เหมือนกันถึงแม้จะเป็นรถรุ่นเดียวกันก็ตาม การคำนวณภาษีรถยนต์ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ประเภทของรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์เก๋ง, รถกระบะ, รถจักรยานยนต์ , ความจุของเครื่องยนต์ (ซีซี) , อายุของรถ และอื่น ๆ การจ่ายภาษีรถยนต์เป็นส่วนหนึ่งของระบบภาษีที่ใช้ในการเก็บรายได้ของรัฐเพื่อใช้ในการดำเนินการและบริการสาธารณะต่าง ๆ โดยรายละเอียดการเก็บภาษีรถยนต์จะดูแลโดยกรมการขนส่งที่ออกเงื่อนไขต่าง ๆ ออกมา รวมทั้ง พ.ร.บ. รถยนต์

สำหรับใครที่รถถึงกำหนดที่จะต้องทำการจ่ายภาษี หลายคนคงอยากรู้ว่าจะต้องทำการจ่ายเท่าไหร่ อย่างที่บอกในรถที่ละรุ่นนั้นอาจจะมีการเก็บภาษีที่มีการคิดคำนวณต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง โดยวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ วิธีคำนวณภาษีรถยนต์ภาษีรถยนต์แต่ละรุ่นที่คุณควรรู้ พร้อมทั้งข้อมูลการจ่าย พ.ร.บ. รถยนต์ ออนไลน์ได้ที่บทความนี้เลย

วิธีคำนวณภาษีรถยนต์ภาษีรถยนต์ส่วนบุคคล

วิธีคำนวณภาษีรถยนต์ภาษีรถยนต์ส่วนบุคคล

สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลหรือรถที่เราใช้งานกันทั่วไปที่ไม่ใช่รถรับประจำทาง รถบริการสนามบิน หรืออื่น ๆ ซึ่งจะเป็นรถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ ทางกรมการขนส่งทางบกจะเรียกว่า รถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ไม่เกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถกระบะ 4 ประตู รถเก๋ง รถ SUV เป็นต้น โดยการคำนวณภาษีรถจะขึ้นอยู่กับขนาดเครื่องหรือที่เราเรียกว่า cc นั้นเอง ในแต่ละรุ่นจะมีขนาดเครื่องไม่เท่านั้น ทำให้คุณจะต้องดูรถของคุณว่ามีขนาดเครื่องยนต์เท่าไหร่กี่ซี่ซี่เพื่อนำมาคำนวณได้ โดยรายละเอียดมีดังนี้

  • เครื่องยนต์ตั้งแต่1-600 cc คิดอัตราภาษี cc ละ 50 สตางค์
  • เครื่องยนต์ตั้งแต่ 601-1800 cc คิดอัตราภาษี cc ละ 1.50 บาท
  • เครื่องยนต์ตั้งแต่ 1801 cc ขึ้นไป คิดอัตราภาษี cc ละ 4 บาท

ไม่เพียงแค่นั้นสำหรับรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานนาน ๆ ทางกรมการขนส่งทางบกจะมีการปรับลดในส่วนของค่าภาษีให้กับรถที่มีอายุเกินเงื่อนไขที่กำหนด เพื่อเป็นค่าช่วยเหลือในการตรวจสภาพรถสำหรับรถที่มีอายุเกิน 7 ปีจะต้องมีการตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษีเสมอ ในส่วนของส่วนลดค่าภาษีมีดังนี้

  • อายุการใช้งานเกิน 6 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 10%
  • อายุการใช้งานเกิน 7 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 20%
  • อายุการใช้งานเกิน 8 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 30%
  • อายุการใช้งานเกิน 9 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 40%
  • อายุการใช้งานเกิน 10 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 50%

สำหรับรถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว จะเป็นรถบรรทุกส่วนบุคคลที่เกิน 7 ที่นั่ง ที่เรามักจะเรียกว่ารถกระ 2 ประตู การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถซึ่งจะต่างจากรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ไม่เกิน 7 ที่นั่งที่เราได้พูดไปข้างต้น โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • น้ำหนักรถ 501- 750 กิโลกรัม มีอัตราภาษี 450 บาท
  • น้ำหนักรถ 751 – 1000 กิโลกรัม มีอัตราภาษี 600 บาท
  • น้ำหนักรถ 1001 – 1250 กิโลกรัม มีอัตราภาษี 750 บาท
  • น้ำหนักรถ 1251 – 1500 กิโลกรัม มีอัตราภาษี 900 บาท
  • น้ำหนักรถ 1501 – 1750 กิโลกรัม มีอัตราภาษี 1,050 บาท
  • น้ำหนักรถ 1751 – 2000 กิโลกรัม มีอัตราภาษี 1,350 บาท
  • น้ำหนักรถ 2001 – 2500 กิโลกรัม มีอัตราภาษี 1,650 บาท
การต่อภาษีรยนต์กับการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เหมือนกันหรือไม่ ?

การต่อภาษีรยนต์กับการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เหมือนกันหรือไม่ ?

การต่อภาษีรถยนต์จะเป็นภาษีของพาหนะ และการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ จะเป็นประกันภัยภาคบังคับ เป็นสิ่งที่แตกต่างกัน แต่มักจะทำพร้อมกันเมื่อต้องการต่ออายุการจดทะเบียนรถยนต์ ส่วนใหญ่แล้วการต่อภาษีจะต้องยื่น พ.ร.บ. รถยนต์ ที่ไม่หมดอายุในการต่อ และการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์จะสามารถทำได้หากมีการต่อภาษี อย่างไรก็ตามคนส่วนใหญ่มักจะทำพร้อมกันในกระบวนการการจดทะเบียนรถยนต์เพื่อความสะดวกสบายและประหยัดเวลาในการดำเนินการ 

บทส่งท้าย

การต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ มีช่องทางการจ่ายที่สะดวกสบายมาก ๆ ที่คุณสามารถเข้ามาต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ผ่านออนไลน์ของเว็บบริษัทประกันภัยอย่าง insurverse  ได้ง่าย ๆ ไม่กี่ขั้นตอนเท่านั้น โดยจะเปิดให้บริการต่อสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคน ไม่ว่าจะเป็น รถกระบะ 4 ประตู รถเก๋ง รถ SUV รวมถึงรถกระบะ 2 ประตู และรถตู่ ก็สามารถทำ พ.ร.บ. รถยนต์ที่นี่ได้สบาย ๆ พร้อมกับอัตราค่าบริการที่ได้รับส่วนลดมากมาย และมีการดูแลที่คุ้มค่ามาก ๆ 

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)