vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
ต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้าทำอย่างไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง

ต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้าทำอย่างไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง

schedule
share
ต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้าทำอย่างไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง

นอกจากการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์แล้ว ผู้ขับขี่ไม่ว่าจะหน้าใหม่หรือเก่าต่างก็ต้องต่อภาษีรถยนต์ มิเช่นนั้นแล้วจะต้องโทษปรับในอัตราร้อยละ 1 ของภาษีรถยนต์ต่อเดือน และต้องเสียค่าปรับย้อนหลัง ด้วยเหตุนี้หลายคนจึงเลือกต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้ากันลืมนั่นเอง  ส่วนขั้นตอนการต่อมีอะไรบ้างนั้นมาดูกันเลย

รู้จักกับขั้นตอนต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้า

การต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้า สามารถต่อได้ก่อนวันที่จะหมดอายุ 90 วัน หรือ 3 เดือน ช่องทางการต่อไม่จำเป็นต้องเดินทางไปถึงกรมขนส่งทางบก เพราะมีสถานที่หลายแห่งรับทำเรื่อง เช่น เคาน์เตอร์เซอร์วิสของร้านค้าสะดวกซื้อ, ที่ทำการไปรษณีย์ หรือแม้แต่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์

หากต่อภาษีรถยนต์ตามช่องทางออฟไลน์ ให้คุณเตรียมเอกสารเหล่านี้ให้พร้อม ซึ่งประกอบไปด้วย

            1.บัตรประชาชนของเจ้าของรถตัวจริง

            2.สมุดคู่มือจดทะเบียนรถตัวจริง หรือสำเนาก็ได้

            3.พ.ร.บ.รถยนต์

            4.ในกรณีที่ใช้งานรถยนต์มานานกว่า 7 ปีขึ้นไป ให้นำใบรับรองตรวจสภาพรถจาก ตรอ. ไปด้วย

และล่าสุดกรมการขนส่งทางบกได้พัฒนาเว็บไซต์ที่มีชื่อว่า https://eservice.dlt.go.th/esvapp/login.jsf ให้คุณต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้าได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. เมื่อ Log-in เข้าสู่ระบบแล้ว กดเลือกรายการยื่นชำระภาษีรถยนต์ประจำปี
  2. ลงทะเบียนรถด้วยการกรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถยนต์ แล้วกดยื่นชำระภาษี
  3. กรณี พ.ร.บ. มีความคุ้มครองนานกว่า 3 เดือน ให้กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับหลักฐานการเอาประกัน
  4. เลือกช่องทางชำระเงิน
  5. ตรวจสอบสถานะการชำระเงิน และสถานะการจัดส่งเอกสาร โดยทางกรมขนส่งจะจัดส่งเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีตามที่อยู่จัดส่งเอกสารที่คุณกรอกในหน้าเว็บไซต์

ต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้า ราคาเท่าไหร่

ราคาต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้า ขึ้นอยู่กับประเภทของรถยนต์ เครื่องยนต์ และอายุการใช้งานของรถยนต์ ในกรณีที่คุณขับรถเก๋ง รถกระบะ หรือที่เรียกว่ารถโดยสารที่นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง ป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวอักษรสีดำ จะคำนวณฐานภาษีจากขนาดของเครื่องยนต์ ดังนี้

  • เครื่องยนต์ขนาด 1 – 600 CC อัตราภาษี CC ละ 50 สตางค์
  • เครื่องยนต์ขนาด 600 – 1800 CC อัตราภาษี CC ละ 1.50 สตางค์
  • เครื่องยนต์ขนาด 1800 CC ขึ้นไป อัตราภาษี CC ละ 4 บาท

ตัวอย่างเช่น นาย A ขับรถเก๋ง เครื่องยนต์ขนาด 700 CC ที่มีอายุการใช้งาน 2 ปี จะเสียภาษีเท่ากับ

1. คำนวณจากฐาน 1 – 600 CC แรก จะได้ว่า 600 * 0.5 = 300 บาท

2. คำนวณจากฐาน 600 – 1800 CC จะได้ว่า 100*1.5 = 150 บาท

หมายความว่าในกรณีของนาย A จะต้องเสียภาษีเท่ากับ 450 บาทนั่นเอง

หากสังเกตว่าภาษีรถยนต์ใกล้หมดอายุแล้ว อย่าลืมไปทำเรื่องต่อภาษี ตั้งแต่เนิ่น ๆ จะได้ไม่โดนโทษปรับ รวมทั้งไม่ถูกระงับป้ายทะเบียน แต่ถ้าพ.ร.บ.รถยนต์ หมดอายุไปแล้วก็จะต่อภาษีรถยนต์ไม่ได้ ดังนั้นคุณสามารถซื้อ พ.ร.บ.รถยนต์ ที่สะดวกรวดเร็วในราคาประหยัดจากเว็บไซต์ insurverse ได้ทุกที่ทุกเวลา เช็กเบี้ย พ.ร.บ. ได้ที่นี่!

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)