vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
สถานที่ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์มีที่ไหนบ้าง

สถานที่ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์มีที่ไหนบ้าง

schedule
share
สถานที่ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์มีที่ไหนบ้าง
ที่มารูปภาพ: https://pixabay.com/th/photos/คอมพวเตอร-โตะ-แสดง-1869306/

การต่อทะเบียนรถหรือการต่อภาษีรถยนต์เป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างมากสำหรับเจ้าของรถทุกประเภท เพราะหากรถยนต์ของท่านไม่ได้รับการต่อภาษีตามกำหนด ก็จะโดนจับปรับโดยเจ้าหน้าที่ในทันที ปัจจุบันการต่อภาษีรถยนต์และ พ.ร.บ.รถยนต์ สามารถทำได้ด้วยตัวเองง่าย ๆ ซึ่งจะมีสถานที่ใดรับทำภาษี พ.ร.บ.และมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ไปดูกัน

สถานที่ต่อภาษีและ พ.ร.บ.รถยนต์ มีที่ไหนบ้าง

สำหรับเอกสารที่ใช้ในการต่อ พ.ร.บ.และภาษีรถยนต์ประจำปีในแต่ละสถานที่จะมีเอกสารและค่าใช้จ่าย พ.ร.บ.รถยนต์ราคา ที่แตกต่างกันดันนี้

1. ต่อภาษีและพ.ร.บ. ที่สาขากรมการขนส่งทางบกทั่วประเทศ

  • พ.ร.บ. ที่ต่อใหม่ (จะมีตัวแทนบริษัทประกันภัยคอยดูแลและอำนวยความสะดวกให้)
  • หากรถยนต์ที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี ใช้เพียงสมุดคู่มือทะเบียนรถ หรือสำเนา
  • หากรถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปี ขึ้นไป จะต้องนำรถเข้าตรวจสภาพ ณ สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ) เพื่อนำใบตรวจสภาพรถมาแนบกับ พ.ร.บ.ที่ต่อใหม่ จึงจะสามารถต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้

2. ต่อภาษีและพ.ร.บ. ที่ไปรษณีย์

  • พ.ร.บ. ที่ต่อใหม่
  • หากรถยนต์ที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี ใช้เพียงสมุดคู่มือทะเบียนรถตัวจริง
  • หากรถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปี ขึ้นไป ต้องมีใบรับรองการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.)
  • ค่าธรรมเนียมประมาณ 40 บาท หรือ อาจมากหรือน้อยกว่าขึ้นอยู่กับสาขาที่ให้บริการ

3. ต่อภาษีและ พ.ร.บ. ที่ห้างสรรพสินค้าที่ร่วมรายการ ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี

  • พ.ร.บ. ที่ต่อใหม่
  • หากรถยนต์ที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี ใช้เพียงสมุดคู่มือทะเบียนรถตัวจริง
  • หากรถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปี ขึ้นไป ต้องมีใบรับรองการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.)

4. ต่อภาษีและ พ.ร.บ.รถยนต์ ที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์เพื่อการเกษตร

สำหรับเจ้าของรถที่จะมาต่อภาษีและ พ.ร.บ. ที่ ธกส. จะต้องเป็นรถที่ไม่เคยค้างชำระภาษีและต้องยื่นขอชำระภาษีล่วงหน้า 3 เดือน ก่อนวันที่ครบกำหนด เอกสารที่ใช้มีดังนี้

  • พ.ร.บ. ที่ต่อใหม่
  • หากรถยนต์ที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี ใช้เพียงสมุดคู่มือทะเบียนรถตัวจริง
  • หากรถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปี ขึ้นไป ต้องมีใบรับรองการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.)

5. เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ

การต่อภาษีรถยนต์ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศจะต้องเป็นรถยนต์ที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี โดยจะมีค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าบริการ 20 บาท และค่านำส่งป้ายภาษี 40 บาท ซึ่งจะใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 10 วัน นับจากวันที่ชำระเงิน เอกสารต่าง ๆ จะจัดส่งไปให้ตามที่อยู่ที่ให้ข้อมูลไว้ เอกสารที่ใช้ประกอบไปด้วย

  • พ.ร.บ. ที่ต่อใหม่
  • สมุดคู่มือทะเบียนรถตัวจริงหรือสำเนา
  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของรถ
  • หากเป็นรถที่ใช้แก๊สธรรมชาติจะต้องมีเอกสารใบตรวจสอบ ทดสอบและการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ด้วย

6. ต่อภาษีออนไลน์ด้วยตัวเอง

ปัจจุบันกรมการขนส่งทางบกได้อำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าของรถทุกคน ด้วยการเปิดให้บริการต่อภาษีรถยนต์แบบออนไลน์ด้วยตัวเอง เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายและความรวดเร็วให้กับเจ้าของรถทุกคนผ่านทางเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก https://eservice.dlt.go.th/ โดยเอกสารที่ใช้จะเป็นไฟล์รูปเพื่ออัปโหลดขึ้นบนแบบฟอร์มออนไลน์ดังนี้

  • หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ. (ไฟล์รูป)
  • สมุดคู่มือจดทะเบียนรถตัวจริงหรือสำเนา (ไฟล์รูป)
  • บัตรประชาชนตัวจริงของเจ้าของรถ (ไฟล์รูป)
  • หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) (ไฟล์รูป) ซึ่งข้อมูลการตรวจสภาพรถจะต้องถูกส่งไปยังกรมการขนส่งทางบกด้วย
  • หากเป็นรถที่ติดตั้งแก๊สธรรมชาติ จะต้องมีหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ รวมถึงการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถ (ไฟล์รูป)

พ.ร.บ.รถ คุ้มครองอะไรบ้าง

พ.ร.บ. เป็นประกันภัยภาคบังคับที่เจ้าของรถทุกชนิดจะต้องทำก่อน จึงจะสามารถนำหลักฐานการทำ พ.ร.บ. ไปยื่นเสียภาษีรถประจำปีได้ โดย พ.ร.บ.รถยนต์ จะให้ความคุ้มครองเฉพาะผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพหรือเสียชีวิต จากอุบัติเหตุทางรถยนต์และรถจักรยานยนต์เท่านั้น โดยไม่คุ้มครองในส่วนของตัวรถและทรัพย์สินอื่น ๆ

สำหรับใครที่สงสัยเกี่ยวกับ พ.ร.บ.รถ คุ้มครองอะไรบ้าง รวมไปถึง พ.ร.บ.รถยนต์ราคา ของรถแต่ละประเภทสามารถตรวจสอบกับตัวแทนจำหน่าย พ.ร.บ. หรือเช็กราคากับ Insurverse ได้ที่นี่ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ทางเว็บไซต์ https://insure.insurverse.co.th ยังจำหน่าย พ.ร.บ. และประกันภัยออนไลน์ เพื่อความสะดวกสบายในการต่อภาษีประจำปีให้กับเจ้าของรถทุกคันอีกด้วย

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)