นักขับอย่างเรา ปวดหัวอย่างแรงกับเรื่องวุ่นอย่างการต่อภาษีรถยนต์เพราะนอกจากมีความสับสนกับการต่อ พ.ร.บ.ถยนต์ ที่ต่อเป็นประจำทุกปีมามากเพียงพอแล้ว ก็ยังต้องเตรียมเงินพร้อมกับเอกสารต่างๆ ไปยื่นที่กรมขนส่ง เพื่อทำเรื่องต่อภาษีอีกด้วย เชื่อว่าเจ้าของรถหลายคนคงจะมองว่าการต่อภาษีและการต่อพ.ร.บ.รถยนต์เป็นสิ่งที่สิ้นเปลืองมากๆ บอกได้คำเดียวว่าทุกท่านคิดผิด เพราะทั้งสองอย่างเป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยเลยทีเดียว ตามมาส่องเหตุผลที่ต้องต่อพ.ร.บ.และภาษีรถยนต์เป็นประจำทุกปีกันเลออออออออ!!
สำหรับการต่อภาษีรถยนต์คือป้ายกระดาษที่มีลักษณะสี่เหลี่ยมเล็กๆ ซึ่งเจ้าของรถทุกคนจะต้องดำเนินการต่อภาษีรถตามที่กฎหมายได้มีการกำหนดไว้ซึ่งจะต้องมีการต่อทุกปี ค่าภาษีรถยนต์ที่เราจ่ายไปในทุกปีทางหน่วยงานภาครัฐจะนำไปพัฒนาปรับปรุงถนนรวมไปถึงการคมนาคมภายในประเทศต่อไป หากขาดแม้แต่ปีเดียว จะต้องเสียค่าปรับและเสียเวลาในการดำเนินการอีกด้วยนะ
1. การต่อภาษีรถยนต์จะต้องดำเนินเรื่องต่อในปีที่หมดอายุ สามารถต่อล่วงหน้าได้ 90 วัน
2. หากดำเนินการต่อภาษีรถหลังจากหมดอายุแล้ว เจ้าของรถจะต้องดำเนินการเสียค่าปรับร้อยละ 1 ต่อเดือน เริ่มนับตั้งแต่วันแรกที่หมดอายุ
3. หากขาดการต่อภาษีรถเกิน 3 ปีเป็นต้นไปป้ายทะเบียนรถยนต์ของท่านจะถูกยกเลิกทันที
4. ต่อภาษีรถยนต์ต้องตรวจสภาพรถไหม? สำหรับรถยนต์ที่มีอายุไม่เกิน 5 ปีไม่จำเป็นต้องตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีแต่หากมีอายุเกิน 5 ปีจะต้องดำเนินการตรวจสภาพรถก่อนทุกครั้ง
5. ต้องดำเนินเรื่องต่อพ.ร.บ.รถยนต์ก่อนถึงจะดำเนินเรื่องต่อภาษีรถยนต์ได้
1. คู่มือจดทะเบียนรถฉบับจริงหรือสำเนา
2. หลักฐานที่ระบุไว้ว่าได้ทำประกันภัยตามที่กฎหมายบังคับหรือที่คนทั่วไปเรียกว่า พ.ร.บ.รถยนต์
3. หากรถยนต์มีอายุเกินกว่า 5 ปีขึ้นไปและรถมีการดัดแปลงสภาพต้องมีใบรับรองการตรวจสภาพรถยนต์
หลายคนสงสัยว่าพ.ร.บ. ย่อมาจาก? พ.ร.บ.รถยนต์คือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ที่ได้มีการออกกฎบังคับมาเพื่อให้เจ้าของรถทุกคันดำเนินเรื่องต่อทุกปี ซึ่งการทำ พ.ร.บ. รถยนต์เอาไว้ เปรียบดังหลักประกันที่เป็นตัวช่วยคุ้มครองผู้ใช้รถใช้ถนนหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดหรือหากพูดง่ายๆ พ.ร.บ. รถยนต์คือประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ
ความจำเป็นของการต่อพ.ร.บ.ประกันเพราะเป็นสิ่งที่มอบความคุ้มครองให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนนยามเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดอธิบายง่ายๆ เพื่อให้มองเห็นความคุ้มครองแบบชัดเจน พ.ร.บ.รถยนต์ “คุ้มครองคน” แต่ “ไม่ได้คุ้มครองรถ” ขยายความได้อีกนิดก็คือ หาก “คนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต” จากอุบัติเหตุก็จะได้รับเงินค่าชดเชย ตามพ.ร.บ.ประกันกำหนดเอาไว้ แต่จะไม่ได้รับ “ค่าซ่อมรถ” ซึ่งข้อดีของความคุ้มครองจะคุ้มครองทั้งเจ้าของรถและคู่กรณีทันทีโดยไม่ต้องสืบว่าฝ่ายไหนเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูก
เห็นกันแล้วใช่ไหมล่ะ? การต่อภาษีรถยนต์และพ.ร.บ.รถยนต์เป็นประจำทุกปีเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากนะ หากปล่อยละเลยไว้เป็นเวลานานนอกจากเสียค่าปรับและเสียเวลา เสี่ยงป้ายทะเบียนถูกระงับอีกด้วย ซึ่งราคาพ.ร.บ.รถยนต์นั้นไม่สูง เมื่อครบกำหนดควรไปต่อพ.ร.บ.ประกันให้เรียบร้อย จะได้รับความคุ้มครองที่แสนคุ้มค่า ใครไม่อยากจ่ายหลักพัน ไม่อยากว้าวุ่นเลือกพ.ร.บ.ประกันถูกๆ ที่ insurverse ได้เลย ราคาเริ่มต้นเพียง 499 บาท ยามเกิดอุบัติเหตุไม่คาดคิดก็ไร้ความกังวลไปได้เลย คุ้มครองเต็มที่ตลอด 24 ชั่วโมง
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
หลายๆ คนที่ขับรถน่าจะรู้กันอยู่แล้วล่ะ ก่อนต่อภาษีรถยนต์ต้องต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ซะก่อน แต่ตรงขั้นตอนชำระภาษีใน dlt vehicle tax เนี่ยสิทำยังไง
ในยุคที่โลกดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน การทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ก็กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว รวมถึงการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ที่ง่าย
ทุกคนนน!! วันนี้มีเรื่องสำคัญมากๆ สำหรับเจ้าของรถทุกคนมาบอกต่อ! ซึ่งก็คือ เรื่องของการต่อประกันภัยภาคบังคับหรือที่เรียกติดปากว่าการต่อพ.ร.บ.