vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ล่วงหน้า ไม่ต้องรอหมดอายุ

ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ล่วงหน้า ไม่ต้องรอหมดอายุ

schedule
share
ที่มารูปภาพ: https://www.freepik.com/premium-ai-image/insurance-claim-accident-car-form-car-loan-insurance-with-generative-ai-technology_108401844.htm

พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมีติดรถเอาไว้ เนื่องจากเป็นประกันภัยภาคบังคับที่จะปล่อยให้หมดอายุไม่ได้ หลายคนเป็นกังวลว่าถ้าหลงลืมไปอาจจะยุ่ง จึงวางแผนต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ พร้อมกับ ต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้า มาดูกันว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง

            ทั้งนี้ กฎหมายบังคับให้รถยนต์ทุกคันต้องทำ พ.ร.บ. รถยนต์เพื่อให้ผู้เอาประกันและคู่กรณีได้รับสิทธิความคุ้มครองในกรณีเกิดอุบัติเหตุขึ้น โดยจ่ายเป็นเงินชดเชยและค่าดูแลรักษาพยาบาลที่จะช่วยแบ่งเบาค่าเสียหายให้กับผู้ประสบภัยรวมถึงครอบครัวด้วย ส่วนการทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจนั้นกฎหมายไม่ได้บังคับ แต่ทำแล้วมีประโยชน์มาก เพราะเป็นการเสริมความคุ้มครองจากการซื้อ พ.ร.บ. นั่นเอง

ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ล่วงหน้าได้ไหม

            การต่อ พ.ร.บ.นั้น สามารถทำล่วงหน้าได้เลย ไม่ต้องรอให้ฉบับเก่าหมดอายุก่อน สามารถจ่ายเงินล่วงหน้าก่อน พ.ร.บ. รถยนต์จะหมดอายุได้สูงสุด 3 เดือน หรือ 90 วัน ความสำคัญของการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ คือจำเป็นต้องใช้เป็นหลักฐานในการต่อภาษีรถยนต์ประจำปี เพราะถ้าไม่มีประกันภาคบังคับนี้ก็จะต่อภาษีรถไม่ได้ และถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย แม้จะเป็นรถที่ยืมมาขับ ถ้าถูกตรวจแล้วพบว่าไม่มี พ.ร.บ. ก็จะถูกปรับเช่นเดียวกัน

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ใช้เอกสารอะไรบ้าง

การต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ต้องเตรียมเอกสารที่จำเป็น ประกอบด้วย

1.สำเนาบัตรประชาชน

2.สำเนาทะเบียนบ้าน

3.สมุดทะเบียนรถ หรือสำเนา

หาก พ.ร.บ. รถยนต์ ขาดไม่เกิน 1 ปี ทำเรื่องต่อภาษีได้ตามปกติเลย ไม่มีค่าปรับด้วย ยกเว้นค่าปรับในส่วนของการต่อภาษีรถเท่านั้น กรณีที่ พ.ร.บ. ขาดเกิน 2 ปีขึ้นไป จะต้องนำรถยนต์ไปรับการตรวจสภาพพร้อมกับเดินเรื่องต่อทะเบียนรถพร้อมกับเสียค่าปรับด้วยตัวเองที่กรมการขนส่งทางบก โดยนำทะเบียนบ้านเจ้าของรถ, สมุดทะเบียนรถ และสำเนาบัตรประชาชนเจ้าของรถติดไปด้วย

พ.ร.บ.รถ คุ้มครองอะไรบ้าง

            พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นหลักประกันให้คนขับและผู้โดยสารทุกคนได้รับสิทธิความคุ้มครองกรณีเกิดอุบัติเหตุ มี 2 กรณี คือ ถือว่าคนขับเป็นฝ่ายถูก ไม่พิสูจน์ความผิด หรือกรณีที่คนขับเป็นฝ่ายผิด

            1.ความคุ้มครองของ พ.ร.บ. ไม่ว่าคนขับจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิด จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้น ดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ จ่ายตามจริง สูงสุด 30,000 บาท/คน
  • ค่าชดเชยการเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือ ทุพพลภาพอย่างถาวร สูงสุด 35,000 บาท/คน

กรณีเกิดความเสียหายทั้งข้อ 1 และ ข้อ 2 รับเงินชดเชย ไม่เกิน 65,000 บาท/คน

            2.ความคุ้มครองของ พ.ร.บ. กรณีผู้เคลมประกัน เป็นฝ่ายถูก จะได้รับวงเงินคุ้มครองรวมกับค่าเสียหาย ดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาล สูงสุด 80,000 บาท/คน
  • ค่าชดเชยการเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพอย่างถาวร 300,000 บาท/คน
  • ค่าชดเชยการสูญเสียอวัยวะตามเกณฑ์ สูงสุด 300,000 บาท/คน
  • ค่าชดเชยการรักษาตัว กรณีเป็นผู้ป่วยใน 200 บาทต่อวัน ไม่เกิน 20 วัน
  • จำนวนเงินคุ้มครองรวมกันต้องไม่เกิน 304,000 บาท

เมื่อทราบแล้วว่า พ.ร.บ.รถ คุ้มครองอะไรบ้าง เวลาเกิดอุบัติเหตุจะได้มีหลักประกันให้คนขับและผู้โดยสารทุกคนได้อุ่นใจว่าจะได้รับความคุ้มครองทันที ต้องการต่อ พ.ร.บ. หรือ ต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้า สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่!

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)