การ ต่อ พร บ รถยนต์ และ ภาษีเป็นเรื่องง่าย ไม่ต้องไปถึงสำนักงานขนส่ง เพราะว่าที่สถานตรวจสภาพรถหรือที่เรียกกันว่า ตรอ. ทุกแห่งมีบริการดำเนินเรื่องให้ นอกจากนี้ยังมีจุดให้บริการอื่น ๆ อีกหลายแห่ง รวมถึงการทำรายการผ่านออนไลน์ แต่อาจจะมีข้อสงสัยตรงที่ว่าค่าใช้จ่ายแบบไหนถูก แบบไหนแพงกว่ากัน วันนี้เราจะพาคุณไปเช็กค่าใช้จ่ายแบบต่าง ๆ แต่ก่อนอื่นมาดูกันว่าจะต่อ พ.ร.บ. และภาษีที่ไหนได้บ้าง
ในยุคนี้มีช่องทางหลากหลายให้เลือกต่อ พ.ร.บ. และ ต่อ ภาษี รถยนต์ ไม่ว่าจะเป็น
นอกจากนี้ยังสามารถใช้บริการ ต่อ พร บ รถยนต์ และภาษีที่ห้างสรรพสินค้าบางแห่งที่ร่วมรายการ และที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
สำหรับค่าพ.ร.บ. และภาษีมีอัตรากำหนดไว้ตามกฎหมายอยู่แล้ว จึงเป็นค่าใช้จ่ายที่ตายตัว ไม่มีที่ไหนคิดแตกต่างไปจากที่กำหนดได้ ขึ้นอยู่กับประเภทของรถ ขนาดเครื่องยนต์ อายุรถ แต่จะแตกต่างกันที่ค่าบริการอำนวยความสะดวก
ในบรรดาจุดให้บริการต่าง ๆ นั้น ต.ร.อ. เป็นสถานที่ที่คนนิยม โดยเฉพาะรถเก่าที่อายุเกิน 7 ปีที่กฎหมายกำหนดว่าต้องตรวจสภาพรถยนต์ด้วย สามารถใช้บริการตรวจสภาพรถพร้อมกับต่อ พ.ร.บ. และ ต่อ ภาษี รถยนต์ ไปในที่เดียวกัน คราวนี้มาดูเรื่องค่าใช้จ่ายว่าเป็นอย่างไร
เลือกช่องทางกันตามความสะดวก สำหรับรถเกิน 7 ปี แนะนำไปที่ ต.ร.อ. เพื่อจะได้ตรวจสภาพรถจบในที่เดียว เรื่องของค่าบริการเป็นเพียงส่วนเล็กน้อยแลกกับเวลาและความสะดวก ส่วนใครที่เลือกช่องทางออนไลน์ รถใหม่ไม่ต้องตรวจสภาพ ก็สามารถต่อ พ.ร.บ. ไปพร้อมกับการทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจทางออนไลน์ได้จาก Insurverse เว็บไซต์ประกันรถยนต์ออนไลน์ที่มีบริการประกันภัยรถยนต์หลากหลาย สะดวกและคุ้มค่า สามารถคลิกซื้อกรมธรรม์ได้ด้วยตัวเองตลอด 24 ชั่วโมง เลือกความคุ้มครองที่ต้องการได้ ลดความยุ่งยากในชีวิตไปอีกมากมาย สบายใจหายห่วง
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
หลายๆ คนที่ขับรถน่าจะรู้กันอยู่แล้วล่ะ ก่อนต่อภาษีรถยนต์ต้องต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ซะก่อน แต่ตรงขั้นตอนชำระภาษีใน dlt vehicle tax เนี่ยสิทำยังไง
ในยุคที่โลกดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน การทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ก็กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว รวมถึงการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ที่ง่าย
ทุกคนนน!! วันนี้มีเรื่องสำคัญมากๆ สำหรับเจ้าของรถทุกคนมาบอกต่อ! ซึ่งก็คือ เรื่องของการต่อประกันภัยภาคบังคับหรือที่เรียกติดปากว่าการต่อพ.ร.บ.