หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีความกังวลว่าอายุรถยนต์จะมีผลในการต่อ พ.ร.บ.รถ หรือไม่ ในบทความนี้จะมาเจาะลึกถึงขั้นตอนในการต่อพ.ร.บ.รถยนต์ที่มีอายุเกิน 10 ปีว่าสามารถทำได้หรือไม่ มีขั้นตอนอะไรเพิ่มขึ้นหรือเหมือนเดิม
พ.ร.บ.รถยนต์ หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยที่เกิดจากรถ พ.ศ.2535 เป็น พ.ร.บ.ที่มีความสำคัญในการช่วยเหลือผู้สูญเสียอวัยวะ ร่างกาย หรือชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถ โดยแบ่งข้อกำหนดเกี่ยวกับความคุ้มครองออกเป็น 2 ส่วน คือ
เงื่อนไขความคุ้มครองส่วนนี้เป็นการให้ความคุ้มครองความเสียหายเบื้องต้นให้กับผู้ประสบภัยทุกคนไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือคู่กรณีของรถยนต์คันที่เอาประกัน แบ่งความรับผิดชอบออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาลตามที่ระบุในใบเสร็จสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาทและความรับผิดชอบกรณีสูญเสียอวัยวะ ร่างกายหรือชีวิต 35,000 บาท โดยผู้ประสบภัยสามารถเบิกทั้ง 2 ส่วนรวมกันได้ไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน
หลังจากสืบข้อเท็จจริงและพบว่ารถยนต์คันที่เอาประกันเป็นฝ่ายผิดพ.ร.บ.รถยนต์ของคันที่เป็นฝ่ายผิดจะต้องให้ความคุ้มครองชดเชยค่าสินไหมให้กับผู้ประสบภัยที่เป็นฝ่ายถูก แต่หากรถยนต์คันที่เอาประกันเป็นฝ่ายถูกพ.ร.บ.รถยนต์คันที่เป็นฝ่ายถูกจะชดเชยค่าสินไหมทดแทน แบ่งค่าใช้จ่ายออกเป็นค่ารักษาพยาบาลตามที่ระบุในใบเสร็จไม่เกิน 80,000 บาท, กรณีสูญเสียอวัยวะได้รับค่าสินไหมทดแทน 200,000 – 500,000 บาท, กรณีเสียชีวิตชดเชยค่าสินไหม 500,000 บาทและได้รับค่าชดเชยรักษาพยาบาลผู้ป่วยใน วันละ 200 บาท
ด้วยเงื่อนไขความคุ้มครองเหล่านี้จึงทำให้รถยนต์ทุกคันไม่ว่าจะมีอายุจดทะเบียนเท่าไหร่แต่หากอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ผ่านการตรวจสภาพรถยนต์จากสถานตรวจสภาพรถเอกชน หรือตรอ.ที่ถูกกฎหมายควรดำเนินการต่อ พ.ร.บ.รถ ให้ถูกต้อง
สำหรับเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ในการต่อพ.ร.บ.รถยนต์ที่มีอายุจดทะเบียนเกิน 10 ปี ต้องเตรียมเอกสารสำคัญ ได้แก่ สำเนาหรือทะเบียนรถเล่มจริง, เอกสารพ.ร.บ.ที่ยังไม่หมดอายุ, เอกสารรับรองการตรวจสภาพรถและสำเนาบัตรประชาชนของผู้ที่ดำเนินการต่อ พ.ร.บ.รถ จากนั้นนำรถยนต์คันที่จะต่อไปที่ตรอ.ที่สะดวกเพื่อตรวจสภาพรถยนต์และดำเนินการต่อพ.ร.บ.ให้
การต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ที่มีอายุเกิน 10 ปี สามารถให้ผู้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าของรถยนต์ดำเนินการแทนได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรถยนต์และระบุชื่อผู้เอาประกันเป็นเจ้าของรถยนต์
ค่าใช้จ่ายกำหนดเอาไว้ในพ.ร.บ.รถยนต์ 2535 สำหรับรถยนต์ที่อายุเกิน 7 ปี แบ่งตามประเภทรถยนต์เอาไว้ ดังนี้
– รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 ที่นั่งและรถยนต์ไฟฟ้า ค่าใช้จ่าย 600 บาทต่อปี
– รถยนต์โดยสารเกินตั้งแต่ 8 – 15 ที่นั่ง ค่าใช้จ่าย 1,100 บาทต่อปี
– รถยนต์โดยสารเกินตั้งแต่ 16 – 20 ที่นั่ง ค่าใช้จ่าย 2,050 บาทต่อปี
– รถยนต์โดยสารเกินตั้งแต่ 21 – 40 ที่นั่ง ค่าใช้จ่าย 3,200 บาทต่อปี
– รถยนต์โดยสารเกิน 41 ที่นั่งขึ้นไป 3,740 บาทต่อปี
การต่อ พ.ร.บ.รถอายุเกิน 10 ปีสามารถต่อได้ที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน หรือตรอ.ใกล้บ้านหรือนำเอกสารรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ที่ตรอ.ออกให้มาต่อพ.ร.บ.รถพร้อมซื้อประกันรถยนต์ออนไลน์ก็ได้ หากคุณกำลังเลือกซื้อประกันรถยนต์ออนไลน์พร้อม ต่อ พ.ร.บ.รถ ขอแนะนำบริการของ Insurverse เช็กเบี้ย พ.ร.บ. ที่นี่!
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
พ.ร.บ. ประกันภัยภาคบังคับที่เจ้าของรถทุกคันต้องมี เพื่อคุ้มครองผู้เสียหายจากอุบัติเหตุไม่คาดฝัน ทั้งคนขับ ผู้โดยสาร และคู่กรณี รวมค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชยอื่น ๆ
การต่อภาษีรถยนต์เป็นหน้าที่ของคนมีรถยนต์ทุกคน โดยเราต้องต่อภาษีประจำปีและเตรียมเอกสารให้พร้อม ซึ่งรถแต่ละประเภท ก็จะเสียภาษีในราคาที่ต่างกันไปตามข้อกำหนด
สมรรถนะรถยนต์ไฟฟ้าเทียบเท่าได้กับรถยนต์ทั่วไป เหนือระดับด้วยความเป็น รถไฟฟ้า ev ประหยัดพลังงาน