การต่อทะเบียนรถยนต์ หรือที่เรียกกันว่าการ ต่อ ภาษี รถยนต์ ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลยและต้องทำเป็นประจำทุกปีภายหลังต่อ พ.ร.บ. เรียบร้อยแล้ว หากช้ากว่ากำหนดแม้เพียงวันเดียวก็จะมีผลทางกฎหมาย ถือเป็นการขาดต่อภาษี และต้องเสียค่าปรับตามระยะเวลาที่ล่าช้าด้วย ปัจจุบันการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์สะดวกมาก ต้องทำอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง
มือใหม่หัดขับหรือเพิ่งมีรถยนต์คันแรกอยากทราบวิธีการต่อภาษีเพื่อให้รถยนต์สามารถวิ่งบนท้องถนนได้อย่างถูกกฎหมาย เรารวบรวมข้อมูลมาให้คร่าว ๆ ดังนี้
1.ก่อนอื่นต้องซื้อ พ.ร.บ. ผ่านช่องทางออนไลน์จากบริษัทประกันทั่วไป หรือซื้อผ่านสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ต.ร.อ) เมื่อชำระเงินเรียบร้อยก็จะได้รับกรมธรรม์ทางอีเมล
2.การเตรียมเอกสารทำประกันรถยนต์ไม่ใช่เรื่องยากเลย มาดูกันว่าต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง มีอยู่ 3 อย่างด้วยกัน ได้แก่ สำเนาบัตรประชาชน, สำเนาใบขับขี่ (ระบุชื่อผู้ขับขี่ได้ 2 คน), สำเนากรมธรรม์ประกันรถยนต์ (มีวันสิ้นอายุไม่น้อยกว่า 90 วัน)
3.นำเอกสารการ ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นหลักฐานไป ต่อ ภาษี รถยนต์ ได้ทันทีที่เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก ยกเว้นรถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปี ต้องนำรถเข้าตรวจกับ ต.ร.อ ก่อนว่าสภาพ “ผ่าน” แล้วจึงนำเอกสารไปยื่นต่อภาษีตามลำดับ
เพียงแค่ 3 ขั้นตอนก็รอรับกรมธรรม์ผ่านทางอีเมลได้ในทันที เอกสารบางอย่างอาจไม่ต้องใช้ แต่ก็ควรเตรียมเอาไว้เพื่อความสะดวก ไม่ต้องยุ่งยากเสียเวลาไปเตรียมมาใหม่
การคำนวณอัตราภาษีขึ้นอยู่กับว่าเป็นรถประเภทไหน และเครื่องยนต์ขนาดเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ราคาเริ่มต้นไม่ถึง 600 บาท หากเป็นรถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง น้ำหนักไม่เกิน 1.800 กิโลกรัม อัตราภาษี 1,300 บาท เป็นต้น
เมื่อเข้าไปที่เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก https://eservice.dlt.go.th/esvapp/login.jsf เริ่มต้นด้วยการลงทะเบียนสมาชิกใหม่ Login เพื่อเข้าใช้เมนู “ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเทอร์เน็ต” กรอกข้อมูลส่วนตัวและลงทะเบียนรถให้ครบถ้วน จากนั้นกดบันทึกเพื่อไปขั้นตอนถัดไป บนแถบข้อมูล พ.ร.บ. ให้เลือกว่า “มีแล้ว” และกรอกข้อมูลชื่อบริษัทประกันภัย เลขที่กรมธรรม์ และวันสิ้นสุดความคุ้มครอง แล้วกดเลือก “ยื่นชำระภาษี” และวิธีการชำระเงิน อ่านตรวจสอบทั้งหมดให้แน่ใจแล้วกดปุ่มยืนยันก็เป็นอันว่าเสร็จเรียบร้อย นั่นคือไม่สามารถย้อนกลับมาแก้ไขข้อมูลได้อีก
การทำประกันรถยนต์มีประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นค่าซ่อมรถจากอุบัติเหตุรถชน น้ำท่วม ไฟไหม้ ถูกโจรกรรม หรือปัญหาอื่น ๆ จะเคลียร์ให้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเสียเงินสำรองจ่ายไปก่อน ประกันพร้อมดูแลและจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ตามวงเงินที่คุ้มครอง สำหรับเจ้าของรถยนต์ที่งานยุ่งจนกลัวว่าจะลืมกำหนดวัน ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ก็รีบต่อ พ.ร.บ. ล่วงหน้าได้ 90 วันก่อนวันหมดอายุ เพราะถ้าทะเบียนขาดจะต้องโดนปรับเงิน และไม่มีเอกสารไปต่อภาษีรถยนต์ด้วย ถูกปรับฐานไม่ทำ พ.ร.บ. หรือขับรถที่ไม่ได้ต่ออายุ พ.ร.บ. มีโทษปรับสูงสุดถึง 10,000 บาท
ในส่วนของเอกสารต่อภาษีรถยนต์ไม่ใช่เรื่องยาก เตรียมไว้ให้พร้อมดำเนินเรื่องเสร็จรวดเร็ว ไม่เสียเวลา สามารถซื้อ พ.ร.บ. ออนไลน์กับ Insurverse ได้ที่นี่ แล้วนำไปยื่นต่อภาษีที่กรมการขนส่งทางบกได้ทันที
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
หลายๆ คนที่ขับรถน่าจะรู้กันอยู่แล้วล่ะ ก่อนต่อภาษีรถยนต์ต้องต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ซะก่อน แต่ตรงขั้นตอนชำระภาษีใน dlt vehicle tax เนี่ยสิทำยังไง
ในยุคที่โลกดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน การทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ก็กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว รวมถึงการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ที่ง่าย
ทุกคนนน!! วันนี้มีเรื่องสำคัญมากๆ สำหรับเจ้าของรถทุกคนมาบอกต่อ! ซึ่งก็คือ เรื่องของการต่อประกันภัยภาคบังคับหรือที่เรียกติดปากว่าการต่อพ.ร.บ.