ปัญหาหนักใจของผู้ขับรถยนต์หน้าใหม่ในช่วงต่อภาษีรถยนต์ คือ ไม่รู้ว่ารถของคุณต้องจ่ายค่าต่อภาษีรถยนต์กี่บาท? เพราะเกณฑ์ต่อภาษีมีหลายรูปแบบ ด้วยเหตุนี้เราจึงนำข้อมูลการต่อภาษี พร้อมวิธีคำนวณมาฝากทุกคน ให้การต่อภาษีเป็นเรื่องง่ายไปเลย
สำหรับรถเก๋ง หรือรถกระบะจะใช้ขนาดเครื่องยนต์เป็นฐานในการคำนวณภาษี ยิ่งเครื่องยนต์ CC มาก ภาษีที่ต้องจ่ายยิ่งสูง ดังต่อไปนี้
รถยนต์กลุ่มนี้หากยิ่งใช้งานนานจะได้รับการลดภาษีลงตั้งแต่การใช้งานในปีที่ 6 เป็นต้นไป ซึ่งมีรายละเอียดการลดภาษี ได้แก่
เช่น Honda CR-V เครื่องยนต์ DOHC 4 สูบ 16 วาวล์ ความจุ 1,993 ซีซี เปิดตัวในปี 2023 จะเสียภาษีเท่ากับ
แต่ Honda CR-V อายุการใช้งานไม่ถึง 6 ปี จึงไม่ได้รับสิทธิลดภาษี ดังนั้น คำตอบของ Honda CR-V ว่าต้องจ่ายค่าต่อภาษีรถยนต์กี่บาท คือ 2,872 บาท
สำหรับรถยนต์ไฟฟ้ากลุ่มที่นั่งไม่เกิน 7 คน แม้ว่าราคาพ.ร.บ.เท่ากับรถเก๋ง แต่วิธีการคำนวณภาษีรถยนต์แตกต่างกัน เพราะรถ EV ใช้เกณฑ์น้ำหนักรถแทนที่จะเป็นขนาดเครื่องยนต์ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีมาตรการลดภาษีรถไฟฟ้ามากมาย แต่หลังวันที่ 30 กันยายน 2568 รถยนต์ไฟฟ้าจะคิดภาษี ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ตัวอย่างเช่น Tesla Model 3 น้ำหนัก 1,824 กิโลกรัม หมายความว่าตามเกณฑ์ภาษีรถไฟฟ้าใหม่ จะต้องเสียภาษีเท่ากับ 1,600 บาท
สถานที่ต่อภาษีรถยนต์ในปัจจุบันทำได้ทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่งทางออนไลน์สามารถเข้าไปได้ที่เว็บไซต์ของกรมขนส่งทางบก https://eservice.dlt.go.th/esvapp/login.jsf ส่วนช่องทางออฟไลน์ เช่น 1.เคาน์เตอร์เซอร์วิส 2.ที่ทำการไปรษณีย์ 3.ธนาคารธกส. โดยการต่อภาษีทางออฟไลน์ให้คุณเตรียมเอกสารประกอบการต่อด้วย ได้แก่
เมื่อทราบกันไปแล้วว่ารถแต่ละประเภทต่อภาษีรถยนต์กี่บาท อย่าลืมไปทำเรื่องต่อภาษีให้เรียบร้อย ไม่ควรปล่อยให้ป้ายภาษีขาดต่อเกิน 3 ปี มิเช่นนั้นแล้วจะถูกระงับป้ายทะเบียน และหาก พ.ร.บ.รถยนต์ ใกล้หมดอายุ กังวลว่าพ.ร.บ.ขาดแล้วจะต่อภาษีไม่ได้ สามารถซื้อ พ.ร.บ.ออนไลน์ได้เลยจากเว็บไซต์ insurverse ที่ประหยัด และซื้อได้ทุกที่ทุกเวลา เช็กเบี้ย พ.ร.บ. ได้ที่นี่!
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
หลายๆ คนที่ขับรถน่าจะรู้กันอยู่แล้วล่ะ ก่อนต่อภาษีรถยนต์ต้องต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ซะก่อน แต่ตรงขั้นตอนชำระภาษีใน dlt vehicle tax เนี่ยสิทำยังไง
ในยุคที่โลกดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน การทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ก็กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว รวมถึงการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ที่ง่าย
ทุกคนนน!! วันนี้มีเรื่องสำคัญมากๆ สำหรับเจ้าของรถทุกคนมาบอกต่อ! ซึ่งก็คือ เรื่องของการต่อประกันภัยภาคบังคับหรือที่เรียกติดปากว่าการต่อพ.ร.บ.