พ.ร.บ.รถยนต์ คือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ถือเป็นกฎหมายที่กำหนดให้เจ้าของรถทุกคัน ไม่ว่าจะเป็นรถจักรยานยนต์ รถเก๋ง รถกระบะ รถบรรทุก หรือแม้แต่รถโดยสารประจำทางทุกคันจะต้องทำจึงจะสามารถเสียภาษีประจำปีได้ ซึ่ง พ.ร.บ. นี้เปรียบเสมือนประกันภัยภาคบังคับเพื่อให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยจากรถไม่ว่าผู้ประสบภัยจะเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูก
หลายคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับป้ายภาษีหรือที่ใคร ๆ มักจะเรียกว่าป้ายวงกลม ป้ายภาษีดังกล่าวไม่ใช่ป้ายอันเดียวกันกับป้าย พ.ร.บ. หากแต่เป็นคนละส่วนกัน พ.ร.บ. รถยนต์เป็นประกันภัยภาคบังคับที่รถทุกคันจะต้องซื้อก่อนนำ พ.ร.บ. ดังกล่าวแนบไปกับใบตรวจสภาพรถจึงจะสามารถต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้ ดังนั้นควรทำการถ่ายสำเนาหรือเก็บเอกสารตัวจริงติดไว้กับรถเผื่อเจ้าหน้าที่ขอทำการตรวจสอบและสามารถนำมาใช้งานได้ทันทีหากเกิดอุบัติเหตุ
สำหรับอัตราเบี้ยประกันภัย พ.ร.บ.รถยนต์ราคา แตกต่างกันตามขนาดของซีซีรถ จำนวนที่นั่ง และประเภทของการนำไปใช้งาน เช่น รถเก๋ง ราคา 569 บาท/ปี กระบะ 4 ประตู ราคา 569 บาท/ปี กระบะ 2 ประตู ราคา 869 บาท/ปี และรถตู้ ราคา 1,069 บาท/ปี เป็นต้น ในขณะที่ พ.ร.บ.รถ คุ้มครองอะไรบ้าง จะเป็นมาตรฐานแบบเดียวกันหมด ได้แก่
หากมีการพิสูจน์เป็นที่แน่ชัดว่าตนเองเป็นฝ่ายถูก
หลังจากที่รู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.รถ คุ้มครองอะไรบ้าง กันไปแล้ว ลำดับต่อไปจะกล่าวถึง พ.ร.บ. ไม่คุ้มครองอะไรบ้าง ประกอบไปด้วย
ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาหากรถประสบอุบัติเหตุและมีผู้ได้รับบาดเจ็บจากการกระทำดังกล่าวข้างต้น ทาง พ.ร.บ. จะไม่ให้ความคุ้มครองใด ๆ ต่อผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์นั้น ๆ
สำหรับเจ้าของรถยนต์ท่านใดที่กำลังมองหา พ.ร.บ. รถยนต์ แต่ยังนึกไม่ออกว่าจะใช้บริการของที่ใดที่ตอบโจทย์ถึงความคุ้มค่าคุ้มราคา ขอแนะนำ Insurverse บริษัทประกันภัยออนไลน์ที่อยู่ภายใต้เครือทิพยประกันภัย มีความมั่นคงและประสบการณ์มาอย่างยาวนาน เช็กเบี้ยเลยที่นี่!
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
หลายๆ คนที่ขับรถน่าจะรู้กันอยู่แล้วล่ะ ก่อนต่อภาษีรถยนต์ต้องต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ซะก่อน แต่ตรงขั้นตอนชำระภาษีใน dlt vehicle tax เนี่ยสิทำยังไง
ในยุคที่โลกดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน การทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ก็กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว รวมถึงการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ที่ง่าย
ทุกคนนน!! วันนี้มีเรื่องสำคัญมากๆ สำหรับเจ้าของรถทุกคนมาบอกต่อ! ซึ่งก็คือ เรื่องของการต่อประกันภัยภาคบังคับหรือที่เรียกติดปากว่าการต่อพ.ร.บ.