vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
พ.ร.บ.รถยนต์คุ้มครองอะไรบ้าง 2567

พ.ร.บ.รถ คุ้มครองอะไรบ้าง 2567

schedule
share
พ.ร.บ.รถ คุ้มครองอะไรบ้าง 2567
ที่มารูปภาพ: https://www.freepik.com/free-photo/man-standing-by-broken-vehicle-calling-tow-service_11136102.htm

ใครที่มีรถยนต์เป็นของตัวเองจะต้องไม่ลืมว่าสิ่งที่ต้องทำทุก ๆ ปีก็คือการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ถ้าไม่มีสิ่งนี้จะต่อภาษีรถยนต์ไม่ได้ การต่อภาษีเป็นเรื่องที่ต้องทำตามกฎหมาย อย่ารอให้ภาษีขาดเพราะจะถูกปรับ ความสำคัญของ พรบ ไม่ใช่แค่ใช้เพื่อต่อภาษีอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังถือเป็นการประกันภัยภาคบังคับที่ให้ความคุ้มครองผู้ขับขี่เมื่อเกิดอุบัติเหตุอีกด้วย เรามาดูกันว่า พ.ร.บ.รถ คุ้มครองอะไรบ้าง

ความคุ้มครองที่ผู้ทำ พรบ สามารถใช้สิทธิ์เคลมได้มี 2 ส่วนคือ

1. ค่าเสียหายเบื้องต้นจากอุบัติเหตุ

ส่วนนี้สามารถเคลมได้ทันทีที่เกิดเหตุไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด แบ่งเป็น

  • กรณีมีผู้บาดเจ็บ เคลมค่ารักษาพยาบาลได้ตามจริง วงเงินสูงสุด 30,000 บาทต่อคน
  • กรณีบาดเจ็บถึงขั้นสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ เคลมได้สูงสุด 35,000 บาทต่อคน
  • กรณีมีผู้เสียชีวิต ทายาทสามารถเคลมค่าใช้จ่ายในการปลงศพและค่าใช้จ่ายอื่นเกี่ยวกับงานศพ วงเงิน 35,000 บาทต่อคน

2. ค่าเสียหายส่วนเกิน

หลังจากพิสูจน์ได้ว่าเจ้าของรถไม่ได้เป็นฝ่ายผิด พ.ร.บ.รถคุ้มครองอะไรบ้าง

  • กรณีบาดเจ็บ สามารถเคลมค่ารักษาพยาบาลเพิ่มจากค่าเสียหายเบื้องต้น โดยนับรวมทั้งสองส่วนแล้วไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน  
  • กรณีที่ร่างกายสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร ได้รับเงินทดแทน 200,000 – 500,000 บาทต่อคนขึ้นอยู่กับอวัยวะ วงเงินนี้นับรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้นในข้อแรกแล้ว
  • กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ผู้ที่เป็นทายาทสามารถเคลมเงินชดเชยเพิ่มโดยนับรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้นในข้อแรกแล้วจะต้องไม่เกิน 500,000 บาท
  • กรณีที่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลสามารถเคลมค่าชดเชยได้วันละ 200 บาทรวมไม่เกิน 20 วัน

จะเห็นว่า พรบ มีความสำคัญ และเป็นสิ่งที่เจ้าของรถทุกคนต้องมี หากใครที่ พรบ ใกล้หมดอายุอย่าลืมต่อให้เรียบร้อย ค่าใช้จ่ายในการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ราคา ขึ้นอยู่กับประเภทของรถยนต์ ดังนี้ (อัตราค่าใช้จ่ายไม่รวม VAT)

  • รถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง 600 บาทต่อปี
  • รถยนต์เกิน 7 – 15 ที่นั่ง 1,100 บาทต่อปี
  • รถยนต์เกิน 15 แต่ไม่เกิน 20 ที่นั่ง 2,050 บาทต่อปี
  • รถยนต์เกิน 20 ที่นั่งแต่ไม่เกิน 40 ที่นั่ง 3,200 บาทต่อปี
  • รถยนต์เกิน 40 ที่นั่ง 3,740 บาทต่อปี

และสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่นั่งไม่เกิน 7 คนซึ่งกำลังเป็นที่นิยมใช้มากขึ้นในตอนนี้ค่าต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ราคา 600 บาทต่อปีเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม การต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ นั้น ความคุ้มครองยังจำกัดอยู่แค่ตัวบุคคลผู้ประสบภัยเท่านั้น แต่ความเสียหายของตัวรถยังไม่ครอบคลุม ดังนั้นแนะนำให้ทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจเพิ่มเติมเพื่อเคลมค่าเสียหายในส่วนของรถได้ด้วย สามารถเลือกแผนประกันที่เหมาะกับการขับและรถของคุณได้ทางเว็บไซต์ของ Insurverse ดูความคุ้มครองจากแผนประกันต่าง ๆ และเช็กเบี้ยได้ที่นี่ หากตรงใจสามารถซื้อประกันได้ทางออนไลน์ สะดวกและง่าย จัดการทุกขั้นตอนผ่านระบบได้ด้วยตัวคุณเอง แล้วคุณจะได้รับความคุ้มครองที่อุ่นใจทุกการเดินทาง

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)