vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
ไขข้อสงสัย พ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง

ไขข้อสงสัย พ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง

schedule
share

มีใครกำลังสงสัยอยู่ไหม ว่าทำไม พ.ร.บ.รถยนต์ จึงเป็นประกันภัยภาคบังคับ แม้ว่าหลายคนจะทราบดีว่ามันมีประโยชน์อย่างแน่นอน เพราะมีการบังคับใช้ตามกฎหมาย แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะคุ้มครองอะไรบ้าง? หรือหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา พ.ร.บ.รถยนต์ จะสามารถช่วยเหลืออะไรได้บ้าง วันนี้เราจะพาทุกคนไปไขข้อสงสัยพร้อม ๆ กัน

ความคุ้มครองของ พ.ร.บ.รถยนต์

ความคุ้มครองของ พ.ร.บ.รถยนต์

พ.ร.บ.รถยนต์ จะให้ความคุ้มครองเฉพาะคนเท่านั้น และจะไม่รับผิดชอบความเสียหายต่อรถยนต์ในทุกกรณี ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท

1.คุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้นหลังเกิดอุบัติเหตุ

เป็นการคุ้มครองที่ไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นกับผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คู่กรณี หรือบุคคลผู้อยู่ในเหตุการณ์ จะได้รับความคุ้มครอง เป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 30,000 บาท/คน และหากสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร หรือเสียชีวิต จะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น จำนวน 35,000 บาท/คน ซึ่งบริษัทประกันภัยจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยภายใน 7 วัน นับจากวันที่บริษัทได้รับคำร้องชดเชยความเสียหาย

2.ค่าเสียหายส่วนเกิน 

หากพิสูจน์แล้วว่าคุณเป็นฝ่ายถูก จะได้รับค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท หากต้องพักฟื้นในโรงพยาบาล จะได้รับค่าชดเชยรายวัน 200 บาทต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 20 วัน และกรณีสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร หรือเสียชีวิต จะได้รับค่าเสียหายสูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท ซึ่งจำนวนเงินรวมทั้งหมดที่จ่ายได้ รวมกันไม่เกิน 304,000 บาท แต่หากพิสูจน์แล้วว่าคุณเป็นฝ่ายผิด ก็จะได้รับเงินคุ้มครองจากค่าใช้จ่ายเบื้องต้นเท่านั้น

พ.ร.บ.รถยนต์ หมดอายุต้องทำอย่างไร

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า พ.ร.บ.รถยนต์ มีอายุ 1 ปี และจะต้องต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ซึ่งโดยปกติแล้วจะไม่สามารถซื้อย้อนหลังได้ แต่สามารถซื้อความคุ้มครองล่วงหน้าได้ไม่เกิน 90 วัน หรือ 3 เดือน โดยสามารถต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ได้ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ 

หากต้องการต่อทางออนไลน์ สามารถทำได้ที่ เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก e-Service หรือเว็บไซต์ประกันภัยที่คุณไว้วางใจ หรือทางออฟไลน์ ก็สามารถไปที่สำนักงานขนส่ง ที่ทำการไปรษณีย์ ห้างสรรพสินค้า ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และเคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-11 ทั่วประเทศ

หากไม่ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ จะมีโทษตามกฎหมาย ปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท และหากขาดต่ออายุเป็นเวลานาน 3 ปี จะทำให้เลขทะเบียนรถของคุณถูกระงับ ซึ่งหากถูกระงับจะต้องไปจดทะเบียนรถใหม่ที่กรมการขนส่งทางบก นอกจากนี้ยังต้องยื่นชำระภาษีรถคงค้างย้อนหลังด้วยค่าปรับในอัตรา 1% ต่อปี จึงจะสามารถขับรถได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

พ.ร.บ.รถยนต์ หมดอายุต้องทำอย่างไร

สรุป

ตอนนี้คงจะเข้าใจถึงประโยชน์ และข้อดีของการทำ พ.ร.บ.รถยนต์กันแล้ว และหากใครที่กำลังต้องการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ด้วยตัวเองง่าย ๆ สามารถทำได้ที่ insurverse ตลอด 24 ชั่วโมง และที่สำคัญอย่าลืมตรวจสอบวันหมดอายุให้ดีด้วยนะ!

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)