vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
ขับขี่อุ่นใจ ทำ พ.ร.บ. รถยนต์ไว้ คุ้มครองอะไรบ้าง

ขับขี่อุ่นใจ ทำ พ.ร.บ. รถยนต์ไว้ คุ้มครองอะไรบ้างหากเกิดอุบัติเหตุ

schedule
share

ไม่มีใครอยากให้เกิดเรื่องร้าย ๆ บนท้องถนนกับคุณ แต่หากคุณได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ พ.ร.บ. รถยนต์ช่วยคุ้มครองคุณอย่างแน่นอน ไม่มีอะไรที่ทำให้คุณขับขี่รถยนต์ได้อย่างอุ่นใจ ได้เท่ากับการมี พ.ร.บ. รถยนต์ไว้กับรถคุณ วันนี้เราจะมาดูกันว่า ข้อดีของการมี พ.ร.บ. รถยนต์คืออะไรบ้าง และให้ความคุ้มครองคุณในด้านไหนบ้างหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น

ความคุ้มครองทั้งหมดของ พ.ร.บ. รถยนต์

ความคุ้มครองทั้งหมดของ พ.ร.บ. รถยนต์

พ.ร.บ. รถยนต์คุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้นเสมอ

ไม่ต้องรอพิสูจน์ว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ชน พ.ร.บ. รถยนต์จ่ายก่อน ในกรณีดังนี้

  • กรณีบาดเจ็บ จ่ายตามค่ารักษาจริงสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท 
  • กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้น 35,000 บาท 
  • กรณีเสียชีวิตหลังจากรักษาพยาบาล จะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 30,000 บาท 
  • ค่าปลงศพอีกจำนวน 35,000 บาท รวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาท

พ.ร.บ. รถยนต์จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ฝ่ายที่ถูกหลังพิสูจน์แล้ว

  • ค่ารักษาพยาบาล จ่ายตามค่ารักษาจริงสูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท 
  • กรณีสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพอย่างถาวร หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ชดเชย 200,000 – 500,000 บาท (กรณีสูญเสียอวัยวะ เป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ) 
  • กรณีเสียชีวิต ชดเชย 500,000 บาท ค่าชดเชยกรณีเป็นผู้ป่วยใน 200 บาทต่อวัน แต่ไม่เกิน 20 วัน

เอกสารที่ต้องเตรียมเพื่อยื่นเคลม พ.ร.บ. รถยนต์

  1. สำเนาบัตรประชาชน ของผู้ประสบภัย (หากอายุไม่ถึง 15 ปี ให้ใช้ใบสูติบัตรแทน) 
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน 
  3. สำเนาทะเบียนรถคันที่เกิดเหตุ 
  4. สำเนาใบขับขี่ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (ในกรณีที่ผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับขี่) 
  5. ใบแจ้งความหรือบันทึกประจำวันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ
  6.  สำเนาใบกรมธรรม์ พ.ร.บ. รถยนต์

กรณีบาดเจ็บ

  1. สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ประสบภัย
  2. ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล

กรณีเสียชีวิต

  1. สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบอุบัติเหตุ
  2. ใบมรณบัตร
  3. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของทายาท
  4. สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานที่แสดงว่าผู้ประสบภัยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์

กรณีทุพพลภาพ

  1. สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบเหตุ
  2. ใบรับรองแพทย์และหนังสือรับรองการเป็นผู้พิการ
  3. สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานที่แสดงว่าผู้ประสบเหตุได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์

กรณีเบิกค่ารักษาพยาบาล ผู้ป่วยใน

  1. ใบรับรองแพทย์หรือหนังสือรับรองการรักษาตัว เป็นผู้ป่วยใน
  2. สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้ประสบภัย
พ.ร.บ. รถยนต์จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ฝ่ายที่ถูกหลังพิสูจน์แล้ว

บทสรุป

การมี พ.ร.บ. รถยนต์ไว้ ช่วยคุณในเรื่องของค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดอุบัติเหตุได้อย่างทันที ซึ่งดีมาก ๆ เพราะหากเป็นประกันรถยนต์คุณอาจต้องรอเพื่อเคลม แต่กับ พ.ร.บ. รถยนต์จะคุ้มครองคุณทันทีเมื่อเกิดเหตุในเบื้องต้น ให้คุณอุ่นใจเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์

แต่หาก พ.ร.บ. รถยนต์ของคุณใกล้หมดอายุ หรือหมดอายุแล้ว ต้องรีบทำการต่ออายุ พ.ร.บ. รถยนต์ไม่งั้นคุณอาจไม่ได้รับสิทธิ์ในการคุ้มครองข้างต้น โดยสามารถ ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ผ่านช่องทางออนไลน์ ที่สะดวกรวดเร็ว และยังง่ายอีกด้วย เพื่อความอุ่นใจในการใช้รถใช้ถนนของคุณ อย่าลืมต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ประจำปีด้วยนะ

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)