เชื่อเลยว่าเจ้าของรถใหม่หลายคนอาจเกิดความสงสัยเกี่ยวกับ ประกันภัยภาคบังคับ คือ อะไร ทำไมถึงต้องทำก่อนต่อภาษีรถยนต์ หากเราเลือกทำจะมีการคุ้มครองเพิ่มเติมอย่างไรบ้าง มีเงื่อนไขการคุ้มครองอะไรบ้างที่เราควรรู้ และถ้าเราไม่ได้ทำประกันภัยภาคบังคับมีโทษไหม กรณีที่เรารับทราบแล้วว่าประกันภัยภาคบังคับหรือ พรบ รถยนต์ คือ สิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ แล้วประกันภัยภาคสมัครใจต้องมีการบังคับให้เราทำด้วยหรือไม่ เพื่อให้คุณเจ้าของรถมือใหม่ทุกคนได้เข้าใจตรงกัน insurverse ได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจมานำเสนอให้ทุกคนแล้วในบทความนี้
ประกันภัยภาคบังคับ คือ การประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ที่กำหนดไว้ว่ารถยนต์ทุกคน ทุกชนิดที่ได้มีการจดทะเบียนเอาไว้กับกรมขนส่งทางบก และรถยนต์ที่ใช้พลังงานขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า หรือพลังงานใดก็ตาม ต้องมีการทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับเสมอ ซึ่งประกันภัยภาคบังคับ คือ พ.ร.บ.รถยนต์ที่เราเรียกกันในทุกวันนี้นั่นเอง
เหตุผลที่มีเจ้าของรถยนต์ทุกคันต้องทำประกันภัยภาคบังคับ คือ การที่ภาครัฐต้องคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พร้อมกับให้ความช่วยเหลือทุกคนทางด้านพยาบาลอย่างทันท่วงที ไม่ว่าจะเป็นกรณีบาดเจ็บหรือเสียชีวิตก็ตาม รวมถึงประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับนี้ยังเป็นหลักประกันให้แก่โรงพยาบาล ถึงการได้รับค่ารักษาพยาบาลจากผู้ประสบเหตุจากรถยนต์อย่างแน่นอน
อายุของประกันภัยภาคบังคับ คือ 1 ปี และต้องมีการต่ออายุอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับสามารถต่ออายุล่วงหน้าได้สูงสุดไม่เกิน 90 วันเท่านั้น หากใครอยากจัดการให้เรียบร้อยก่อนต่อภาษีรถยนต์ประจำปี สามารถวางแผนต่อล่วงหน้าได้ตามกรอบระยะเวลาตามกำหนด
ช่องทางการซื้อประกันภัยภาคบังคับ คือ ช่องทางออนไลน์, กรมขนส่ง และผู้ให้บริการรายย่อยอื่นในประเทศไทย แต่ปัจจุบันช่องทางในการซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับออนไลน์ กำลังได้รับความนิยมอย่างมากทั้งในเรื่องความสะดวกสบาย ราคาที่คุ้มค่า และเรื่องเอกสารที่ไม่วุ่นวายด้วยเช่นกัน
การคุ้มครองทั้งหมดของประกันภัยภาคบังคับ คือ ค่าเสียหายเบื้องต้น และค่าสินไหมทดแทน โดยทั้ง 2 หมวดใหญ่นี้จะมีการแบ่งย่อยรายละเอียดเรื่องการคุ้มครองเพิ่มเติมอีกจำนวนมาก หากใครยังไม่เคยรู้ข้อมูลตรงนี้มาก่อน insurverse อยากแนะนำให้ลองอ่านเก็บข้อมูลไว้ เพื่อรักษาผลประโยชน์ในการคุ้มครองของคุณเจ้าของรถยนต์ทุกคน
ค่าเสียหายเบื้องต้นจากประกันภัยภาคบังคับ คือ การที่ผู้ประสบภัยจะได้รับค่าความเสียหายเบื้องต้น โดยไม่ต้องพิสูจน์เรื่องความผิดภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันแรกที่มีคำขอการชดเชยสินไหมกับบริษัทประกัน ซึ่งจะมีรายการเบื้องต้นตามลิสต์ด้านล่างนี้
กรณีที่มีการบาดเจ็บแต่ไม่ถึงกับสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ จะได้รับค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายด้านการพยาบาลตามค่าเสียหายจริงที่เกิดขึ้น รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 30,000 บาทตามที่กล่าวมาด้านบนทั้งหมด
ค่าเสียหายกรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพจากประกันภัยภาคบังคับ คือ 35,000 บาทต่อคน ซึ่งเป็นไปได้เมื่อเข้าข่ายในกรณีใดก็ตามดังนี้
แต่ถ้าหากเป็นกรณีเสียชีวิต ทายาทโดยชอบธรรมจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 30,000 บาทต่อคน ส่วนกรณีที่เป็นการเสียชีวิตหลังจากรักษาพยาบาล จะได้รับค่าเสียหายที่เป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าปลงศพรวมกันไม่เกิน 35,000 บาทต่อคน รวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน
ค่าสินไหมทดแทนของประกันภัยภาคบังคับ คือ ค่าเสียหายส่วนที่เกินมาจากค่าเสียหายเบื้องต้น ต้องได้รับการพิสูจน์ความผิดให้เรียบร้อยก่อน หลังจากนั้นผู้ประสบภัยถึงจะได้รับค่าสินไหมทดแทน ซึ่งรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้นในรายละเอียดด้านบนแล้วจะต้องไม่เกินกำหนดดังนี้
เงื่อนไขการคุ้มครองจากประกันภัยภาคบังคับ คือ ต้องดูการพิสูจน์ในที่เกิดเหตุว่าใครเป็นฝ่ายถูกและฝ่ายผิด จากนั้นจะมีเงื่อนไขรายละเอียดการคุ้มครองที่แตกต่างกันออกไป ตามเนื้อหาในหัวข้อย่อยต่อจากนี้
กรณีที่ประสบอุบัติเหตุแล้วเราเป็นฝ่ายถูก จะสามารถเบิกค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมได้ เช่น ค่ารักษาพยาบาลตามจริงสูงสุด 80,000 บาท, เสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสูงสุด 500,000 บาท, สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วนขึ้นไป ได้รับเงินชดเชยสูงสุด 500,000 บาท, สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน ได้รับเงินชดเชยสูงสุด 250,000 บาท, สูญเสียนิ้ว ตั้งแต่ 1 นิ้วขึ้นไป ได้รับเงินชดเชยสูงสุด 200,000 บาท, ทุพพลภาพถาวร ไม่สามารถประกอบอาชีพประจำได้ ชดเชยสูงสุด 300,000 บาท และรับเงินชดเชยเมื่อรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน วันละ 200 บาท (ไม่เกิน 20 วัน)
กรณีที่ประสบอุบัติเหตุแล้วเราเป็นฝ่ายผิด จะสามารถรับค่าเสียหายเบื้องต้นได้ก่อนเป็นอันดับแรก ส่วนค่าสินไหมทดแทนจะไม่ได้รับในกรณีที่เป็นฝ่ายผิด
โทษของการไม่ต้องประกันภัยภาคบังคับ คือ มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท, หากมีการขับขี่รถยนต์โดยไม่ใช่เจ้าของรถยนต์ ซึ่งไม่ได้มีการต่อประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับเอาไว้ ปรับไม่เกิน 10,000 บาทเช่นกัน และกรณีที่ไม่มีการต่อประกันภัยภาคบังคับ ถือว่ามีความผิด 2 ข้อ จะโดนปรับไม่เกิน 20,000 บาท
มีประกันรถยนต์ภาคบังคับ ต้องทำประกันภาคสมัครใจด้วยหรือไม่ ตรงนี้เราสามารถเลือกได้เองตามความต้องการของผู้เป็นเจ้าของรถยนต์ ซึ่งจะทำหรือไม่ทำก็ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วเพื่อป้องกันการเกิดเหตุไม่คาดฝันบนท้องถนน หากมีประกันภัยภาคสมัครใจเข้ามาช่วยเหลือดูแล จะช่วยให้คุณไม่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายแต่เพียงผู้เดียว เพราะมีการดูแลมาจากทั้งประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ และประกันภาคสมัครใจอีกด้วย
ในเบื้องต้นหากใครอยากต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ผ่านช่องทางออนไลน์ที่สะดวกสบายที่สุด สามารถเข้ามาใช้บริการจาก insurverse ได้เลยทันที ด้วยราคาที่ถูกกว่า คุ้มครองทันทีที่ซื้อ รับกรมธรรม์พร้อมต่อภาษีได้เลย และยังมีบริการแจ้งเตือนก่อนหมดอายุอีกต่างหาก น่าสนใจขนาดนี้อย่าลืมเข้ามาใช้บริการดี ๆ กับ insurverse หรือติดต่อสอบถามการใช้งานเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 02-842-9899
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
งูตัดหน้ารถ มักพบในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝนเท่านั้น แม้ว่าทางวิทยาศาสตร์แล้วจะเป็นเรื่องปกติที่งูจะเลื้อยผ่านไปยังพื้นที่ต่าง ๆ แต่สำหรับผู้ที่เชื่อเรื่องดวงอาจต้องเช็กให้ดีว่างูตัดหน้ารถหมายถึงอะไร?
เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงต้องนึกถึงรถตระกูล “Land Cruiser” ที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน อีกทั้งยังมียอดขายทั่วโลกรวมแล้วกว่า 10 ล้านคัน ซึ่ง Land Cruiser รุ่นล่าสุดเปิดตัวไปเมื่อช่วงปลายปี 2023 และจนถึงตอนนี้ก็ยังมีคนที่ตามหารถรุ่นนี้มาไว้ในครอบครองเป็นจำนวนไม่น้อย
การไหว้แม่ย่านางรถใหม่เป็นพิธีกรรมทางความเชื่อเพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลและความมั่นใจให้กับผู้ขับขี่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารภายในรถยนต์เดินทางปลอดภัยตลอดการเดินทาง ในบทความนี้ insurverse ประกันภัยรถยนต์ออนไลน์จึงจะมาแนะนำเคล็ดลับในการเลือก พวงมาลัยไหว้รถออกใหม่