รถยนต์ ก็เหมือนร่างกายของมนุษย์นั่นแหละ ที่มีสภาพเสื่อมโทรมลง และต้องดูแลรักษา ต้องหมั่นดูแลทั้งภายในและภายนอกให้ใช้งานได้ดีอยู่เสอม จึงต้องมีวันเวลาที่จะต้องไปตรวจสภาพรถยนต์เกิดขึ้น ตรงไหนพัง ตรงไหนต้องซ่อม ก็จะได้รีบดำเนินการทันที เพราะรถยิ่งใช้ไปนานๆ แล้วไม่ได้ผ่านการตรวจสภาพรถ ก็ย่อมสึกหรอไปตามกาลเวลา ถ้าจะให้ดี มีประกันรถยนต์พ่วงไว้ด้วย ก็ช่วยคุ้มครองได้เยอะ
สำหรับการนำรถยนต์ไปตรวจสภาพรถ สามารถทำได้ เมื่อต้องนำไปต่อภาษีรถยนต์ ตามกฎของกระทรวงตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ระบุว่า รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป หมายความว่า ต้องนำไปตรวจสภาพรถ ตอนรถใช้งานมาแล้วครบ 7 ปี ซึ่งโดยปกติ ภาษีรถยนต์ต้องต่อกันทุกปี และต้องนำไปตรวจสภาพรถยนต์เสียก่อน ถึงจะยื่นต่อภาษีได้ นอกจากการตรวจสภาพรถ จะใช้เพื่อต่อภาษีแล้ว ยังดีต่อความปลอดภัยอีกด้วย รถใช้มานาน ถ้าอุปกรณ์ อะไหล่ ข้างในมีความเสียหาย ก็จะได้เปลี่ยนทันเวลา นำไปซ่อมบำรุง เพื่อให้ยืดระยะการใช้งานได้ยาวนานขึ้น ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุด้วย
ข้อดีอีกอย่างของการตรวจสภาพรถ คือเมื่อต้องซื้อประกันรถยนต์ หากรถผ่านการใช้งานมานาน ยังไงบริษัทประกัน ก็ต้องขอให้เรานำรถไปตรวจสภาพก่อนอยู่แล้ว จึงทำให้สะดวกต่อการทำประกันรถยนต์อย่างมาก ยิ่งได้ตรวจสภาพรถ และมีประกันรถยนต์ด้วย ยิ่งทำให้ขับรถได้สบายใจมากขึ้น
การตรวจสภาพรถนั้น สามารถนำไปตรวจได้ 2 แห่ง คือ
มีครอบคลุมอยู่ทั่วประเทศ สามารถนำไปตรวจสภาพได้ใกล้บ้าน ไม่ต้องรอคิวนาน สะดวกสบาย ราคาตรวจสภาพรถต่อครั้ง จะขึ้นอยู่กับสภาพที่แตกต่างกันออกไป เริ่มที่ 200-300 บาท บางที่ก็อาจจะแพงกว่านั้น ตรวจเสร็จก็นำไปยื่นต่อภาษีได้เลย
แต่ละจังหวัดจะมีสำนักงานอยู่ไม่มาก ต้องรอคิวกันหน่อย สามารถนำรถเข้าไปติดต่อ เพื่อตรวจสภาพรถได้ โดยรถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 150บาท รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 250 บาท แต่การจะมาตรวจสภาพรถที่กรมการขนส่งทางบก จะมีเงื่อนไขคือ รับตรวจสภาพรถที่ขาดการต่อภาษีมากกว่า 1 ปีขึ้นไป หรือรถที่ไม่สามารถไปตรวจที่ตรอ.ได้ เช่น รถที่มีการดัดแปลงตัวรถ ดัดแปลงสี เป็นต้น
เมื่อเลือกสถานที่ตรวจสภาพรถแล้ว ก็ต้องเตรียมหลักฐานการตรวจสภาพรถ ได้แก่ รถยนต์ที่ต้องตรวจสภาพ ใบคู่มือหรือสมุดทะเบียนรถ เมื่อตรวจผ่านเกณฑ์ เราก็จะใบรับรองการตรวจสภาพ เพื่อนำไปใช้ยื่นต่อภาษีรถยนต์ หรือทำประกันรถยนต์ต่อไปได้
รู้แบบนี้แล้ว ต้องไปดูกันนะ ว่าใช้รถยนต์กันไปยาวนานถึง 7 ปีหรือยัง ถ้าถึงแล้ว ก็พร้อมสู่การตรวจสภาพรถได้ และหากใครต้องการต่อประกันรถยนต์ ก็มีให้เลือกประกันประเภท 1, 2+, 2, 3+ และ 3 แต่ละแบบจะได้รับความคุ้มครองที่แตกต่างกันออกไป ตามพฤติกรรมการใช้งานรถ แต่ก่อนจะซื้อประกันรถยนต์ ก็ต้องเช็คราคาประกันรถยนต์ให้ดีก่อน เพื่อจะเลือกได้ว่าประกันรถยนต์ไหน เหมาะกับเรามากที่สุด
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
การทำประกันไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัย กลายเป็นเรื่องธรรมดาที่หลายคนเริ่มให้ความสำคัญมากขึ้นในยุคนี้ บางคนมีประกันหลายฉบับ บางคนทำไว้หลายบริษัท พอทำประกันไว้หลายฉบับ หลายบริษัท หลายปีติด ๆ กัน แล้วเล่มหายหรือจำไม่ได้ว่าทำไว้กับใคร ปัญหาเริ่มมาแบบไม่ทันตั้งตัว โชคดีที่ทุกวันนี้สามารถเช็คกรมธรรม์จากเลขบัตรประชาชนได้แล้ว ไม่ต้องไปขุดหาเอกสารเก่า ไม่ต้องโทรถามใครให้ยุ่ง
เวลาเกิดอุบัติเหตุแล้วบริษัทประกันของอีกฝ่ายโทรมาเรียกเก็บค่าซ่อม ใครไม่เคยเจอก็อาจจะคิดว่า “ก็แค่จ่ายไปสิ” แต่พอถึงเวลาจริง บางเคสค่าซ่อมอาจพุ่งไปถึงหลักแสนแบบไม่ทันตั้งตัว แถมบางคนไม่มีเงินก้อนพร้อมจ่ายทันที ก็เลยกลายเป็นคำถามยอดฮิตว่า ถ้าไม่มีเงินจ่าย ประกันเรียกค่าซ่อมแบบนี้ ผ่อนได้ไหม? แล้วจะคุยกับประกันยังไงให้ไม่โดนฟ้อง ต้องเตรียมตัวยังไงบ้างให้รอดจากสถานการณ์สุดเครียดนี้ทุกมุม มาหาคำตอบแบบไม่ต้องมโนกันในบทความนี้ดีกว่า การเลือกประกันรถยนต์ที่เข้าใจคนขับจริง ๆ เลยเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะ ประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่ให้เลือกความคุ้มครองเองได้ตามงบอย่าง insurverse ที่ช่วยให้ไม่ต้องจ่ายเบี้ยเกินจำเป็น แถมยังซื้อตรงไม่ผ่านตัวแทน ถูกจริงตั้งแต่แรก ไม่มีเงินจ่ายค่าซ่อมในทันที ทำไงดี ถ้าบริษัทประกันเรียกเก็บค่าซ่อมจากคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิด แล้วคนคนนั้นไม่มีเงินจ่ายเต็มจำนวน ไม่ต้องรีบจ่ายทันทีแบบหน้ามืดตามัว เพราะสามารถขอเจรจากับบริษัทประกันได้ตรง ๆ ว่าจะขอผ่อนจ่ายเป็นงวดได้ไหม ซึ่งประกันหลายเจ้าก็พร้อมรับฟัง ถ้ามีเหตุผลและความจริงใจที่จะจ่ายจริง วิธีนี้เรียกว่า การประนอมหนี้ คล้าย ๆ กับการตกลงกันว่า จะผ่อนเท่าไหร่ กี่งวด แล้วต้องมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบันทึกไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจตรงกัน และป้องกันปัญหาในอนาคต แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท ประกันของตัวเองช่วยอะไรได้บ้าง ในบางเคส คนที่เป็นฝ่ายผิดก็ยังมีประกันรถยนต์ของตัวเองอยู่ แบบนี้สบายใจได้ในระดับนึง เพราะประกันของเราจะเข้ามาช่วยดูแลค่าซ่อมในส่วนที่ครอบคลุมไว้ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ แต่ต้องไม่ใช่เคสที่เข้าข่ายถูกตัดสิทธิ เช่น เมาแล้วขับ หรือใช้รถผิดประเภท… Continue reading ประกันเรียกเก็บค่าซ่อม ผ่อนได้ไหม? รู้ทันทุกขั้นตอนก่อนโดนฟ้อง คุยจบ เคลียร์ได้ ไม่ต้องหนี
กรมธรรม์ คือ เอกสารสัญญาสำคัญระหว่างผู้เอาประกันกับบริษัทประกันภัย โดยจะระบุความคุ้มครองที่จะได้รับเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง