รถทุกคันถูกบังคับให้ทำ พ.ร.บ. ตามที่กฎหมายพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 กำหนดเอาไว้ เพื่อเป็นหลักประกันสำคัญที่ช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือคู่กรณี พ.ร.บ. รถยนต์ ก็พร้อมให้ความช่วยเหลือทั้งฝ่ายถูกและฝ่ายผิด แต่ถ้าถึงคราวเคราะห์รถ พ.ร.บ. ขาดโดนชน แบบนี้เราควรทำยังไงดี? ประกันที่ทำไว้ช่วยได้มั้ย ไปหาคำตอบกับ insurverse ในบทความนี้ได้เลย
การขับรถยนต์ขาดต่อ พ.ร.บ. มีผลต่อสิทธิประโยชน์ที่ผู้ขับขี่และเจ้าของรถจะได้รับ อีกทั้งยังมีโทษตามกฎหมายอีกด้วย โดยมีรายละเอียดที่ต้องรู้ ดังนี้
อันดับแรก คุณจะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้จนกว่าจะดำเนินการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ให้เรียบร้อย หากปล่อยให้ พ.ร.บ. ขาดนานเกิน 3 ปี อาจถูกพิจารณาระงับทะเบียนรถยนต์ถาวร และต้องทำเรื่องขอป้ายทะเบียนใหม่ ดังนั้นถ้ารู้ตัวว่าใกล้จะครบปีแล้วให้รีบซื้อ พ.ร.บ. เพื่อให้การต่อภาษีราบรื่นและมีความต่อเนื่องในการคุ้มครอง
ในแง่ของกฎหมาย การขับรถที่ไม่มี พ.ร.บ. หรือขาดต่อ พ.ร.บ. ถ้าเจ้าหน้าที่เรียกตรวจ ต้องระวางโทษปรับตามกฎหมาย พ.ร.บ. จราจรทางบกไม่เกิน 10,000 บาท และไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้จนกว่าจะดำเนินการต่อ พ.ร.บ. ให้เรียบร้อย ส่วนกรณีที่มี พ.ร.บ. แต่ไม่ติดป้ายตรงจุดที่เห็นได้ชัด มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
หาก พ.ร.บ. ขาดรถชนโดยที่เราเป็นฝ่ายถูก เคสนี้สามารถขอเบิกค่าเสียหายเบื้องต้นจาก พ.ร.บ. ของคู่กรณี ดังนี้
หลังจากพิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูกรับค่าเสียหายเพิ่มเติม ดังนี้
เมื่อเกิดเหตุรถชนแต่ พ.ร.บ. ขาด คุณจะไม่สามารถเบิกค่าเสียหายได้เลย แถมยังต้องรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลและค่าสินไหมทดแทนด้วยตัวเองอีก เมื่อฝ่ายคู่กรณีทำเรื่องเบิกกับ พ.ร.บ. ทางกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจะเป็นผู้จ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้เสียหาย จากนั้นก็มาไล่เก็บค่าเบี้ยพร้อมบวกเพิ่ม 20% และรวมกับค่าปรับที่ไม่ต่อ พ.ร.บ. อีกไม่เกิน 10,000 บาท กับฝ่ายผิดที่ขับรถชนแต่ พ.ร.บ. ขาด
สำหรับรถที่ขาดต่อ พ.ร.บ. แต่ประสบอุบัติเหตุ ทางกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยเปิดโอกาสให้ผู้ประสบภัยขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าสินไหมทดแทน หรือค่าปลงศพได้ทันทีโดยไม่ต้องรอ ซึ่งหลังจากที่กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยชดเชยให้แล้ว จะทำการเรียกเก็บค่าเบี้ยคืนพร้อมบวกเงินเพิ่มอีก 20% จากเจ้าของรถคันดังกล่าว
สำหรับกรณีที่ว่า พ.ร.บ. ขาด แต่ยังมีประกันภาคสมัครใจอยู่ สามารถขอเคลมกับทางประกันภัยรถยนต์ของเราได้ตามปกติ ไม่ได้มีข้อกำหนดว่าไม่รับเคลมเพราะขาด พ.ร.บ. แต่ทั้งนี้การจ่ายค่าสินไหมให้กับคู่กรณีจะเป็นเคลมจากวงเงินทุนประกันเต็ม ๆ ไม่มีหักจาก พ.ร.บ. ซึ่งจะมีผลต่อค่าเบี้ยประกันในปีถัดไป
พ.ร.บ. รถยนต์สามารถซื้อผ่านออนไลน์ได้ โดย insurverse ให้บริการซื้อ พรบ ออนไลน์ในราคาที่ถูกกว่า พร้อมคุ้มครองทันทีไม่ต้องรอนาน และรับเล่มกรมธรรม์เพื่อนำไปต่อภาษีรถยนต์ได้เลย ที่สำคัญยังมีบริการแจ้งเตือนก่อนหมดอายุอีกด้วย ใครรู้ตัวว่า พ.ร.บ. ใกล้จะหมดคลิกเข้าไปซื้อกับเราได้เลย
เรื่องของ พ.ร.บ. เป็นสิ่งที่เจ้าของรถทุกคนไม่ควรมองข้าม เพราะไม่ได้เสียสิทธิ์เฉพาะค่ารักษาพยาบาลหรือค่าสินไหมทดแทนเท่านั้น แต่ยังต้องโดนค่าปรับสูงสุดถึง 10,000 บาท หากเทียบกับค่า พ.ร.บ. ที่ต้องจ่ายต่อปีแล้วบอกเลยว่าได้ไม่คุ้มเสีย ดังนั้นอย่าปล่อยให้ล่วงเลย หาก พ.ร.บ. ใกล้หมดอายุควรรีบต่อทันที มากไปกว่านั้นประกันรถยนต์ภาคสมัครใจก็เป็นอีกทางเลือกที่ช่วยแบ่งเบาค่าใช้ให้กับคุณได้ เมื่อภัยมาก็จะได้รับความคุ้มครองทั้ง พ.ร.บ. และ ประกันรถยนต์ไปพร้อม ๆ กัน คุ้มกว่าควักเงินส่วนตัวอย่างแน่นอน
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
การทำประกันไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัย กลายเป็นเรื่องธรรมดาที่หลายคนเริ่มให้ความสำคัญมากขึ้นในยุคนี้ บางคนมีประกันหลายฉบับ บางคนทำไว้หลายบริษัท พอทำประกันไว้หลายฉบับ หลายบริษัท หลายปีติด ๆ กัน แล้วเล่มหายหรือจำไม่ได้ว่าทำไว้กับใคร ปัญหาเริ่มมาแบบไม่ทันตั้งตัว โชคดีที่ทุกวันนี้สามารถเช็คกรมธรรม์จากเลขบัตรประชาชนได้แล้ว ไม่ต้องไปขุดหาเอกสารเก่า ไม่ต้องโทรถามใครให้ยุ่ง
เวลาเกิดอุบัติเหตุแล้วบริษัทประกันของอีกฝ่ายโทรมาเรียกเก็บค่าซ่อม ใครไม่เคยเจอก็อาจจะคิดว่า “ก็แค่จ่ายไปสิ” แต่พอถึงเวลาจริง บางเคสค่าซ่อมอาจพุ่งไปถึงหลักแสนแบบไม่ทันตั้งตัว แถมบางคนไม่มีเงินก้อนพร้อมจ่ายทันที ก็เลยกลายเป็นคำถามยอดฮิตว่า ถ้าไม่มีเงินจ่าย ประกันเรียกค่าซ่อมแบบนี้ ผ่อนได้ไหม? แล้วจะคุยกับประกันยังไงให้ไม่โดนฟ้อง ต้องเตรียมตัวยังไงบ้างให้รอดจากสถานการณ์สุดเครียดนี้ทุกมุม มาหาคำตอบแบบไม่ต้องมโนกันในบทความนี้ดีกว่า การเลือกประกันรถยนต์ที่เข้าใจคนขับจริง ๆ เลยเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะ ประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่ให้เลือกความคุ้มครองเองได้ตามงบอย่าง insurverse ที่ช่วยให้ไม่ต้องจ่ายเบี้ยเกินจำเป็น แถมยังซื้อตรงไม่ผ่านตัวแทน ถูกจริงตั้งแต่แรก ไม่มีเงินจ่ายค่าซ่อมในทันที ทำไงดี ถ้าบริษัทประกันเรียกเก็บค่าซ่อมจากคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิด แล้วคนคนนั้นไม่มีเงินจ่ายเต็มจำนวน ไม่ต้องรีบจ่ายทันทีแบบหน้ามืดตามัว เพราะสามารถขอเจรจากับบริษัทประกันได้ตรง ๆ ว่าจะขอผ่อนจ่ายเป็นงวดได้ไหม ซึ่งประกันหลายเจ้าก็พร้อมรับฟัง ถ้ามีเหตุผลและความจริงใจที่จะจ่ายจริง วิธีนี้เรียกว่า การประนอมหนี้ คล้าย ๆ กับการตกลงกันว่า จะผ่อนเท่าไหร่ กี่งวด แล้วต้องมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบันทึกไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจตรงกัน และป้องกันปัญหาในอนาคต แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท ประกันของตัวเองช่วยอะไรได้บ้าง ในบางเคส คนที่เป็นฝ่ายผิดก็ยังมีประกันรถยนต์ของตัวเองอยู่ แบบนี้สบายใจได้ในระดับนึง เพราะประกันของเราจะเข้ามาช่วยดูแลค่าซ่อมในส่วนที่ครอบคลุมไว้ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ แต่ต้องไม่ใช่เคสที่เข้าข่ายถูกตัดสิทธิ เช่น เมาแล้วขับ หรือใช้รถผิดประเภท… Continue reading ประกันเรียกเก็บค่าซ่อม ผ่อนได้ไหม? รู้ทันทุกขั้นตอนก่อนโดนฟ้อง คุยจบ เคลียร์ได้ ไม่ต้องหนี
กรมธรรม์ คือ เอกสารสัญญาสำคัญระหว่างผู้เอาประกันกับบริษัทประกันภัย โดยจะระบุความคุ้มครองที่จะได้รับเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง