vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
ภาษีรถยนต์ขาดประกันรับผิดชอบไหม เคสไหนบ้างที่ไม่รับเคลม

ภาษีรถยนต์ขาดประกันรับผิดชอบไหม เคสไหนบ้างที่ไม่รับเคลม

schedule
share

การเสียภาษีเป็นหน้าที่สำหรับผู้ใช้รถยนต์ทุกคัน ต้องเสียให้ทางภาครัฐเพื่อนำงบประมาณเหล่านี้ไปใช้ในการพัฒนาเส้นทางเดินรถทั่วประเทศ โดยจะต้องเสียภาษีเพื่อต่ออายุทะเบียนรถยนต์ทุกปี มีหลายคนตั้งคำถามว่าถ้าเกิดภาษีรถยนต์ขาดประกันรับผิดชอบไหม เพราะบางครั้งเราอาจจะยังไม่มีเวลาไปต่อภาษีตามเวลาที่กำหนดได้ทันเวลาจริงๆ วันนี้ insurverse จะมาอธิบายเคสนี้ให้ฟังว่าประกันรถยนต์สามารถช่วยเหลืออะไรได้บ้าง และมีเคสแบบไหนที่ประกันไม่รับเคลม

ภาษีรถยนต์สำคัญยังไง

ภาษีรถยนต์เป็นภาษีที่เจ้าของรถต้องจ่ายให้กับกรมการขนส่งทางบกทุกปีตามข้อบังคับของกฎหมาย พ.ร.บ. จราจรทางบก โดยใช้หลักเกณฑ์ในการคำนวณอัตราภาษีจากความจุของเครื่องยนต์ น้ำหนักรถ และอายุของรถ เมื่อรถยนต์ที่ชำระภาษีเรียบร้อยจะได้รับเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีหรือป้ายสี่เหลี่ยม เจ้าของรถต้องเอามาติดที่กระจกหน้าตลอดเวลา หากปล่อยให้รถทะเบียนขาดต่อภาษีจะมีอัตราโทษปรับ 1% ของภาษีที่ต้องเสียต่อเดือน และถ้าถูกเจ้าหน้าที่เรียกตรวจมีโทษปรับสูงถึง 20,000 บาท เพื่อไม่เกิดปัญหาทะเบียนขาด insurverse แนะนำว่าควรต่อล่วงหน้า 3 เดือนหรือ 90 วันไปเลย เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

ภาษีรถยนต์ขาดประกันรับผิดชอบไหม

แม้ว่ารถยนต์จะมีปัญหาทะเบียนขาดต่อภาษี แต่ก็ยังให้ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ได้ 100% ตามเดิม เพราะทางบริษัทประกันจะยึดถือแค่ความถูกต้องระหว่างตัวรถคันที่เอาประกันกับรายละเอียดตามเอกสาร เช่น หมายเลขทะเบียน หมายเลขเครื่อง หมายเลขตัวถัง สีและอุปกรณ์ต่างๆ หากรายละเอียดตรงส่วนนี้ครบถ้วนก็ถือว่าใช้ได้ ดังนั้นเรื่องของภาษีไม่มีผลใดๆ ต่อการเคลมประกัน

พ.ร.บ. ขาดประกันจ่ายไหม

กรณีไหนบ้างที่ประกันไม่รับเคลม

พ.ร.บ. ขาด แต่ประกันภาคสมัครใจยังใช้ได้อยู่ก็สามารถเคลมค่ารักษาพยาบาลและประกันอุบัติเหตุได้ตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ แต่การขาดต่อ พ.ร.บ. ถือว่าผิดกฎหมาย พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ทำให้เสียภาษีรถยนต์ไม่ได้ หากถูกเจ้าหน้าที่เรียกตรวจมีโทษปรับสูงสุด 10,000 บาท แม้ว่าจะมีประกันรถยนต์แต่เพื่อความถูกต้องของกฎหมายควรต่ออายุ พ.ร.บ. ให้ทุกครั้งเมื่อครบกำหนด

กรณีไหนบ้างที่ประกันไม่รับเคลม

กรณีไหนบ้างที่ประกันไม่รับเคลม

ประกันรถยนต์ให้ความคุ้มครองในกรณีรถขาดต่อภาษีได้ก็จริง แต่ก็ยังคงมีอยู่หลายกรณีที่ประกันสามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ หากปัญหาที่ผู้เอาประกันภัยพบเจอไม่ได้อยู่เงื่อนไขของกรมธรรม์ โดยมีกรณีดังต่อไปนี้

1.ไม่มีใบขับขี่

ในกรณีที่ผู้ขับไม่มีใบขับขี่และไม่เคยเข้ารับการสอบหรืออบรมใบขับขี่ ประกันจะไม่รับผิดชอบความเสียหายทุกกรณี โดยจะชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นต่อตัวบุคคลแทน แต่ถ้ามีใบขับขี่หมดอายุกรณีนี้ยังได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขเหมือนเดิม ขอแค่มีใบขับขี่หรือหลักฐานยืนยันก็สามารถใช้เคลมได้

2.เมาแล้วขับ

ผู้ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ตามเงื่อนไขของกรมธรรม์จะไม่คุ้มครองและชดเชยความเสียหายใดๆ เพราะถือว่าผู้เอาประกันภัยเมาแล้วขับ นอกจากนั้นยังต้องระวางโทษทางกฎหมาย จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกพักใช้ใบอนุญาตไม่น้อยกว่า 6 เดือน 

3.ใช้รถผิดกฎหมาย

การนำรถไปใช้ในกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย เช่น การโจรกรรม ขนส่งยาเสพติด ขนอาวุธเถื่อน ใช้ก่อคดีฆาตรกรรม จะไม่ได้รับความคุ้มครองหรือชดเชยความเสียหายทุกกรณีตามเงื่อนไขที่กำหนดในกรมธรรม์

4.ดัดแปลงสภาพรถเพื่อการแข่งขัน

การดัดแปลงสภาพรถเพื่อการแข่งขัน รวมถึงการดัดแปลงโดยไม่ได้แจ้งกับทางบริษัทประกัน จะไม่ได้รับความคุ้มครองหรือชดเชยความเสียหายทุกกรณี ยกเว้นการดัดแปลงเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพในการขับเคลื่อนของรถ เช่น ยางรถยนต์ ระบบเบรก และโช้ค สามารถแจ้งให้ประกันทราบได้

5.ความเสียหายจากสงครามและเหตุก่อการร้าย

กรณีเกิดภาวะสงคราม หรือเหตุก่อการร้าย ทางบริษัทประกันจะไม่รับชอบความเสียหาย เช่น รถโดนวางระเบิด รถโดนกราดยิง โดนสารกัมมันตรังสีจากอาวุธ เป็นต้น

6.อุบัติเหตุจากการบรรทุกน้ำหนักเกิน

ความเสียหายของรถที่มาจากการบรรทุกน้ำหนักเกินกำหนดจะไม่ได้รับความคุ้มครองทุกกรณี ตามข้อบังคับจาก คปภ.

7.ใช้รถผิดประเภท

การใช้รถยนต์ผิดประเภทจากรถยนต์นั่งส่วนบุคคล เอาไปประกอบกิจกรรมเชิงพาณิชย์ เช่น แท็กซี่ รถขนสินค้า รถไม่ประจำทาง แบบนี้ทางประกันจะไม่รับผิดชอบ เพราะถือว่าใช้รถยนต์ไม่ถูกประเภทตามที่ระบุรายละเอียดในเอกสารกรมธรรม์

8.ตั้งใจให้เกิดอุบัติเหตุ

การตั้งใจให้เกิดอุบัติเหตุเพื่อหวังเงินชดเชย เช่น นำรถไปชนกำแพง เอารถไปชนกับรถคนรู้จัก ตั้งใจชนคน หากทางบริษัทประกันสามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองหรือชดเชยความเสียหายตามเงื่อนไข และอาจถูกดำเนินคดีตามมาตรา 358 ฐานทำให้เสียทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สรุปเกี่ยวกับภาษีรถยนต์ขาดประกันรับผิดชอบไหม

สรุปเกี่ยวกับภาษีรถยนต์ขาดประกันรับผิดชอบไหม

มาถึงตรงนี้คงเข้าใจกันแล้วว่ารถทะเบียนขาด ประกันจ่ายไหม และรับผิดชอบยังไงบ้าง แต่ถ้าให้ดีขอแนะนำว่าควรทำทุกอย่างให้ถูกต้องตามกฎหมาย ชำระค่าภาษีและต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ตามกำหนดทุกปี เพื่อสิทธิประโยชน์ของตัวคุณเองและไม่ต้องกังวลเรื่องการถูกเรียกตรวจจากเจ้าหน้าที่อีกด้วย ใครกำลังมองหาประกันรถยนต์ออนไลน์ ที่ตอบโจทย์ได้ทุกไลฟ์สไตล์ insurverse พร้อมให้บริการขับขี่แบบไหนก็อุ่นใจได้ด้วยความคุ้มครองที่ชัวร์กว่า

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย