ผู้ใช้รถคนทุกคนย่อมรู้กันดีว่า การจอดรถในที่ห้ามจอดนั้นผิดกฎหมาย และอาจโดนโทษปรับตามา แต่ยังมีอีกหนึ่งเรื่องที่หลายคนน่าจะสงสัย ก็คือ หากรถจอดอยู่แล้วโดนชนใครผิด ยิ่งถ้าเป็นการจอดรถในที่ห้ามจอดแล้วโดนชน แบบนี้ประกันภัยรถยนต์ที่ทำเอาไว้ จะให้ความคุ้มครองไหม เดี๋ยววันนี้ insurverse จะมาตอบข้อสงสัยนี้ให้ทุกคนเอง
การจอดรถในที่ห้ามจอดที่ผิดกฎหมาย จะอิงจาก พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ที่มีการห้ามผู้ใช้รถจอดในพื้นที่ ดังต่อไปนี้
การจอดรถในที่ห้ามจอด ผิดมาตรา 57 ตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ที่ห้ามผู้ใช้รถจอดในพื้นที่ที่อาจก่อให้เกิดอันตราย หรือกีดขวางการจราจรจนเป็นปัญหาในการสัญจรให้กับผู้อื่น
การจอดรถในที่ห้ามจอด จะมีโทษปรับที่ไม่เกิน 500 บาท ไม่ว่าจะเป็นฐานความผิดไหน แต่หากมีการทำผิดกฎหมายจราจรข้ออื่นร่วมด้วย ก็อาจจะโดนโทษปรับที่เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน
ในกรณีที่รถจอดอยู่แล้วโดนชน ผู้ที่ขับมาชนจะเป็นฝ่ายผิดฐานขับขี่ด้วยความประมาท เพราะถือว่าไม่ระมัดระวังในการขับขี่ ถึงแม้ว่าการจอดรถในที่ห้ามจอดจะผิดกฎหมายก็ตาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ารถคันอื่นมีสิทธิ์ขับมาชน
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็จะมีการพิจารณาจากข้อสังเกตอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ลักษณะการจอดของรถคันที่ถูกชนว่า จอดในมุมอับสายตา หรือกีดขวางการจราจรหรือไม่ ประกอบกับหลักฐานจากกล้องวงจรปิดว่าใครเป็นฝ่ายผิดให้แน่ชัด และทางเจ้าของรถที่จอดในที่ห้ามจอด ก็จะต้องชดใช้ในกรณีที่มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุด้วยเช่นกัน
จอดรถในที่ห้ามจอดแล้วโดนชน ประกันยังคงให้ความคุ้มครองอย่างแน่นอน เพราะตามข้อกฎหมายแล้ว คู่กรณีที่ขับมาจนจะเป็นฝ่ายผิด ซึ่งทางบริษัทประกันที่เราทำเอาไว้ จะไปเรียกร้องค่าเสียหายจากคู่กรณีให้เอง
หากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเป็นการชนแล้วหนี ประกันรถยนต์ชั้น 1 เท่านั้นที่จะให้ความคุ้มครองแบบไม่มีคู่กรณีในเหตุการณ์นี้ หากเป็นประกันชั้นอื่น อาจจะต้องตามเรื่องกันให้วุ่นวาย จากการขอภาพจากกล้องวงจรปิด และพยานหลักฐานต่าง ๆ เพื่อตามตัวคู่กรณีมาชดใช้ค่าเสียหาย
เมื่อรู้กันไปแล้วว่า การจอดรถในที่ห้ามจอดมันผิดกฎหมายอย่างไร ทีนี้เราจะพามาดูกันต่อว่า หากต้องการใช้รถใช้ถนนอย่างถูกกฎหมาย จะต้องจอดแบบไหนถึงจะถูกต้อง มาดูกัน
การจอดในช่องจอดรถ ที่ถูกตีเส้นขึ้นมาไว้สำหรับจอดโดยเฉพาะ คือการจอดที่ถูกต้องตามกฎหมายในสถานที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นลานจอดรถของบริษัท สำนักงาน โรงแรม โรงพยาบาล หรืออาคารต่าง ๆ เพราะเป็นช่องจอดที่ถูกกำหนดไว้แล้วว่าไม่รบกวนการเดินรถในพื้นที่นั้น
หากต้องการจอดซ้อนคัน ไม่ว่าจะเป็นในห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล หรือสถานที่อะไรก็ตาม ที่มีการทำสถานที่ไว้จอดรถ ควรเข้าเกียร์ N หรือที่เราเรียกกันว่าเกียร์ว่างไว้เสมอ โดยไม่ดึงเบรกมือขึ้นเด็ดขาด เพื่อให้รถคันที่จอดในช่อง สามารถเข็นรถเราให้เปิดทางในการขับออกจากช่องได้
การจอดในช่องเดินรถ หรือริมฟุตพาท จะต้องจอดชิดที่เลนซ้ายสุดให้ขนานกับขอบทางในระยะไม่เกิน 25 เซนติเมตร และต้องเป็นขอบทางที่ทาสีขาวดำเท่านั้น เพราะหากเป็นสีขาวเหลือง จะจอดได้ในกรณีรับส่งเท่านั้น และขาวแดงก็คือห้ามจอดแบบที่เรารู้กันดี ส่วนกรณีที่เกิดอุบัติเหตุรถชน หรือรถเกิดเสียขึ้นมากะทันหัน กฎหมายอนุโลมให้สามารถจอดข้างทาง และเปิดไฟผ่าหมากส่งสัญญาณเตือนผู้สัญจรรายอื่นได้
การจอดรถบนทางลาดชัน ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยว หรือภายใต้อาคารต่าง ๆ ก็สามารถจอดได้อย่างไม่ผิดกฎหมาย เพียงแต่ต้องจอดอย่างถูกต้อง และปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ด้วยการจอดให้ชิดขอบทาง หักล้อไปทางด้านข้าง และดึงเบรกมือขึ้นเสมอ เพื่อป้องกันไม่ไห้รถเคลื่อนที่เกิดอันตราย และควรนำหินไปขัดไว้ที่ล้อด้วยเช่นกัน
ถึงแม้ว่าการจอดรถในที่ห้ามจอดจะผิดกฎหมาย และเป็นสิ่งที่ผู้ใช้รถไม่ควรทำก็ตาม แต่การจอดรถในที่ห้ามจอดแล้วโดนชน ก็ยังไม่ใช่ข้ออ้างที่ผู้ขับมาชนจะใช้เพื่อหลีกหนีความผิดได้ รวมไปถึงความคุ้มครองจากประกันรถยนต์ ที่ยังได้อยู่เหมือนเดิม และหากคุณกำลังมองหาประกันรถยนต์ราคาสมเหตุสมผล ปรับแต่งกรมธรรม์ได้อย่างอิสระ อยากทำเมื่อไหร่ ก็ทำได้ตลอด 24 ชม. ต้องที่ insurverse เท่านั้น เพราะเราคือประกันออนไลน์เจ้าแรกในไทย ภายใต้เครือทิพยประกันภัย
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
รู้ความหมายของป้ายจราจรทั้งหมดเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ ป้ายจราจรทั้งหมดพร้อมความหมาย ช่วยลดอันตราการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน
รู้สึกเหมือนรถโดนดึงเวลาขับอาจเป็นเพราะไฟเบรคค้างอย่าปล่อยไว้นาน พบสาเหตุและวิธีแก้ปัญหาก่อนใครในบทความนี้
เปิดวาร์ปเรื่องน่ารู้ ท่อไอเสียสำหรับรถยนต์ มีแบบไหนบ้าง สำคัญต่อรถยนต์ยังไง ราคาท่อไอเสียรถยนต์ทั้งเส้นเท่าไหร่? มาเช็คกันเลยค่ะ