ป้ายจราจรทั้งหมด หรือ Traffic Sign คือ เครื่องหมายสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้รถใช้ถนนและควบคุมการจราจรบนท้องถนนเพื่อให้ทุกคนปฏิบัติตามกัน โดยจะติดตั้งอยู่ตามบริเวณต่างๆ ในเขตทางหลวงเพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งสัญลักษณ์จราจรทั้งหมดจะมีความหมายที่แตกต่างกันออกไป insurverse จึงได้รวบรวมป้ายจราจรทั้งหมดพร้อมความหมายที่จำเป็นต้องรู้มาบอกกัน ทุกคนจะได้ขับรถอย่างถูกต้อง เกิดความเป็นระเบียบและเกิดความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนร่วมกัน ไม่เสี่ยงต้องเคลมประกันรถยนต์! นอกจากนี้ป้ายจราจรทั้งหมดพร้อมความหมายยังเกี่ยวเนื่องกับข้อบังคับทางกฎหมายด้วยนะคะ ถ้าหากไม่ปฏิบัติตามจะมีโทษปรับตามกฎหมายกำหนด ซึ่งโทษจะมากหรือน้อย จะโดนใบสั่งค่าปรับจราจรกันเท่าไหร่ก็จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละกรณีความผิด บอกเลยว่าไม่ได้มีแค่โทษปรับเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีโทษทั้งจำทั้งปรับด้วย แล้วสัญลักษณ์จราจรบนถนนและเครื่องหมายจราจรทั้งหมดที่ควรรู้มีอะไรบ้าง? มีทั้งหมดกี่ประเภท? insurverse จะพาไปดูเองค่ะ
สารบัญบทความ
เวลาที่คุณใช้รถใช้ถนนจะเห็นป้ายจราจรทั้งหมดที่แตกต่างกันออกไป เช่น ป้ายสัญลักษณ์จราจรสามเหลี่ยม, เครื่องหมายจราจรสีน้ำเงินหรือป้ายจราจรสีฟ้า เป็นต้น ซึ่งความหมายป้ายจราจรแต่ละประเภทจะแตกต่างกัน มีไว้ช่วยอำนวยความสะดวกและควบคุมการจราจรแบบ Case by case ตามมาตรฐานสากล เพื่อความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ป้ายจราจรมีกี่ประเภทจำแนกอย่างไร? ป้ายจราจรพร้อมความหมายต่างๆ หมายความว่าอย่างไร? ตามมาดูข้อมูลป้ายจราจรทั้งหมด 3 ประเภทกับ insurverse กันได้เลยค่ะ
ป้ายจราจรทั้งหมดประเภทที่ 1 คือ เครื่องหมายจราจรประเภทป้ายบังคับ หรือ Regulatory Signs ความหมายป้ายจราจรประเภทนี้ มีจุดประสงค์ในการควบคุมและบังคับ คุณจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามป้ายจราจรทั้งหมดอย่างเคร่งครัด! ห้ามฝ่าฝืนเพราะจะมีโทษทางกฎหมาย ซึ่งป้ายประเภทบังคับนั้นจะแยกย่อยออกมาอีก ถามว่าป้ายจราจรมีกี่ประเภท สำหรับประเภทที่ 1 ก็จะมีตามนี้เลยค่ะ
สำหรับลักษณะสัญลักษณ์จราจรบนถนนจะเป็นป้ายทรงกลม มีส่วนประกอบของสัญลักษณ์ต่างๆ, เครื่องหมาย, ตัวเลขและตัวอักษรอยู่ภายในป้าย ซึ่งสีป้ายจราจรทั้งหมดจะประกอบไปด้วย สีดำ, สีขาวและสีแดง ยกเว้นป้ายบังคับ 5 ประเภท ที่จะมีลักษณะแตกต่างออกไปเล็กน้อย ดังนี้ค่ะ
เหตุผลที่ต้องมีเครื่องหมายจราจรประเภทป้ายบังคับและเครื่องหมายจราจรทั้งหมด ก็เพื่อความปลอดภัยของทุกคนที่ใช้รถใช้ถนนนั่นเองค่ะ หากไม่ปฏิบัติตาม อาจจะก่อให้เกิดความวุ่นวายบนท้องถนนและเกิดเหตุร้ายแรงอย่างการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนขึ้นมาจากสาเหตุการทำผิดกฎจราจรนั่นเองค่ะ ถ้าทุกคนเคารพและปฏิบัติตามป้ายจราจรทั้งหมดอย่างเคร่งครัด ก็จะเป็นการเพิ่มความปลอดภัยและเกิดความเป็นระเบียบของการจราจรมากขึ้น เพียงแค่เพิ่มวินัยจราจรและใช้รถใช้ถนนร่วมกันอย่างระมัดระวัง เพียงเท่านี้ก็ลดการเกิดอุบัติเหตุและช่วยให้การเดินทางสะดวกมากขึ้นแล้วค่ะ
ป้ายจราจรทั้งหมดประเภทที่ 2 คือ เครื่องหมายจราจรประเภทป้ายเตือน หรือ Warning Signs มีจุดประสงค์ในการเตือนภัย เพื่อบอกข้อมูลที่เส้นทางข้างหน้าว่าอาจมีอันตรายหรือต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ สามารถพบเห็นได้บ่อยตามเส้นทางที่เป็นป่าเขาหรือเส้นทางที่อาจจะเป็นอันตรายต่อผู้ขับขี่ที่ไม่ชำนาญทางค่ะ ทั้งนี้ป้ายประเภทนี้มีไว้สำหรับป้องกันความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ดังนั้นเมื่อมองเห็นป้ายประเภทนี้แล้ว แนะนำให้เพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่พร้อมกับลดความเร็วรถลงทันทีเลยนะคะ เช่น ป้ายทางโค้งรัศมีแคบเลี้ยวซ้าย, ป้ายทางคดเคี้ยวเริ่มขวา, ป้ายวงเวียนข้างหน้า, ป้ายเตือนสะพานแคบและป้ายทางแคบลงทั้งสองด้าน เป็นต้น
เครื่องหมายจราจรทั้งหมดของป้ายประเภทนี้ จะมีลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสตั้งมุม คล้ายสัญลักษณ์จราจรสามเหลี่ยมสีเหลืองสะท้อนแสงหรือสีส้ม เพื่อให้ง่ายต่อการมองเห็น นอกจากนี้ป้ายจราจรทั้งหมดประเภทนี้ ยังสามารถพบเห็นได้บ่อยบริเวณทางโค้ง, ทางแยก, จุดแสดงไฟจราจร, ทางลาดชัน, บริเวณที่ผิวถนนไม่ปกติ, มีสิ่งกีดขวางและมีเส้นทางรถไฟผ่าน เป็นต้นค่ะ
ป้ายจราจรทั้งหมดประเภทที่ 3 คือ เครื่องหมายจราจรป้ายแนะนำ หรือ Guide Signs มีจุดประสงค์เพื่อเป็นประโยชน์และอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้กับผู้ขับขี่ ช่วยให้การเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ทำได้ง่ายขึ้น เช่น ป้ายบอกระยะทาง, ป้ายบอกสถานที่, ป้ายแสดงจุดกลับรถ, ป้ายสิ้นสุดทางด่วนและป้ายแสดงสถานีตรวจสอบน้ำหนัก เป็นต้นค่ะ ซึ่งป้ายจราจรพร้อมความหมายประเภทนี้จะแยกออกเป็น 2 ประเภท ประกอบไปด้วยป้ายแนะนำทั่วไป หรือ Guide Sign-Conventional Highways และป้ายแนะนำบนทางหลวงพิเศษ หรือ Guide Sign-Freeways and Expressways ใช้เป็นเครื่องหมายจราจรสีน้ำเงินหรือสีขาว ป้ายจราจรทั้งหมดของประเภทนี้ จะถูกแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้ค่ะ
ป้ายจราจรสีฟ้า คือ เครื่องหมายจราจรที่เป็นประโยชน์ต่อการเดินทาง ย้อนกลับไปในขณะที่ยังไม่มี GPS เหมือนปัจจุบัน การเดินทางจะใช้ป้ายจราจรสีฟ้าเป็นตัวช่วยในการเดินทางไปยังที่หมาย ป้ายจราจรทั้งหมดจะมีข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ในเชิงให้ความรู้และข่าวสารรวมถึงบริการ จึงต้องใช้สีที่โดดเด่นและสะดุดตา ทำให้ง่ายต่อการมองเห็นระหว่างใช้รถใช้ถนน ป้ายจราจรทั้งหมดจะพบเจอได้บ่อยบนทางหลวงสัมปทาน, ถนนเขตในเมือง, ทางหลวงพิเศษและทางด่วนของแต่ละพื้นที่ เช่น ป้ายฉุกเฉิน SOS, ป้ายร้านอาหาร, ป้ายแสดงการให้บริการสุขา, ป้ายแสดงบริการ Wi-Fi และ Internet, ป้ายแสดงสถานีบริการน้ำมันและป้ายแสดงการให้บริการร้านสะดวกซื้อ เป็นต้นค่ะ ป้ายจราจรสีฟ้ารูปทรงสี่เหลี่ยมมีขนาดใหญ่ ต่างจากสัญลักษณ์จราจรสามเหลี่ยมซึ่งเป็นป้ายเตือนในการใช้รถใช้ถนน
ถ้าหากคุณเป็นอีก 1 คนที่ใช้รถใช้ถนน เรื่องป้ายจราจรทั้งหมดต้องให้ความสำคัญ ควรศึกษาทำความเข้าใจและเรียนรู้ความหมายของสัญลักษณ์จราจรทั้งหมดจะได้ขับขี่ปลอดภัยมากขึ้น นอกจากนี้ยังต้องใส่ใจเกี่ยวกับเทคนิคการขับขี่ที่ปลอดภัยและไม่ผิดกฎจราจร มีสติรู้ตัวอยู่เสมอขับรถโดยไม่ประมาทเพื่อป้องกันความเสี่ยงทุกรูปแบบที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการขับรถ รวมทั้งอย่ามองว่าอุบัติเหตุเป็นเรื่องไกลตัว ถ้าขับขี่รถต้องเสริมตัวช่วยป้องกันภัยด้วย ตรวจเช็คว่ามีประกันรถยนต์ชั้น 1 ติดรถแล้วหรือยัง? หากยังไม่มีหรือใกล้หมดอายุแล้วนะคะ แนะนำเช็คเบี้ยประกันรถยนต์ insurverse ได้เลยนะคะ จะเส้นทางใกล้หรือไกลก็อุ่นใจทุกเวลายิ่งกว่าเดิม เดินทางปลอดภัยได้ทุกที่ ชีวิตอุ่นใจไปกับแผนประกันที่ราคาคุ้มค่า! รองรับทุกความเสี่ยงอย่างครอบคลุม ช่วยรับมือกับทุกสถานการณ์ได้เป็นอย่างดี สามารถผ่อนหนักเป็นเบาได้จริงในทุกค่าใช้จ่ายจากอุบัติเหตุ ที่สำคัญทำประกันได้ง่าย! ทำผ่านออนไลน์ได้เลย! ตอบโจทย์ชีวิตยุคดิจิทัล! พร้อมดูแลคุ้มครองแม้เกิดเหตุฉุกเฉิน หากมีปัญหาเมื่อไหร่ก็ติดต่อขอความช่วยเหลือกับ insurverse ได้ตลอด 24 ชั่วโมงเลยค่ะ! ดีแบบนี้ต้องมีแล้วไหม? กับประกันที่ดีที่สุดที่คู่ควรติดรถคุณ!
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
เคลมสีรอบคันคืออะไร เสียค่า Excess จริงหรือไม่ หาคำตอบได้ในบทความนี้ พร้อมแนะนำประกันชั้น 1 ที่ให้ผู้ขับขี่ทุก Gen เคลมรอบคันได้ไวชัวร์จากอู่ชั้นนำทั่วประเทศ
เราสามารถเคลมประกันรถยนต์ชั้น 1 แบบไม่มีคู่กรณีได้ไหม คำตอบคือแจ้งเคลมได้ มีเคสไหนบ้างที่สามารถเคลมประกันชั้น 1 ได้ ลองอ่านบทความเรื่องนี้ดูได้เลย
ต่ออายุประกันรถยนต์ เลือกยังไงให้คุ้มค่า ประหยัดค่าใช้จ่าย ชวนอ่านข้อควรรู้และระวังเพื่อต่อประกันรถยนต์ให้คุ้มค่าที่สุด ก่อนประกันรถยนต์หมดอายุ