แบตเตอรี่รถยนต์เป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าที่สำคัญสำหรับรถยนต์ เพราะใช้ในการสตาร์ทเครื่องยนต์และจ่ายกระแสไฟให้กับระบบไฟฟ้าภายในรถ เช่น ระบบไฟ ระบบเครื่องเสียง เครื่องปรับอากาศ และอุปกรณ์อื่น ๆ โดยหลักการทำงานของแบตเตอรี่คือการกักเก็บพลังงานในรูปแบบเคมีและแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าเมื่อต้องการใช้งาน โดยมีขั้วแบตเตอรี่บวกและลบในการเชื่อมต่อไปยังแผงวงจรเพื่อให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้รับกระแสไฟฟ้า
แบตเตอรี่รถยนต์จะมีขั้วด้วยกันสองขั้ว ซึ่งเรียกว่า ขั้วบวกและขั้วลบ ห้ามใส่สลับขั้วแบตเตอรี่เป็นอันขาด โดยขั้วบวกทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังระบบของรถ ในขณะที่ขั้วลบจะทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมต่อวงจรเพื่อให้อุปกรณ์ในรถได้รับกระแสไฟฟ้า ขั้วแบตเตอรี่บวกและลบมีความสำคัญมากในการต่อเพื่อใช้งาน เพราะหากเชื่อมขั้วไม่ถูกต้องอาจทำให้ระบบไฟฟ้าของรถเสียหายได้
โดยทั่วไปขั้วบวกมักจะถูกทำเครื่องหมายด้วยเครื่องหมายบวก ในขณะที่ขั้วลบจะแสดงเป็นเครื่องหมายลบ ผู้ขับขี่ควรทราบและระวังในการต่อขั้วแบตเตอรี่ให้ถูกต้องเสมอเพื่อความปลอดภัย
การดูขั้วแบตเตอรี่บวกและลบนั้นง่ายมาก โดยสามารถสังเกตได้จากสีและเครื่องหมายบนขั้วแบตเตอรี่ รวมถึงบ้างคนอาจจะสงสัยว่า ขั้วแบตเตอรี่ แดง ดํา คืออะไรมาดูกันเลย
นอกจากเครื่องหมายที่ขั้วแล้วผู้ใช้รถยังสามารถดูจากสายไฟที่เชื่อมต่อได้ สายไฟขั้วบวกจะเชื่อมไปยังระบบไฟของรถและมักจะมีปลอกหุ้มพลาสติกสีแดงหุ้มที่ปลายสายเสมอ ขณะที่สายขั้วลบจะเชื่อมกับตัวถังหรือส่วนที่เป็นโลหะของรถ การตรวจเช็กสัญลักษณ์นี้สำคัญเมื่อเราต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่หรือเชื่อมต่อสายไฟกับอุปกรณ์อื่น ๆ
การเชื่อมต่อขั้วแบตเตอรี่ มีข้อควรระวังเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาต่อระบบไฟฟ้าและเพื่อความปลอดภัย
แบตเตอรี่รถยนต์ถือเป็นส่วนประกอบของรถประเภทสิ้นเปลือง เพราะมีระยะเวลาและอายุที่จำกัดในการใช้งาน หากใช้งานไปนาน ๆ อาจทำให้เกิดปัญหากับขั้วแบตเตอรี่ได้ ปัญหาหลักที่พบได้บ่อยประกอบไปด้วย
ขั้วแบตเตอรี่ บวกและลบเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยในการจ่ายกระแสไฟให้กับระบบไฟฟ้าภายในรถยนต์ การเชื่อมต่อขั้วแบตเตอรี่ที่ถูกต้องจะช่วยให้การทำงานของระบบไฟฟ้าในรถเป็นไปอย่างเสถียรและปลอดภัย การตรวจสอบและทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการตรวจสอบระดับน้ำกลั่น จะช่วยยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ และลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาขณะขับขี่ ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้ การทำประกันรถยนต์ก็จะช่วยทำให้คุณอุ่นใจได้มากขึ้น หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
การทำประกันไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัย กลายเป็นเรื่องธรรมดาที่หลายคนเริ่มให้ความสำคัญมากขึ้นในยุคนี้ บางคนมีประกันหลายฉบับ บางคนทำไว้หลายบริษัท พอทำประกันไว้หลายฉบับ หลายบริษัท หลายปีติด ๆ กัน แล้วเล่มหายหรือจำไม่ได้ว่าทำไว้กับใคร ปัญหาเริ่มมาแบบไม่ทันตั้งตัว โชคดีที่ทุกวันนี้สามารถเช็คกรมธรรม์จากเลขบัตรประชาชนได้แล้ว ไม่ต้องไปขุดหาเอกสารเก่า ไม่ต้องโทรถามใครให้ยุ่ง
เวลาเกิดอุบัติเหตุแล้วบริษัทประกันของอีกฝ่ายโทรมาเรียกเก็บค่าซ่อม ใครไม่เคยเจอก็อาจจะคิดว่า “ก็แค่จ่ายไปสิ” แต่พอถึงเวลาจริง บางเคสค่าซ่อมอาจพุ่งไปถึงหลักแสนแบบไม่ทันตั้งตัว แถมบางคนไม่มีเงินก้อนพร้อมจ่ายทันที ก็เลยกลายเป็นคำถามยอดฮิตว่า ถ้าไม่มีเงินจ่าย ประกันเรียกค่าซ่อมแบบนี้ ผ่อนได้ไหม? แล้วจะคุยกับประกันยังไงให้ไม่โดนฟ้อง ต้องเตรียมตัวยังไงบ้างให้รอดจากสถานการณ์สุดเครียดนี้ทุกมุม มาหาคำตอบแบบไม่ต้องมโนกันในบทความนี้ดีกว่า การเลือกประกันรถยนต์ที่เข้าใจคนขับจริง ๆ เลยเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะ ประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่ให้เลือกความคุ้มครองเองได้ตามงบอย่าง insurverse ที่ช่วยให้ไม่ต้องจ่ายเบี้ยเกินจำเป็น แถมยังซื้อตรงไม่ผ่านตัวแทน ถูกจริงตั้งแต่แรก ไม่มีเงินจ่ายค่าซ่อมในทันที ทำไงดี ถ้าบริษัทประกันเรียกเก็บค่าซ่อมจากคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิด แล้วคนคนนั้นไม่มีเงินจ่ายเต็มจำนวน ไม่ต้องรีบจ่ายทันทีแบบหน้ามืดตามัว เพราะสามารถขอเจรจากับบริษัทประกันได้ตรง ๆ ว่าจะขอผ่อนจ่ายเป็นงวดได้ไหม ซึ่งประกันหลายเจ้าก็พร้อมรับฟัง ถ้ามีเหตุผลและความจริงใจที่จะจ่ายจริง วิธีนี้เรียกว่า การประนอมหนี้ คล้าย ๆ กับการตกลงกันว่า จะผ่อนเท่าไหร่ กี่งวด แล้วต้องมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบันทึกไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจตรงกัน และป้องกันปัญหาในอนาคต แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท ประกันของตัวเองช่วยอะไรได้บ้าง ในบางเคส คนที่เป็นฝ่ายผิดก็ยังมีประกันรถยนต์ของตัวเองอยู่ แบบนี้สบายใจได้ในระดับนึง เพราะประกันของเราจะเข้ามาช่วยดูแลค่าซ่อมในส่วนที่ครอบคลุมไว้ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ แต่ต้องไม่ใช่เคสที่เข้าข่ายถูกตัดสิทธิ เช่น เมาแล้วขับ หรือใช้รถผิดประเภท… Continue reading ประกันเรียกเก็บค่าซ่อม ผ่อนได้ไหม? รู้ทันทุกขั้นตอนก่อนโดนฟ้อง คุยจบ เคลียร์ได้ ไม่ต้องหนี
กรมธรรม์ คือ เอกสารสัญญาสำคัญระหว่างผู้เอาประกันกับบริษัทประกันภัย โดยจะระบุความคุ้มครองที่จะได้รับเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง