แม้ว่าอาการผ้าเบรคหมด จะกินระยะเวลานานกว่าจะถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยน ทำให้หลายคนที่เพิ่งซื้อรถมาใหม่ หรือเพิ่งมีประสบการณ์ใช้รถครั้งแรก อาจจะยังไม่รู้ว่าผ้าเบรคหมด มีอาการเป็นอย่างไร และหากขับขี่จนเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาจากเหตุการณ์ ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 จะให้ความคุ้มครองด้วยหรือเปล่า วันนี้ insurverse เราจะพาไปหาคำตอบกันเอง
ถ้าเกิดเหตุการณ์ผ้าเบรคหมด จนทำให้รถเบรคไม่อยู่แล้วเกิดชนขึ้นมา ประกันรถยนต์ชั้น 1 จะให้ความคุ้มครองแล้วแต่กรณีที่เกิดขึ้น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้
กรณีเบรครถเสื่อมสภาพ หรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพในการขับขี่ และจำเป็นต้องทำการซ่อม แต่ยังไม่ได้เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนใด ๆ ประกันรถยนต์ชั้น 1 จะไม่ได้คุ้มครองในส่วนนี้ โดยอิงจากกฎหมายประกันภัยรถยนต์ในข้อ 7.2 “การแตกหักของเครื่องจักรกลไกของรถยนต์ หรือการเสียหายหรือการหยุดเดินของเครื่องจักรกลไก หรือเครื่องไฟฟ้าของรถยนต์อันมิได้เกิดจากอุบัติเหตุ”
แต่ในกรณีที่ผ้าเบรคหมด แล้วรถเกิดเบรคไม่อยู่ขึ้นมา จนทำให้ไปเฉี่ยวชนกับรถคันอื่น หรือขอบทาง ฟุตปาธ กำแพง หรือเสาไฟฟ้า ประกันรถยนต์ชั้น 1 จะให้ความคุ้มครองในการซ่อมแซมตัวรถทั้งหมดตามปกติ
สำหรับผู้ใช้รถที่ยังไม่เคยเปลี่ยนผ้าเบรคเลยสักครั้ง อาจจะสงสัยกันว่า อาการผ้าเบรคหมดที่ว่านี้ มันมีอะไรที่เป็นจุดสังเกตได้บ้าง เพราะจะได้ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนลง วันนี้เราจะมาอธิบายอาการต่าง ๆ ที่สามารถจับสังเกตกันได้เองให้ได้รู้กัน
จุดแรกที่สังเกตได้ง่ายที่สุด ก็คือไฟเบรคขึ้นเตือนที่แผงหน้าปัด ซึ่งเป็นสิ่งที่บอกอยู่ในคู่มือรถทุกคันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นจากค่ายไหนก็ตาม หากมีไฟสัญลักษณ์ระบบเบรคที่เป็นเครื่องหมายตกใจสีแดงขึ้นเตือน นั่นแสดงว่าระบบเบรครถกำลังมีปัญหา และผ้าเบรคก็มักจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นของไฟเตือนนี้
อีกหนึ่งจุดที่ผู้ใช้รถทุกคนต้องจับสังเกตให้เป็น โดยเฉพาะในคนที่ขับอยู่ทุกวัน ก็คือการเหยียบแป้นเบรคที่ลึกผิดปกติ หรือต้องเหยียบเบรคให้จมกว่าเดิมเพื่อให้รถเบรคอยู่ ซึ่งจุดนี้เป็นสิ่งที่จับสังเกตได้ง่ายที่สุด และผู้ใช้รถทุกคนไม่ควรละเลยในการนำรถไปเปลี่ยนผ้าเบรค แม้ว่ารถจะยังใช้งานได้ตามปกติก็ตาม
หากเหยียบเบรคแล้วมีเสียงดังเอี๊ยดอยู่บ่อย ๆ นี่ก็คืออีกหนึ่งสัญญาณเตือนว่าผ้าเบรคกำลังหมด เพราะเป็นเสียงเหล็กเสียดสีกันระหว่างผ้าเบรคที่หมดกับจานเบรค จึงควรนำรถไปเปลี่ยนโดยด่วน หากไม่อยากให้จานเบรคพังตามไปด้วย
อีกหนึ่งอาการที่คนใช้เบรคมือเป็นประจำสามารถเช็กได้ ก็คือการที่ต้องดึงเบรคมือให้สูงขึ้นกว่าเดิม เพื่อจอดรถให้ไม่ไหล ซึ่งอาการนี้ก็เกี่ยวข้องกับการสึกหรอของผ้าเบรคด้วยเช่นกัน
หากผู้ใช้รถเป็นคนที่ตรวจเช็กรถได้เองเป็นประจำ อย่างการเปิดฝากระโปรงหน้าเช็กน้ำมันเครื่อง น้ำยาหล่อเย็น หรือจุดอื่น ๆ น้ำมันเบรคก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่สังเกตได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งในกระปุกน้ำมันเบรคจะมีระดับบอกไว้อยู่แล้ว นั่นก็คือ Max กับ Min และระดับน้ำมันเบรคที่อยู่ในเกณฑ์ปกติจะต้องอยู่ที่ Max หรือลดต่ำลงมาหน่อยก็ได้ แต่หากอยู่ในระดับ Min นั่นแสดงว่าผ้าเบรคเกิดการสึกหรอมาก หรือไม่ก็น้ำมันเบรครั่วนั่นเอง
ผ้าเบรคหมด อันตรายอย่างมากในการขับขี่ เพราะอาจทำให้รถเบรคไม่อยู่จนไปเฉี่ยวชนกับคันหน้า และต้องชดใช้ค่าเสียหายมากมาย รวมถึงการเสียเวลานำรถไปซ่อมอีกด้วย จึงไม่ควรปล่อยไว้ หากรถมีอาการเตือนอย่างที่เราได้อธิบายไปด้านบน
หากความหนาของผ้าเบรคลดลงน้อยกว่า 5 มิลลิเมตร ควรนำรถไปเปลี่ยนผ้าเบรคทันทีจะปลอดภัยกว่า เพราะความหนาในการใช้งานที่ปลอดภัยของผ้าเบรค จะอยู่ที่ 6 – 10 มิลลิเมตร หากผ้าเบรคหนาน้อยกว่า 5 มิลลิเมตรแล้วฝืนขับต่อไปนาน ๆ ก็อาจทำให้จานเบรคเกิดความเสียหายได้
ผู้ใช้รถทุกคนเห็นกันแล้วใช่ไหมว่า ผ้าเบรคหมด เป็นอาการที่เช็กได้เองไม่ยาก หากหมั่นจับสังเกตทุกครั้งก่อนนำรถออกไปใช้งาน ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบติเหตุออกไปได้เยอะ รวมถึงการมีประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่ให้ความคุ้มครองอย่างครอบคลุม และตอบโจทย์ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุเฉี่ยวชนแบบมีคู่กรณีหรือไม่ก็ตาม อีกทั้งยังมีบริการช่วยเหลือฉุกเฉินเมื่อต้องจอดเสียข้างทางอีก จึงเป็นอีกหนึ่งความอุ่นใจที่คนมีรถไม่ควรมองข้ามจริง ๆ
สำหรับใครที่ยังไม่รู้จะทำประกันชั้น 1 ที่ไหน ให้ทาง insurverse ประกันภัยรถยนต์ออนไลน์แห่งแรกของไทยดูแลคุณดีกว่า เพราะเราเป็นบริษัทภายในเครือทิพยประกันภัย ที่มีความมั่นคงในทุนจดทะเบียน พร้อมกับประเภทประกันที่หลากหลาย และปรับแต่งได้ตรงความต้องการของผู้ใช้รถอย่างแท้จริง
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
รู้ความหมายของป้ายจราจรทั้งหมดเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ ป้ายจราจรทั้งหมดพร้อมความหมาย ช่วยลดอันตราการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน
รู้สึกเหมือนรถโดนดึงเวลาขับอาจเป็นเพราะไฟเบรคค้างอย่าปล่อยไว้นาน พบสาเหตุและวิธีแก้ปัญหาก่อนใครในบทความนี้
เปิดวาร์ปเรื่องน่ารู้ ท่อไอเสียสำหรับรถยนต์ มีแบบไหนบ้าง สำคัญต่อรถยนต์ยังไง ราคาท่อไอเสียรถยนต์ทั้งเส้นเท่าไหร่? มาเช็คกันเลยค่ะ