หนึ่งในปัญหาที่คนใช้รถมักจำสลับกันอยู่ตลอด ก็คือพ.ร.บ. รถยนต์ และป้ายภาษี ถึงแม้ว่าจะต้องต่อคู่กันอยู่ทุกปีเพื่อใช้รถอยู่แล้ว แต่หลายคนก็ยังไม่รู้ว่าป้ายที่ติดอยู่หน้ากระจกรถคือป้ายภาษี ไม่ใช่เอกสาร พ.ร.บ. อย่างที่เข้าใจแต่อย่างใด จนทำให้บางครั้งก็ไม่ได้ใส่ใจในการเก็บรักษาใบพ.ร.บ. กว่าจะมารู้ตัวอีกทีว่าต้องใช้ต่อภาษีรถยนต์ ก็ดันทำพ.ร.บ. รถหายไปซะแล้ว ใครที่เคยเจอปัญหานี้อยู่ วันนี้เรามีข้อมูลดี ๆ มาฝาก เมื่อเกิดเหตุทำ พ.ร.บ. รถยนต์หาย จะต้องทำอย่างไรบ้าง
เมื่อทำพ.ร.บ. รถยนต์หาย และหาไม่เจอจริง ๆ ไม่ว่าจะค้นจนทั่วแล้วก็ตาม สิ่งที่ต้องทำเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นก็คือ การไปแจ้งความที่ สน. และนำเอกสารไปยื่นขอ พ.ร.บ. ใหม่ โดยจะมีรายละเอียดในการดำเนินการ ดังนี้
สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือ การไปสน.แจ้งความเพื่อลงบันทึกประจำวัน และขอสำเนาใบแจ้งความ หรือใบลงบันทึกประจำวันเอาไว้ เพื่อใช้ยื่นขอ พ.ร.บ. ใหม่อีกครั้ง อีกทั้งยังเป็นการป้องกันไม่ให้ข้อมูลถูกนำไปแอบอ้างเพื่อใช้กระทำผิดจากบุคคลอื่นอีกด้วย
เมื่อได้สำเนาใบแจ้งความ หรือสำเนาใบลงบันทึกประจำวันมาแล้ว ต่อมาให้ทำการเตรียมเอกสารที่จำเป็นอย่าง สำเนาบัตรประชาชน และเล่มทะเบียนรถ (เล่มจริงและสำเนา) ไปยื่นติดต่อขอ พ.ร.บ. รถยนต์ใหม่กับกรมขนส่งทางบก
ใครที่กำลังสงสัยในขั้นตอนการขอ พ.ร.บ. รถยนต์ใหม่อีกรอบในกรณีที่ทำหาย จะมีความยุ่งยากกว่าการต่อ พ.ร.บ. แบบออนไลน์ทั่วไป เพราะจะต้องเข้ามายื่นดำเนินการที่กรมขนส่งทางบกเพียงเท่านั้น จึงอาจจะต้องรอคิวนานเสียหน่อยเท่านั้นเอง และในส่วนของขั้นตอนกับเอกสารที่ใช้ทั้งหมด จะมีดังนี้
ในส่วนของเอกสารที่ใช้ยื่นขอเมื่อทำ พ.ร.บ. รถยนต์หาย จะมีทั้งหมด ดังนี้
เมื่อเตรียมเอกสารทุกอย่างไว้พร้อมแล้ว ในส่วนของขั้นตอนก็ไม่ได้มีอะไรมากมาย เพียงแค่เข้าไปที่กรมขนส่งทางบก แล้วทำการติดต่อเพื่อดำเนินเรื่องยื่นขอ พ.ร.บ. ใหม่อีกครั้ง ซึ่งจะมีขั้นตอนในการดำเนินการทั้งหมด ดังนี้
แม้ว่าหลายคนจะต้องทำการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์เป็นประจำทุกปี แต่น้อยคนนักที่จะเข้าใจถึงความคุ้มครองจริง ๆ ของตัว พ.ร.บ. รถยนต์ หรือประกันภัยภาคบังคับ ว่ามีข้อดีอะไรบ้าง ทำไมถึงเป็นประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ที่ทางภาครัฐบังคับใช้ให้รถทุกคนบนท้องถนนต้องทำเอาไว้ เรามาดูกันดีกว่า
ส่วนแรกที่ พรบ รถยนต์ให้ความคุ้มครองทันที โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ถูกผิด ก็คือความคุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุ โดยจะแบ่งการคุ้มครองทั้งหมดออกเป็นดังนี้
ความคุ้มครองส่วนถัดมาจากการทำประกัน พ.ร.บ. รถยนต์ คือค่าสินไหมทดแทน ซึ่งจะต้องเป็นกรณีที่ถูกพิสูจน์ว่าเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น และจะได้รับความคุ้มครองทั้งหมด ดังนี้
อีกหนึ่งจุดที่หลายยังสงสัย หากเราเลือกไม่ดำเนินการแจ้งหาย พ.ร.บ. รถยนต์ จะสามารถซื้อ พรบ ออนไลน์ฉบับใหม่ได้เลยไหม คำตอบก็คือสามารถทำได้โดยไม่ผิดกฎหมายใด ๆ เพราะ พ.ร.บ. รถยนต์ ก็เป็นประกันภัยประเภทหนึ่งที่ให้ความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ที่สามารถทำซ้ำได้โดยไม่ผิดอะไร เพียงแต่จะเป็นการเสียเงินซ้ำซ้อนโดยไม่จำเป็นเท่านั้นเอง การยื่นขอใหม่กับทางกรมขนส่งทางบกจึงดีกว่า และเพื่อเป็นการป้องกันข้อมูลที่อาจถูกนำไปใช้กระทำผิด การแจ้งหายจึงเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่านั่นเอง
ทุกคนน่าจะรู้กันแล้วใช่ไหมว่า การทำพ.ร.บ. รถยนต์หายนั้นมีความยุ่งยากพอสมควร เพราะเราจะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้เลย แถมยังเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายอีกด้วยเมื่อโดนเรียกตรวจ ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องโดนค่าปรับตามมาอย่างแน่นอน หากใครทำหายแล้วปล่อย พ.ร.บ. ขาดนาน ก็อาจจะต้องยื่นต่อทะเบียนรถยนต์ เพราะ พ.ร.บ. หายใหม่หมดเลยก็ได้ จึงไม่ค่อยปล่อยไว้เป็นอันขาด ส่วนใครที่ไม่ได้ขาดต่อ แต่กำลังหาที่ซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์ราคาถูกออนไลน์แบบสะดวก ๆ อยู่ ซื้อกับทาง insurverse เราดีกว่า ถูกกว่าใคร ๆ แน่นอน
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
ประกันแต่ละชั้นต่างกันยังไง ไขข้อข้องใจให้เข้าใจความแตกต่างของประกันแต่ละชั้นง่าย ๆ ให้คุณตัดสินใจเลือกประกันได้อย่างมั่นใจ ตอบชัดทุกข้อสงสัยแน่นอน
ประกันรถยนต์มีกี่ประเภท เรื่องที่คนมีรถต้องรู้ เคลียร์ชัดทุกข้อสงสัย เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างประกันภาคบังคับและภาคสมัครใจ แจกแจงความคุ้มครองแบบละเอียด
ประกันชั้น 3 คุ้มครองอะไรบ้าง แตกต่างจากประกันชั้น 3+ อย่างไรหาคำตอบได้ในบทความนี้ พร้อมแนะนำประกันชั้น 3 เบี้ยถูก รถอายุ 30 ปี ก็ซื้อประกันออนไลน์ได้