vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
ภาษีรถยนต์ขาดเกิน 3 ปี เสียเงินเท่าไหร่

อัพเดตข้อมูล2567 ภาษีรถยนต์ขาดเกิน 3 ปี เสียเงินเท่าไหร่?

schedule
share
อัพเดตข้อมูล2566 ภาษีรถยนต์ขาดเกิน 3 ปี เสียเงินเท่าไหร่?

รถยนต์ทุกคัน มีค่าใช้จ่าย มีภาษีรถยนต์ที่ต้องต่อทุกปี เมื่อเราจ่ายภาษีรถยนต์เรียบร้อยแล้ว จะได้รับป้ายรับรองการต่อทะเบียนรถ ที่ใช้ยืนยันว่าใช้รถบนท้องถนนได้อย่างถูกต้อง และจะมีวันระบุภาษีรถยนต์ที่ต้องต่อในครั้งถัดไป ซึ่งถ้าหากใครไม่ได้ต่อภาษีรถยนต์ตามระยะเวลาที่กำหนด จะถือว่าขาดการต่อภาษี หรือทะเบียนขาดนั่นเอง

สิ่งที่ทุกคนต้องรู้คือ อย่าให้ขาดต่อภาษีรถยนต์เกิน 3 ปีเด็ดขาด อย่างน้อย เจ้าของรถต้องสังเกตวันที่ต้องต่อในปีถัดไป ควรต่อก่อนกำหนดไม่เกิน 90 วัน แต่หากเกิน ให้รีบต่อทันที จะได้ไม่ถูกปรับ หากรถขาดการต่อภาษีรถยนต์ไม่เกิน 3 ปี รถจะยังซื้อขายได้ แต่ผู้ซื้อรถ ต้องนำไปต่อทะเบียนเอง หรือถ้าจะนำไปทำธุรกรรมประเภทอื่น ก็ต้องต่อภาษีรถยนต์ให้เรียบร้อยก่อน

ถ้าขาดการต่อภาษีรถยนต์เกิน 3 ปี จะเกิดอะไรขึ้น

แน่นอนว่า การขาดต่อภาษีรถยนต์เกิน 3 ปี จะมีผลเสียตามมา โดยหากไม่ยอมต่อภาษี สิ่งที่เกิดขึ้น ก็คือ 

  1. โดนจดหมายจากกรมการขนส่งแจ้งจอด 
  2. ระงับการใช้งานรถยนต์และเลขทะเบียน

เท่ากับว่า แค่โดน 2 อย่างนี้ ก็จะใช้รถไม่ได้เลย ต้องดำเนินการขอทะเบียนรถใหม่ทั้งหมด พร้อมจ่ายภาษีรถยนต์ย้อนหลัง 3 ปีอีกด้วย 

เสียเงินเท่าไหร่ เมื่อขาดต่อภาษีรถยนต์เกิน 3 ปี 

ก่อนอื่น จะต้องทำการคืนป้ายทะเบียนและสมุดคู่มือไปให้ทางราชการในเขตพื้นที่ที่รถจดทะเบียน เพื่อทำการบันทึกการระงับทะเบียนภายใน 30 วัน หากไม่นำมาแจ้ง ก็จะต้องถูกปรับไม่เกิน 1,000 บาท และต้องแจ้งจดทะเบียนใหม่ โดยจ่ายค่าธรรมเนียมอย่างน้อย 565 บาท พร้อมชำระค่าธรรมเนียมภาษีย้อนหลังสูงสุด 3 ปี มีค่าปรับร้อยละ 1 ต่อเดือน

เมื่อทะเบียนเก่าใช้ไม่ได้ ก็ต้องยื่นขอทะเบียนใหม่

ผลจากการขาดการต่อภาษีรถยนต์เกิน 3 ปี ทำให้ใช้ป้ายทะเบียนเดิมไม่ได้แล้ว ก็ต้องมาดำเนินเรื่องกันใหม่ทั้งหมด โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. แจ้งจดทะเบียนใหม่ หลังนำป้ายทะเบียนเดิมไปคืนกับกรมการขนส่งทางบก
  2. ชำระค่าปรับตามยอดที่ได้รับแจ้ง 
  3. ตรวจสภาพรถใหม่อีกครั้ง
  4. ซื้อพ.ร.บ ชุดใหม่
  5. รอรับป้ายทะเบียนใหม่ได้เลย

สำหรับหลักฐานที่ต้องใช้ ได้แก่

  1. บันทึกการระงับทะเบียน
  2. บัตรประชาชนของเจ้าของรถ (ตัวจริงและสำเนา)
  3. พรบ รถยนต์ ชุดใหม่
  4. หนังรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล / สำเนาบัตรของผู้มีอำนาจลงนาม (หากรถจดทะเบียนในนามนิติบุคคล)
  5. หนังสือสัญญาซื้อขาย หรือหลักฐานการขาย (กรณีที่ไม่ใช่เจ้าของเดิม)
  6. หนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจ (ในกรณีที่เจ้าของรถไม่สะดวก)
  7. ดำเนินการที่กรมขนส่ง

สรุป

หากขาดการต่อภาษีรถยนต์ไปเกิน 3 ปี นอกจากโดนปรับชำระเงินย้อนหลังแล้ว ยังต้องมานั่งทำการจดทะเบียนใหม่อีก แต่หากดำเนินการเสร็จสิ้น จะมีประกันรถยนต์ 1 ต่อไว้ด้วย ก็สามารถทำได้ เพื่อความอุ่นใจ กับการคุ้มครองของประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่ครอบคลุมทุกกรณี และต่อไปนี้ อย่าลืมต่อภาษีรถยนต์กันนะทุกคน

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)