ไฟตัดหมอก หนึ่งในออปชันเสริมที่มักมีมาให้รถรุ่นใหม่ ๆ ในท้องตลาด ซึ่งผู้ใช้รถหลายคนอาจจะไม่เคยใช้ หรือบางคนอาจจะเลือกรถที่มีไฟตัดหมอกเพราะความสวยงามเท่านั้น เลยทำให้ไม่รู้ว่า ไฟตัดหมอกใช้ตอนไหน และถูกออกแบบมาเพื่อสถานการณ์แบบใด วันนี้ insurverse เราจะพาไปเจาะลึกถึงอุปกรณ์ชิ้นนี้ ให้ทุกคนได้เข้าใจกันเอง
ไฟตัดหมอก คือ ไฟส่องสว่างที่มีความเข้มข้นสูง และมักถูกติดตั้งบริเวณกันชนส่วนล่าง ที่อยู่ใต้ไฟส่องสว่างลงไปอีก เพื่อทำการส่องทะลุหมอก หรือช่วงที่ฝนตกได้เป็นอย่างดี ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากในการขับขี่ตอนกลางคืน หรือช่วงที่มีหมอกลงหนาในเส้นทางขึ้นลงเขา
ไฟตัดหมอกจะถูกติดตั้งให้ส่องเป็นแนวระนาบไปกับพื้นถนน ซึ่งจะมีระยะส่องสว่างราว ๆ 30 – 80 เมตร ซึ่งจะช่วยให้ทัศนวิสัยในการขับขี่ดีขึ้น ต่างจากไฟส่องสว่างปกติ ที่จะมีระยะการส่องสว่างเพียง 10 – 15 เมตรเท่านั้น เพราะหากส่องไกลกว่านั้น ก็จะไปรบกวนรถคันอื่นที่ใช้ถนนร่วมกัน จนอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุจนต้องเรียกประกันภัยรถยนต์เลยก็ได้
สัญลักษณ์ไฟตัดหมอกส่วนใหญ่ มักจะอยู่ที่ก้านไฟเลี้ยว หรือที่เดียวกันกับการเปิด-ปิดไฟหน้ารถ โดยจะมีสัญลักษณ์รูปดวงไฟคล้ายกับไฟหน้า แต่ด้านหน้าจะมีลักษณะคล้ายกับเสาอากาศก้างปลา และต้องหมุนเปิดใช้งาน หรือในรถบางรุ่นอาจอยู่ที่บริเวณคอนโซลกลาง
เมื่อมีการเปิดใช้งาน สัญลักษณ์ไฟตัดหมอกจะขึ้นแจ้งเตือนที่แผงหน้าปัด ไม่ต่างจากการใช้งานไฟหน้า โดยจะเป็นรูปดวงไฟสีเขียว พร้อมกับรูปเสาก้างปลาที่ด้านหน้าดวงไฟ ที่หมายถึงรถกำลังเปิดไฟตัดหมอกใช้งานอยู่
เมื่อรู้ถึงหลักการทำงาน และสัญลักษณ์ไฟตัดหมอกกันไปแล้ว ทีนี้เราจะมาอธิบายกันต่อว่า ไฟตัดหมอกต้องใช้ตอนไหนถึงจะปลอดภัย และไม่รบกวนเพื่อนร่วมถนนคันอื่น มาดูกันดีกว่า
บริเวณทางขึ้นลงเบา หรือพื้นที่ยอดดอยต่าง ๆ อย่างในแถบภาคเหนือ มักจะมีอากาศที่หนาวเย็น และหากมีฝนตกด้วยแล้ว ก็จะมีหมอกลงหน้าจนไม่สามารถมองทางได้อย่างชัดเจน ซึ่งไฟตัดหมอกถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้สถานการณ์แบบนี้โดยเฉพาะ จึงเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้รถรุ่นใหม่ ๆ มักติดมาให้เป็นอุปกรณ์พื้นฐาน
อย่างที่เราได้บอกไปว่า ช่วงเวลากลางคืนที่ว่ามองเห็นถนนได้ยากแล้ว หากมีฝนตกลงมาร่วมด้วย ทัศนวิสัยในการขับขี่ก็จะยิ่งแย่ลงไปอีก การเปิดใช้งานไฟตัดหมอกในสถานการณ์แบบนี้ จึงช่วยทำให้ผู้ขับขี่มองเห็นทางได้ง่ายขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ให้ลดน้อยลงไป
ผู้ใช้รถทุกคนย่อมรู้กันดีว่า ถนนหนทางในเมืองไทยนั้นมีความเป็นหลุมเป็นบ่ออยู่เยอะ โดยเฉพาะในช่วงที่ฝนตกลงมาจนน้ำขัง หากเราไม่มีไฟตัดหมอกช่วย ก็อาจจะมองไม่เห็นเลยด้วยซ้ำว่าข้างหน้ามีหลุม หรือแอ่งที่ต้องระวังในการขับขี่หรือไม่ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งสถานการณ์ที่ไฟตัดหมอกช่วยได้เช่นกัน
ในช่วงหมอกลงจัด หรือมีควันมาบดบังในการขับขี่ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์เผาไร่ ที่คนเดินทางไปต่างจังหวัดมักจะคุ้นชินกันดี ก็เป็นอีกหนึ่งสถานการณ์ ที่ไฟตัดหมอกจะเข้ามาช่วยผู้ขับขี่ได้ เพราะอย่างน้อยก็ทำให้รถที่ขับสวนมามองเห็นรถเราได้ชัดเจนมากขึ้น
หากเป็นการใช้งานตลอดเวลา หรือเปิดพร่ำเพรื่อ จะเข้าข่ายผิดกฎหมาย พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 11 ที่ระบุไว้ว่า ควรใช้ไฟตัดหมอกในขณะที่มีหมอก หรือฝุ่นควันมาบดบังการขับขี่ โดยที่จะต้องไม่มีรถคันอื่นอยู่ด้านหน้า หรือขับสวนมาในระยะของไฟ
ผู้ใช้รถทุกคนเห็นกันแล้วใช่ไหมว่า ไฟตัดหมอกนั้นถูกออกแบบมาเพื่ออะไร และมีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนในเมืองไทยเรา รวมไปถึงสถานการณ์ที่ควรใช้ไฟตัดหมอก และข้อกฎหมายที่จำเป็นต้องรู้ในการใช้งาน เพื่อให้ไม่โดนโทษปรับ และอีกหนึ่งความสำคัญที่คนใช้รถต้องมี ก็คือการทำประกันรถยนต์ชั้น 1 หรือประกันชั้น 2+ ที่มีความคุ้มครองค่อนข้างจะครอบคลุม และมีบริการช่วยเหลือฉุกเฉินมากมาย เมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนขึ้น ส่วนใครที่ยังไม่รู้จะทำประกันที่ไหน ต้องที่ insurverse เราเลย เพราะเราเป็นประกันออนไลน์เจ้าแรกในไทย ที่เปิดให้มีการปรับแต่งกรมธรรม์ได้อย่างอิสระ
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
แหนบรถยนต์ช่วยรองรับน้ำหนัก ดูดซับแรงกระแทก และเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ รู้จักหน้าที่ของแหนบและวิธีดูแลจะช่วยให้ใช้งานได้ยาวนาน
ปีกนกรถยนต์อยู่ใต้ท้องรถกว่าที่จะรู้ว่ามีปัญหาก็อาจทำให้ความเสียหายลุกลามไปยังจุดอื่น ๆ ของช่วงล่าง ควรตรวจเช็กตามระยะและเปลี่ยนอะไหล่ตามวงรอบ
รู้สัญญาณเตือนก่อนถ่านรีโมทรถยนต์จะหมด พร้อมแนะนำเลือกถ่านรีโมทแบบไหนให้เหมาะกับรุ่นรถและควรทำอย่างไรหากถ่านรีโมทหมดกะทันหัน