กำลังจะซื้อบ้านราคา 1.5 ล้านใช่ไหม บอกเลยว่าไม่ได้มีแค่เงินดาวน์หรือราคาบ้านที่ต้องเตรียม เพราะยังมี ค่าโอนกรรมสิทธิ์ ที่ผู้ซื้อและผู้ขายต้องรู้ไว้ให้พร้อม เพราะวันโอนจริง ๆ จะได้ไม่เจอค่าใช้จ่ายพุ่งแบบไม่ทันตั้งตัว ถ้ากำลังสงสัยว่า บ้าน 1.5 ล้าน ค่าโอนเท่าไหร่ มาดูรายละเอียดกันแบบชัด ๆ พร้อมวิธีคิดค่าโอนที่ถูกต้อง ตามข้อมูลจริงที่ใช้กันในปีนี้เลย
ค่าโอนบ้าน หรือค่าโอนกรรมสิทธิ์ เป็นค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายให้กรมที่ดินในวันที่มีการเปลี่ยนมือเจ้าของจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อ โดยค่าโอนนี้จะคำนวณจากราคาประเมินของกรมที่ดิน หรือราคาซื้อขายจริง แล้วแต่ว่าราคาไหนสูงกว่า ซึ่งโดยปกติแล้ว ค่าโอนกรรมสิทธิ์จะอยู่ที่ 2% ของราคาประเมินหรือราคาซื้อขายที่ใช้โอนนั่นเอง
แปลให้เข้าใจง่าย ๆ สรุปบ้าน 1.5 ล้าน ค่าโอนเท่าไหร่? คำตอบก็คือ ถ้าบ้านราคา 1.5 ล้าน กรมที่ดินจะคิด 2% ของ 1.5 ล้าน เป็นค่าโอนที่ต้องจ่ายออกไป ซึ่งจะมีทั้งกรณีผู้ซื้อรับผิดชอบทั้งหมด หรือแบ่งจ่ายครึ่งหนึ่งกับผู้ขาย ตามที่ตกลงกัน
อย่าลืมว่า การโอนบ้านแต่ละครั้ง ก็มีโอกาสเกิดหากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น เช่น ความเสียหายจากอุบัติเหตุหลังซื้อบ้าน บ้านน้ำท่วม บ้านไฟไหม้ หากไม่อยากปวดหัวกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว ให้ Insurverse ดูแลบ้านของคุณ ด้วยประกันบ้านที่คุณออกแบบเองได้ เพราะเราเข้าใจดีว่า บ้าน ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน มีความเสี่ยงและปัจจัยที่แตกต่างกัน ดังนั้นประกันบ้านจึงจำเป็นต้องตอบโจทย์บ้านทุกรูปแบบ และต้องสามารถปรับให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน
ด้วยประกันบ้านที่สามารถ DIY ได้อย่างอิสระ ปรับ เพิ่ม ลด ความคุ้มครองและเบี้ยประกันได้ตามใจชอบ จะช่วยให้คุณอุ่นใจ เพราะคุ้มครองทุกกรณีสำคัญในชีวิตประจำวัน
วันโอนบ้านต้องเตรียมเอกสารสำคัญให้ครบถ้วน เพื่อให้ขั้นตอนดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ไม่สะดุดกลางทาง โดยเอกสารที่ต้องใช้มีดังนี้:
การเตรียมเอกสารให้พร้อมจะช่วยให้ขั้นตอนการโอนเสร็จสิ้นเร็วขึ้น และลดโอกาสที่จะต้องเลื่อนวันโอนออกไปเพราะเอกสารไม่ครบ
บ้านราคา 1,500,000 บาท วิธีคิดค่าโอนง่าย ๆ คือ เอา 2% ของราคาซื้อขาย มาคำนวณ โดยมีสูตรดังนี้
1,500,000×0.02=30,000
สรุปค่าโอนกรรมสิทธิ์สำหรับบ้านราคา 1.5 ล้าน คือ 30,000 บาท นี่คือจำนวนเงินที่ต้องเตรียมไว้สำหรับการโอนที่กรมที่ดิน โดยปกติแล้ว จะมีการหารจ่ายคนละครึ่งระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย นั่นคือฝั่งละ 15,000 บาท แต่สุดท้ายแล้ว ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างสองฝ่ายด้วย
นอกจากค่าโอนกรรมสิทธิ์ 2% ที่เราพูดถึงไปแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ต้องรู้ และควรเผื่อเงินไว้ให้พร้อมด้วย ซึ่งมีดังนี้
หากบ้านเป็นทรัพย์สินที่ถือครองไม่ถึง 5 ปี และผู้ขายมีรายได้จากการขายอสังหาฯ ต้องจ่ายค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 3% ของราคาประเมิน บวกกับภาษีท้องถิ่นอีก 10% ของภาษีธุรกิจเฉพาะ
ถ้าผู้ขายได้รับการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ จะต้องจ่ายค่าอากรแสตมป์แทน ซึ่งคิดที่อัตรา 0.5% ของราคาซื้อขาย หรือราคาประเมิน แล้วแต่ว่าราคาไหนสูงกว่า
ภาษีนี้คำนวณตาม ราคาประเมินของกรมที่ดิน และจำนวนปีที่ถือครองบ้าน โดยกรมที่ดินจะคำนวณและแจ้งให้ทราบในวันโอน
การคำนวณจะใช้หลักการหักค่าใช้จ่ายแบบขั้นบันไดตามปีที่ถือครอง เช่น ถือครองนาน 5 ปี จะหักค่าใช้จ่ายได้มากกว่าถือครองแค่ปีเดียว
ถ้าซื้อบ้านด้วยสินเชื่อธนาคาร ต้องจ่ายค่าจดจำนองที่ 1% ของยอดเงินกู้ ซึ่งจ่ายให้กรมที่ดินในวันโอนเช่นกัน
เช่น ค่าคำขอ ค่าเอกสารรับรองต่าง ๆ คิดเป็นหลักร้อยบาท ขึ้นอยู่กับขั้นตอนที่กรมที่ดินกำหนด
ถ้าอยากลดภาระค่าใช้จ่ายช่วงโอนกรรมสิทธิ์ มี 3 วิธีที่ควรรู้ไว้ คือ
ในบางช่วงรัฐบาลจะมีมาตรการลดค่าโอน เช่น ลดค่าโอนและจดจำนองเหลือ 0.01% สำหรับบ้านที่ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
การลดค่าโอนนี้ช่วยประหยัดเงินได้เยอะมาก เช่น บ้านราคา 1.5 ล้าน จากเดิมจ่าย 30,000 บาท จะเหลือแค่ 150 บาทเท่านั้น
โดยปกติแล้ว ค่าโอนจะตกลงให้ผู้ซื้อและผู้ขายแบ่งจ่ายกันคนละครึ่ง เพื่อไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแบกรับภาระหนักเกินไป
ราคาประเมินของกรมที่ดินอาจต่ำกว่าราคาซื้อขายจริง ถ้าเป็นกรณีนี้ ค่าโอนจะคำนวณจากราคาประเมิน ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้บางส่วน
การเตรียมตัวก่อนวันโอนเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะช่วยให้ทุกอย่างผ่านไปอย่างราบรื่น ควรทำตามขั้นตอนเหล่านี้:
บ้านราคา 1.5 ล้าน ค่าโอนกรรมสิทธิ์อยู่ที่ 30,000 บาท โดยทั่วไปจะแบ่งจ่ายคนละครึ่งระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ค่าอากรแสตมป์ และค่าจดจำนองที่ต้องเตรียมพร้อมไว้ด้วย
หากอยากประหยัดค่าใช้จ่ายช่วงโอน แนะนำให้ติดตามมาตรการลดค่าโอนจากภาครัฐ และพูดคุยกับผู้ขายให้ชัดเจนก่อนวันโอน
เมื่อเราเข้าใจแล้วว่า บ้าน 1.5 ล้าน ค่าโอนเท่าไหร่ และถ้าอยากได้ความคุ้มครองเพิ่มเติมสำหรับบ้านหลังใหม่ insurverse พร้อมดูแลคุณด้วยประกันบ้านที่คุ้มค่า ครอบคลุมทุกเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ให้คุณได้ประกันที่ตรงใจที่สุด แถมยังเช็คเบี้ยประกันบ้านได้ง่าย ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่ต้องรอประเมินบ้านให้เสียเวลา รู้เบี้ยประกันภายในไม่ถึง 5 นาที
ค่าโอนบ้านคิดที่ 2% ของราคาประเมินกรมที่ดินหรือราคาซื้อขายจริง แล้วแต่ว่าราคาไหนสูงกว่า ยกตัวอย่าง ถ้าบ้านราคา 1.5 ล้าน ค่าโอนคือ 30,000 บาท แต่ถ้ารัฐมีมาตรการลดค่าโอนในปี 2567 ก็อาจจ่ายถูกลงได้อีก
ค่าโอนบ้านอยู่ที่ 2% ของราคาประเมิน หรือราคาซื้อขาย แล้วแต่กรณีไหนสูงกว่า ซึ่งโดยปกติ ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถตกลงกันได้ว่าจะจ่ายคนละครึ่งหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรับผิดชอบ
ถ้าจะขายบ้านในปี 2567 มีค่าใช้จ่ายหลัก ๆ ดังนี้
คนซื้อบ้านปี 2567 ต้องเตรียมเงินไว้สำหรับค่าใช้จ่ายเหล่านี้
ค่าประเมินบ้านเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้ซื้อบ้านต้องจ่ายเอง กรณีซื้อบ้านผ่านสินเชื่อธนาคาร โดยธนาคารจะส่งเจ้าหน้าที่มาประเมินราคาบ้านก่อนอนุมัติสินเชื่อ ค่าประเมินจะอยู่ที่ประมาณ 2,000 – 3,000 บาท ขึ้นอยู่กับธนาคารและพื้นที่
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
ประกันอัคคีภัยบ้านไม่ได้คุ้มครองแค่ไฟไหม้เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมภัยธรรมชาติและเหตุสุดวิสัยอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับบ้านและทรัพย์สินภายในบ้าน
ฝันว่าไฟไหม้บ้านแต่ดับได้ทันมีคำทำนายทั้งเรื่องดีและไม่ดี หากไม่สบายใจ แก้ฝันได้ด้วยการแก้ฝันร้ายกับน้ำ เล่าให้คนอื่น หรือสวดมนต์ไล่ฝันร้าย
ธนาคารแต่ละแห่งมีโปรโมชันสินเชื่อบ้านที่น่าสนใจ ใครที่กำลังวางแผนซื้อบ้าน รีไฟแนนซ์ หรือแม้แต่กำลังมองหาไอเดียผ่อนบ้านในราคาคุ้มค่า ห้ามพลาดบทความนี้