เมื่อเอ่ยถึงอุบัติเหตุ ต่างเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดและเกิดขึ้นได้เสมอ ยิ่งผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นประจำย่อมพบเจออุบัติเหตุบนท้องถนนอยู่บ้างแล้ว ฉะนั้นประกันอุบัติเหตุจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับการใช้ชีวิตให้มีความปลอดภัย ยิ่งประเทศไทยที่มีสถิติผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุสูงสุด ครองตำแหน่งอันดับ 1 จนต้องกลับมาฉุกคิดกันว่า ที่เห็นข่าวเรื่องชนแล้วหนีหรือชนคนเดินข้ามถนน อะไรทำนองนี้ หากเกิดกรณีแบบนี้? สามารถเคลมเงินประกันอุบัติเหตุได้ไหม? และเรื่องสำคัญที่หลายคนไม่รู้ว่าโดนรถชนเรียกค่าทําขวัญเท่าไหร่ ? โดยเฉพาะการเป็นฝ่ายถูกสามารถเรียกร้องอะไรจากฝ่ายผิดได้บ้าง ตามไปหาคำตอบกันเลย
ค่าทําขวัญ คือ เงินเยียวยาทางร่างกายและจิตใจที่ฝ่ายผิดหรือคนขับรถที่เป็นฝ่ายชน ควรรับผิดชอบจ่ายให้ผู้ที่ถูกชนหรือผู้บาดเจ็บ ให้ได้รับเงินไปใช้ในการฟื้นฟูสภาพร่างกาย, จิตใจและค่าเสียรายได้ เพราะต้องพักรักษาตัว แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีกฎหมายบังคับเอาไว้ชัดเจนว่าโดนรถชนเรียกค่าทําขวัญเท่าไหร่? ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับทั้งสองฝ่ายตกลงกันค่ะ
หากใครซื้อประกันอุบัติเหตุเอาไว้แล้ว แต่เกิดอุบัติเหตุแล้วเป็นฝ่ายถูกหรือที่หลายคนเรียกกันว่า ฝ่ายผู้เสียหาย หลายคนอาจจะมีความสงสัยในเรื่องความรับผิดชอบของประกัน ว่ากรณีแบบนี้สามารถเรียกร้องความเสียหายจากฝ่ายผิดอย่างไรได้บ้าง ไปดูกันเลย
แน่นอนว่ากรณีรถโดนชนแล้วเป็นฝ่ายถูก ก็คงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าสามารถที่จะเคลมเงินประกันอุบัติเหตุเรียกร้องค่าเสียหายต่อรถยนต์กับประกันของอีกฝ่ายได้เลย โดยทางฝั่งบริษัทประกันอุบัติเหตุของคู่กรณีจะเป็นผู้จ่ายเงินชดเชยให้ ซึ่งเราจะต้องไปจัดการในเรื่องของเอกสารให้กับทางประกันภัยของคู่กรณี เมื่อฝั่งนั้นออกใบเคลมมาให้แล้ว เพื่อเป็นการยืนยันว่าได้มีการเกิดอุบัติเหตุขึ้นจริง ฝั่งที่เป็นฝ่ายถูกก็สามารถกำหนดได้เลยว่าต้องการซ่อมอู่ที่เลือกเองหรือซ่อมอู่ที่ทางคู่กรณีกำหนดให้
หากเกิดอุบัติเหตุแบบไม่คาดฝัน มีคนมาขับรถชนรถของเราจนไม่สามารถที่จะขับเคลื่อนไปต่อได้ ซึ่งแน่นอนว่าส่วนนี้สามารถเรียกร้องค่าเคลื่อนย้ายรถจากจุดเกิดอุบัติเหตุได้ โดยให้ทางฝั่งบริษัทประกันอุบัติเหตุของคู่กรณี ออกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายรถให้ ซึ่งทางฝ่ายถูกไม่ต้องจ่ายเงินเลยแม้แต่นิดเดียว หากคู่กรณีข่มขู่แล้วบอกให้ออกไปก่อนอย่าเผลอทำเด็ดขาด ต้องจำไว้ให้แม่นว่าคู่กรณีต้องจ่ายให้เท่านั้น
เมื่อเดินอยู่บนถนนดีๆ มีรถขับมาชนจนเราได้รับการบาดเจ็บทางด้านร่างกาย แล้วเราเป็นฝ่ายถูกเรียกค่าสินไหมจากคู่กรณีได้ไหม? คำตอบคือเรียกได้เลย ทางบริษัทประกันอุบัติเหตุฝั่งคู่กรณีจะต้องมีการเยียวยาค่ารักษาพยาบาลให้กับเราจนกว่าจะหายเป็นปกติ รวมถึงคู่กรณีจะต้องจ่ายเงินชดเชยกรณีที่เราขาดรายได้เพราะต้องนอนพักรักษาตัวจากอุบัติเหตุอีกด้วย ซึ่งสามารถเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลได้ตามความสมควร แต่การชดเชยก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของทางบริษัทประกันอุบัติเหตุอีกที
เมื่อเอ่ยถึงค่าทำขวัญหลายคนอาจจะสงสัยว่าค่าทำขวัญคืออะไร? ซึ่งค่าทำขวัญในที่นี้ ก็มีความคล้ายคลึงกับค่ารักษาตัวทางกาย แต่ค่าทำขวัญจะเป็นค่ารักษาทางใจนั่นเอง สามารถเรียกร้องจากทางฝั่งบริษัทประกันอุบัติเหตุคู่กรณีได้ เพื่อไม่ให้เสียสิทธิ์จากการเกิดอุบัติเหตุแบบไม่คาดคิด แน่นอนว่าทางบริษัทประกันจะจ่ายให้ตามวงเงินชดเชยที่อยู่ในเงื่อนไขของบริษัทอีกที
นอกจากฝ่ายถูกจะเรียกร้องค่าทำขวัญตามตกลงกับฝ่ายผิดได้แล้ว ถ้ารถของคู่กรณีได้ทำพ.ร.บ.เอาไว้ ฝ่ายถูกจะได้รับความคุ้มครองจากพ.ร.บ. ที่ฝ่ายผิดทำติดรถเอาไว้ด้วยค่ะ แต่ไม่ใช่การจ่ายค่าทำขวัญนะคะ เป็นการเบิกความคุ้มครองจากพ.ร.บ. ซึ่งฝ่ายถูกสามารถเบิกค่าใช้จ่ายต่างๆ ดังนี้ได้ค่ะ ค่ารักษาพยาบาลตามจริงไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน, ค่าชดเชยกรณีเป็นผู้ป่วยใน 200 บาทต่อคนจ่ายตามจริงไม่เกิน 20 วันและหากทุพพลภาพหรือเสียชีวิตจะเบิกค่าชดเชยได้ 200,000-500,000 บาทค่ะ
แต่ถ้าฝ่ายผิดไม่ได้ทำพ.ร.บ.ติดรถเอาไว้ ฝ่ายผิดจะต้องเสียค่าปรับกรณีไม่มีพ.ร.บ.สูงสุดถึง 10,000 บาท ส่วนฝ่ายถูกให้ติดต่อรับความคุ้มครองต่างๆ จากพ.ร.บ.รถตัวเองมาใช้จ่ายค่ารักษาและเบิกค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้เลยค่ะ
แม้ว่าประกันรถยนต์ชั้น 1 จะไม่ได้ให้ความคุ้มครองครอบคลุมไปถึงค่าทำขวัญ แต่จะมอบความคุ้มครองที่ครอบคลุมเรื่องรถ ดังนี้ค่ะ
ยามเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน หากเป็นฝ่ายถูกต้องลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิ์ อย่าปล่อยให้ถูกกระทำแบบไม่รู้ตัว ยิ่งมีประกันอุบัติเหตุยิ่งต้องศึกษาสิทธิ์ที่ควรจะได้รับเอาไว้ให้ดี เพื่อรักษาสิทธิ์ที่เราพึงได้ พร้อมกับเลือกแผนความคุ้มครองที่ตรงกับไลฟ์สไตล์เอาไว้เป็นเกราะป้องกันให้กับชีวิต เพราะนี่เป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิต ไม่ใช่เรื่องสนุกเลยแม้แต่นิดเดียวที่จะถูกปล่อยทิ้งขว้างไว้กลางทาง แล้วต้องมาจัดการจ่ายเงินรักษาตัวเอง หากสนใจใช้ชีวิตแบบมีเกราะป้องกันสามารถคลิกเข้ามาซื้อประกันอุบัติเหตุกับทาง insurverse ได้เลยที่นี่ เพื่อเป็นตัวช่วยเพิ่มความปลอดภัยและเซฟค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ จะได้ไม่เจ็บตัวฟรีและจ่ายเงินก้อนโตเพื่อรักษาพยาบาลตัวเอง
กรณีโดนรถชนเรียกค่าทําขวัญเท่าไหร่จะคำนวณได้ด้วยหลักเกณฑ์ ดังนี้ค่ารักษาพยาบาลทั้งในปัจจุบันและอนาคตค่าขาดประโยชน์จากการทำงานค่าทนทุกข์ทรมานจากการรักษาค่าเสื่อมสุขภาพค่าขาดไร้อุปการะกรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิตค่าปลงศพกรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิตค่าชื่อเสียงเสียหายค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นกับจิตใจค่าซ่อมแซมทรัพย์สิน
กรณีที่ฝ่ายผิดไม่มีเงินพอจ่ายค่าทำขวัญตามที่คู่กรณีเรียกร้องหรือเห็นต่างเรื่องยอดจ่าย ฝ่ายถูกสามารถทำเรื่องส่งฟ้องศาลเพื่อสู้คดีได้ค่ะ ซึ่งกรณีแบบนี้จะเป็นคดีแพ่ง ไม่มีโทษจำคุกใดๆ ค่ะ แต่ถ้าฝ่ายผิดไม่มีจ่ายหรือไม่ยอมจ่าย ศาลสามารถตัดสินให้ฝ่ายถูกทำเรื่องยึดทรัพย์ฝ่ายผิดได้ค่ะ แต่ทางที่ดีควรตกลงเรื่องค่าทำขวัญกันตามตกลง ไม่ควรปล่อยให้เรื่องไปถึงศาล เพราะถ้าให้ศาลตัดสินอาจจะต้องจ่ายค่าเสียหายมากกว่าที่คิดได้ค่ะ ซึ่งฝ่ายถูกสามารถเรียกค่าใช้จ่ายอื่นๆ, ค่าเสียเวลา, ค่าดอกเบี้ยและค่าทนาย เพิ่มเติมได้อีกด้วยค่ะ ซึ่งฝ่ายถูกสามารถเรียกค่าทำขวัญประมาณ 20,000 บาทหรือมากกว่านี้ได้เลยค่ะ
โดนรถชนเรียกค่าทําขวัญเท่าไหร่? ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับฝ่ายถูกและการต่อรองกัน หากเรียกค่าทำขวัญตามวงเงินที่เหมาะสมแล้วแต่พบว่าคู่กรณีหรือฝ่ายผิดเบี้ยวค่าทำขวัญ ให้ฝ่ายถูกเข้าไปติดต่อที่สถานีตำรวจ เพื่อแจ้งความหรือให้ตำรวจสืบเรื่องและพูดคุยตกลงค่าทำขวัญให้ แต่ถ้าฝ่ายผิดยังไม่ยอมจ่าย ให้ไปทำเรื่องร้องเรียนกับสำนักงาน คปภ.จังหวัดหรือโทรปรึกษาสายด่วน 1186 เพื่อรับคำแนะนำดูก่อนค่ะ ว่าจะหาทางแก้ไขได้อย่างไร? แต่ถ้าฝ่ายผิดยังไม่ยอมจ่ายอีกเช่นเดิม ให้กลับไปหาตำรวจเพื่อให้ตำรวจส่งเรื่องฟ้องศาลให้ค่ะหรือจะจ้างทนายแล้วทำเรื่องฟ้องศาลเองก็ได้ค่ะ
สำหรับขั้นตอนส่งฟ้องศาลเรียกค่าทําขวัญตามกฎหมายหรือโดนเบี้ยวค่าทำขวัญ มีขั้นตอน ดังนี้1. แจ้งความลงบันทึกประจำวัน2. ยื่นคำร้องเพื่ออธิบายถึงความเสียหายและเกณฑ์คำนวนวงเงินค่าทำขวัญ3. ศาลออกหมายเรียกและนัดไต่สวน
ในกรณีที่โชคร้ายโดนรถชนเรียกค่าทําขวัญเท่าไหร่? insurverse แนะนำให้คำนวณจากความสูญเสียที่สามารถพิสูจน์ได้จริงและในกรณีที่ผู้ประสบอุบัติเหตุทุพพลภาพ, ทุพพลภาพถาวรหรือเสียชีวิต ควรคำนึงถึงค่าเสียโอกาสด้วย ดังนั้นค่าทำขวัญควรเรียกกี่บาท? ก็ขึ้นอยู่กับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นและคู่กรณีทั้งสองฝ่ายตกลงกันค่ะ อีกทั้งยอดเงินค่าทำขวัญ ยังถือเป็นการแสดงความรับผิดชอบของฝ่ายผิดและแสดงถึงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยค่ะ ซึ่งฝ่ายถูกอาจเรียกค่าทำขวัญเพิ่มเติม ประมาณ 5,000-10,000 บาทหรืออาจมากกว่านี้ค่ะ
สำหรับการเรียกค่าทำขวัญจะไม่สามารถเรียกร้องจากบริษัทประกันรถยนต์ได้ ดังนั้นถ้าโดนรถชนเรียกค่าทําขวัญเท่าไหร่? ฝ่ายถูกหรือผู้ประสบอุบัติเหตุจะต้องไปตกลงกันเองกับฝ่ายผิด แต่หากตกลงกันไม่ได้ ควรแจ้งให้คู่กรณีรอเจ้าหน้าที่ประกันรถยนต์มาก่อน แล้วขอให้เจ้าหน้าที่หรือตัวแทนบริษัทประกันเข้ามาเป็นตัวกลางช่วยต่อรองให้ค่ะ
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
หากไม่ระมัดระวังการสัมผัสพลังงานไฟฟ้าโดยตรงอย่าง ไฟช็อต หรือ ไฟดูด เป็นอันตรายอย่างรุนแรงได้ แต่หลายคนอาจยังไม่แน่ใจถึงความแตกต่างของอุบัติเหตุทั้งสองอย่างนี้ รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการได้รับกระแสไฟฟ้าเข้าไปในร่างกาย บทความนี้จึงจะช่วยอธิบายอันตรายจากไฟฟ้าช็อตและไฟฟ้าดูด
การเกิดอุบัติเหตุล้มหัวฟาดพื้นเป็นสิ่งที่ต้องระวัง! ถึงภายนอกอาจจะดูไม่ได้เป็นอะไรมากหรือแค่ฟกช้ำ แต่ภายในอาจมีภัยเงียบอันตรายที่เราไม่รู้ตัว
พูดถึงที่เที่ยว One day trip โซนพระราม 9 ก็มีที่น่าสนใจไม่น้อย แต่ก่อนไปให้ทำประกันอุบัติเหตุ insurverse เอาไว้ก่อน