vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
การขับขี่รถจักรยานยนต์ในเขตเมืองควรใช้ความเร็วเท่าใด

การขับขี่รถจักรยานยนต์ในเขตเมืองควรใช้ความเร็วเท่าใด?

schedule
share
ที่มารูปภาพ : https://www.vecteezy.com/photo/9558723-automatic-motorcycle-dashboard

“รถจักรยานยนต์” เป็นหนึ่งในพาหนะที่คนไทยใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุด โดยเฉพาะในเขตเมืองที่การจราจรหนาแน่น ด้วยความที่มีขนาดเล็ก สามารถลัดเลาะไปตามทางแคบ ๆ ได้ง่าย ทั้งยังมีราคาไม่แพง ทำให้แทบทุกครัวเรือนจะต้องมีรถจักรยานยนต์ไว้ใช้งาน อย่างไรก็ตามยังมีผู้ใช้รถหลายคนที่ยังไม่รู้ว่า กฎหมายจราจรใหม่ พ.ศ. 2565 มีแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการขับขี่รถจักรยานยนต์หลายข้อ วันนี้ insurverse จึงขอมาอัปเดตกฎหมายการขับขี่รถจักรยานยนต์ให้เหล่าไบค์เกอร์ทุกคนได้รับทราบพร้อมกัน

อัปเดตกฎหมายการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ควรรู้ 

สำหรับกฎหมายจราจรใหม่ พ.ศ. 2565 ในหมวดที่เกี่ยวกับการขับขี่รถจักรยานยนต์นั้นมีการปรับปรุงแก้ไขข้อกำหนดหลายข้อ หนึ่งในนั้นคือมีการกำหนดความเร็วในเขตเมืองใหม่ ใครที่กำลังสงสัยว่าการขับขี่รถจักรยานยนต์ในเขตเมืองควรใช้ความเร็วเท่าใด insurverse หาคำตอบมาให้แล้ว

  • ห้ามขับขี่รถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วเกิน 80 กม./ชั่วโมง ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ เมืองพัทยา และเขตเทศบาล ส่วนนอกเขตขับขี่ด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กม./ชั่วโมง แต่หากมีเครื่องหมายจราจรกำหนดความเร็วไว้ให้ขับขี่ไม่เกินอัตราความเร็วที่กำหนด
  • ห้ามรถจักรยานยนต์บรรทุกสิ่งของที่มีน้ำหนักเกิน 50 กก. และให้มีผู้นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ได้เพียง 1 คนเท่านั้น
  • เมื่อจะเลี้ยวรถหรือเปลี่ยนเลนต้องใช้ไฟสัญญาณที่ติดอยู่ท้ายรถไปในทิศทางที่จะเลี้ยวหรือเปลี่ยนเลน
  • ขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างระมัดระวังไม่ให้เกิดการชนคนเดินเท้า หากจำเป็นต้องให้สัญญาณเตือนคนเดินเท้าให้รู้ตัวด้วย
  • ขับขี่รถจักรยานยนต์ในเลนซ้าย ไม่ล้ำกึ่งกลางของเลน เว้นแต่มีสิ่งกีดขวางหรือถูกปิดการจราจร

บทลงโทษกฎหมายจราจรใหม่ที่เกี่ยวกับการขับขี่รถจักรยานยนต์

ในส่วนของบทลงโทษผู้กระทำผิดกฎหมายจราจรใหม่ พ.ศ. 2565 ก็มีการปรับปรุงบทลงโทษเกี่ยวกับการขับขี่รถจักรยานยนต์หลายข้อเช่นกัน โดยบทลงโทษหลัก ๆ ควรรู้มี 5 ข้อ ดังนี้

  1. หากขับขี่รถจักรยานยนต์เร็วเกินกฎหมายกำหนด ขับฝ่าไฟแดง และไม่หยุดรถเมื่อมีคนข้ามทางม้าลาย มีโทษปรับไม่เกิน 4,000 บาท จากเดิมที่มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
  2. หากขับขี่รถจักรยานยนต์ย้อนศร ไม่สวมหมวกกันน็อก มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท จากเดิมที่มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
  3. หากจอดรถในจุดที่ห้ามจอด มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
  4. หากขับขี่รถจักรยานยนต์โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตหรือร่างกายของผู้อื่น มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับตั้งแต่ 5,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  5. หากเมาแล้วขับและเป็นการกระทำผิดครั้งแรก มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่หากเป็นการกระทำผิดซ้ำภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับ 50,000 – 100,000 บาท

ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

แม้ว่าคุณจะปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดแค่ไหน แต่บางครั้งอุบัติเหตุก็สามารถเกิดขึ้นได้โดยที่คุณไม่ทันตั้งตัว ในกรณีเกิดอุบัติเหตุก่อนจะคำนึงว่าใครผู้ผิดใครถูก ควรปฏิบัติดังนี้

  1. ตั้งสติ ตรวจสอบอาการบาดเจ็บของตนเองและคู่กรณี รวมถึงตรวจสอบทรัพย์สินต่าง ๆ ที่เสียหาย
  2. แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความช่วยเหลือ รวมถึงติดต่อบริษัทประกันให้ส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุและประเมินความเสียหาย
  3. ถ่ายภาพที่เกิดเหตุรวมถึงภาพรถจักรยานยนต์ที่เสียหายเพื่อใช้เป็นหลักฐาน
  4. เมื่อเกิดอุบัติเหตุให้รอแสดงตนต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เมื่อแจ้งข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเสร็จสิ้นแล้วจึงค่อยแยกย้าย

ทั้งหมดนี้คือรายละเอียดข้อกำหนดและบทลงโทษเกี่ยวกับการขับขี่รถจักรยานยนต์ของกฎหมายจราจรใหม่ พ.ศ. 2565 ที่เรานำมาอัปเดตให้ทราบกันในวันนี้ ใครที่สงสัยว่าการขับขี่รถจักรยานยนต์ในเขตเมืองควรใช้ความเร็วเท่าใด ก็คงได้คำตอบกันแล้ว ส่วนใครที่อยากเพิ่มความอุ่นใจในการขับขี่รถจักรยานยนต์ก็สามารถทำ ประกันอุบัติเหตุ ไว้เผื่อกรณีฉุกเฉิน โดยสามารถ เช็กเบี้ยประกันอุบัติเหตุ ออนไลน์ได้ง่าย ๆ ที่หน้าเว็บไซต์ insurverse เพื่อหาแผนการทำประกันที่ให้ความคุ้มครองคุ้มค่า ค่าเบี้ยประกันเหมาะสม ตอบโจทย์คนทุก Gen เพียงเท่านี้ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุเล็กหรือใหญ่ก็สามารถรับมือได้หายห่วง

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย