vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
รถเกิดอุบัติเหตุมีประกันชั้น 1 แต่ไม่มีพ.ร.บ.ประกันไม่จ่ายจริงมั้ย?

รถเกิดอุบัติเหตุมีประกันชั้น 1 แต่ไม่มีพ.ร.บ.ประกันไม่จ่ายจริงมั้ย?

schedule
share
รถเกิดอุบัติเหตุมีประกันชั้น 1 แต่ไม่มีพ.ร.บ.ประกันไม่จ่ายจริงมั้ย?
ที่มารูปภาพ : https://www.freepik.com/free-photo/man-is-calling-insurrance-company-claiming-his-car-crash-damaged-road-accident_3805669.htm

การทำประกันรถยนต์ภาคบังคับหรือ “พ.ร.บ.รถยนต์” ถือเป็นสิ่งสำคัญที่รถยนต์ทุกคันต้องมีตามกฎหมาย เพื่อคุ้มครองผู้ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ทั้งที่เป็นผู้ขับขี่และผู้โดยสาร แต่หากใครที่คิดว่าความคุ้มครองที่ได้จาก พ.ร.บ. รถยนต์ยังไม่เพียงพอก็สามารถทำประกันภาคสมัครใจเพิ่มเติมได้ แต่ก็มีหลายคนที่สงสัยว่าหาก รถ เกิด อุบัติเหตุ แล้วไม่มี พ.ร.บ. แต่มีประกันภาคสมัครใจ จะได้รับความคุ้มครองจากประกันหรือไม่ วันนี้เราจะพาไปหาคำตอบกัน

รถไม่มี พ.ร.บ. รถยนต์ มีความเสี่ยงอะไรบ้าง?

สำหรับรถยนต์ที่ไม่มี พ.ร.บ.รถยนต์ หรือไม่ได้ต่อ พ.ร.บ. ตามเวลาที่กำหนดจน พ.ร.บ. ขาดนั้นมีโทษปรับตามกฎหมาย รวมถึงจะไม่ได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. และอาจมีผลต่อการเคลมประกันภาคสมัครใจ โดยความเสี่ยงของรถไม่มี พ.ร.บ. มีดังนี้

  • ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
  • ไม่สามารถต่อภาษีหรือต่อทะเบียนรถยนต์ประจำปีได้ จะต้องเสียค่าปรับเดือนละ 1% หากไม่ต่อทะเบียนเกิน 3 ปี จะถูกระงับใช้ทะเบียน เมื่อรถทะเบียนขาดก็อาจทำให้การเคลมประกันภาคสมัครใจเกิดปัญหาติดขัดได้ แม้จะเป็นประกันชั้น 1 ก็ตาม
  • รถที่ไม่มี พ.ร.บ. จะไม่ได้รับความคุ้มครองใด ๆ
  • ในกรณีที่คู่กรณีเป็นฝ่ายผิดและคู่กรณีมี พ.ร.บ. แต่เราไม่มี สามารถเรียกร้องค่าเสียหายต่าง ๆ ในฐานะผู้ประสบภัยได้ แต่ต้องรอพิสูจน์ความผิดก่อน และระหว่างที่รอเราต้องรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลต่าง ๆ เองไปก่อน
  • ในกรณีที่เราเป็นฝ่ายผิดและไม่มี พ.ร.บ. เราจะต้องรับผิดชอบค่าเสียหายต่าง ๆ ด้วยตัวเอง และต้องจ่ายค่าปรับฐานใช้รถที่ไม่มี พ.ร.บ. ด้วย

พ.ร.บ.รถยนต์ให้ความคุ้มครองอะไรบ้าง?

สำหรับใครที่ยังสงสัยว่า พ.ร.บ.รถ คุ้มครองอะไรบ้าง ก็ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าความคุ้มครองของ พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2535 มีด้วยกัน 2 ชั้น ดังต่อไปนี้

  1. ความคุ้มครองเบื้องต้น (ไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด)
  2. ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บที่เกิดจากอุบัติเหตุ สูงสุด 30,000 บาทต่อคน
  3. เงินเยียวยากรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ สูงสุด 35,000 บาทต่อคน
  4. ความคุ้มครองภายหลังได้รับการพิสูจน์ว่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิด
  5. ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บที่เกิดจากอุบัติเหตุ ไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน
  6. เงินเยียวยากรณีสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ 200,000 – 500,000 บาทต่อคน
  7. เงินเยียวยากรณีเสียชีวิต 500,000 บาทต่อคน
  8. เงินชดเชยรายวัน 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน สูงสุดไม่เกิน 4,000 บาทต่อคน

เอกสารที่ต้องใช้สำหรับยื่นเบิก พ.ร.บ. หลังเกิดอุบัติเหตุ

สำหรับเอกสารที่ต้องในการยื่นเบิก พ.ร.บ. หลัง รถ เกิด อุบัติเหตุ กับบริษัทประกันที่เราซื้อ พ.ร.บ. หรือบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ มีดังนี้

  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบภัยและเจ้าของรถ
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประสบภัย
  • สำเนาหนังสือทะเบียนรถ
  • สำเนาใบขับขี่ (กรณีผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับขี่เอง)
  • สำเนาใบกรมธรรม์ พ.ร.บ. รถยนต์

เอกสารเพิ่มเติม

  • กรณีบาดเจ็บ ใบเสร็จรับเงินของโรงพยาบาลที่เข้ารักษาตัว
  • กรณีรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน เบิกค่ารักษาพยาบาล ใบรับรองแพทย์หรือหนังสือรับรองว่าเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลที่เข้ารักษาตัว
  • กรณีทุพพลภาพ ใบรับรองแพทย์ หนังสือรับรองการเป็นผู้พิการ และสำเนาบันทึกประจำวันหรือหลักฐานยืนยันได้ว่าเป็นผู้ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์
  • กรณีเสียชีวิต ใบมรณบัตร สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของทายาทโดยธรรม สำเนาบันทึกประจำวันหรือหลักฐานยืนยันได้ว่าเป็นผู้ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์จนถึงแก่ชีวิต

ทั้งหมดนี้คือรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับความเสี่ยงของการไม่มี พ.ร.บ.รถยนต์ และความคุ้มครองของ พ.ร.บ. ที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ และสำหรับใครที่ยังสงสัยว่า พ.ร.บ.รถ คุ้มครองอะไรบ้าง และอัตราค่าทำ พ.ร.บ. ของรถยนต์แต่ละประเภทอยู่ที่ปีละเท่าไหร่ สามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของ Insurverse รวมถึงเช็กเบี้ยได้ที่นี่

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)