vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
พ.ร.บ.รถยนต์ เหมือนหรือแตกต่างจากภาษีรถยนต์

พ.ร.บ.รถยนต์ เหมือนหรือแตกต่างจากภาษีรถยนต์

schedule
share

เคยมีใครสับสนระหว่าง พ.ร.บ.รถยนต์ และภาษีรถยนต์หรือไม่? แน่นอนว่าหลายคนอาจจะเข้าใจว่าทั้งสองเป็นสิ่งเดียวกัน หรือสามารถทำแทนกันได้ วันนี้เราจะพามารู้จักกับทั้ง พ.ร.บ.รถยนต์ และภาษีรถยนต์ ว่ามีความสำคัญกับการใช้รถใช้ถนนอย่างไร รับรองว่าจะไม่สับสนอีกต่อไป

พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร

พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร

ประกันภัยภาคบังคับสำหรับรถยนต์ ที่มีการบังคับใช้ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เจ้าของรถทุกคนจะต้องทำ และต้องต่อ พ.ร.บ. อย่างต่อเนื่องทุกปี โดยจะคุ้มครองทุกคนที่ประสบอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากรถทันทีโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด ไม่ว่าจะเป็น ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และทุกคนที่ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถ ไม่ว่าจะเป็น บาดเจ็บ ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิต และยังรวมไปถึงค่ารักษาพยาบาลหรือเงินชดเชยอื่น ๆ หากมีการพิสูจน์ว่าเป็นฝ่ายถูกในอุบัติเหตุนั้น ๆ 

หากไม่ทำ หรือไม่ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ จะมีความผิดทางกฎหมาย โดยจะมีโทษปรับเจ้าของรถ หรือผู้ใช้รถที่ไม่มี พ.ร.บ. สูงสุด 10,000 บาท และหากเป็นทั้งเจ้าของรถและมีการใช้รถคันที่ไม่มี พ.ร.บ. จะมีโทษปรับสูงสุด 20,000 บาท นอกจากนี้ยังมีผลต่อเนื่องทำให้ไม่สามารถต่อทะเบียนรถยนต์ หรือป้ายภาษีประจำปีได้ และที่สำคัญ คือ หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาก็จะไม่ได้รับความคุ้มครอง

ภาษีรถยนต์ คืออะไร

เป็นการจ่ายภาษีประเภทหนึ่งให้กับรัฐ เพื่อนำไปสนับสนุนทางด้านการคมนาคมต่าง ๆ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การพัฒนาระบบคมนาคมของประเทศ การปรับปรุงเส้นทางจราจร 

หากไม่ต่อภาษีรถยนต์จะเป็นความผิดทางกฎหมายเช่นเดียวกับ พ.ร.บ.รถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นค่าปรับ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าตรวจสภาพ ค่าป้ายใหม่ เป็นต้น และจะถูกระงับทะเบียนทันที เมื่อปล่อยรถไว้นานโดยไม่ได้ทำการต่อทะเบียนเกิน 3 ปี หากต้องการใช้รถคันเดิมจะต้องดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนรถใหม่พร้อมคืนป้ายทะเบียน และต้องชำระภาษีรถยนต์ย้อนหลัง

พ.ร.บ.รถยนต์ vs ภาษีรถยนต์

ภาษีรถยนต์จะไม่มีการคุ้มครองเหมือน พ.ร.บ.รถยนต์ เนื่องจากเป็นเพียงค่าใช้จ่ายที่เจ้าของรถยนต์ทุกคนชำระทุกปี เพื่อนำเงินส่วนนี้ไปดูแลรักษาระบบคมนาคมและภาคส่วนอื่น ๆ ส่วน พ.ร.บ.รถยนต์จะให้ความคุ้มครองสำหรับผู้ใช้รถใช้ถนน และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุบนท้องถนนทุกคนนั่นเอง

ทั้ง พ.ร.บ.รถยนต์ และ ภาษีรถยนต์ เป็นการบังคับใช้ทางกฎหมายที่รถทุกคันจะต้องทำ หากฝ่าฝืนก็จะมีโทษทางกฎหมาย และต้องมีการต่อทุกปีเช่นเดียวกัน ซึ่งหลายคนมักเข้าใจผิดว่าป้ายที่ติดหน้ากระจกรถยนต์ หรือที่ม้วนติดกับท้ายรถจักรยานยนต์เป็นเครื่องหมายของ พ.ร.บ.รถยนต์ แต่แท้จริงแล้วเครื่องหมายของรถที่เสียภาษีอย่างถูกต้องแล้วนั่นเอง

พ.ร.บ.รถยนต์ vs ภาษีรถยนต์

สรุป

ไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ.รถยนต์ หรือภาษีรถยนต์ ก็จำเป็นต้องทำให้ถูกต้อง ไม่ใช่แค่เรื่องของกฎหมาย แต่เป็นการรับผิดชอบต่อสังคมรูปแบบหนึ่งอีกด้วย ดังนั้น อย่าลืมทำ พ.ร.บ.รถยนต์ และภาษีรถยนต์ ที่สำคัญ ต้องเช็กวันหมดอายุให้ดี ไม่อย่างนั้นจะโดนค่าปรับเอาได้

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)