vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
ทํา พ.ร.บ.รถมอเตอร์ไซค์ มีขั้นตอนอย่างไร คุ้มครองอะไรบ้าง

ทํา พ.ร.บ.รถมอเตอร์ไซค์ มีขั้นตอนอย่างไร คุ้มครองอะไรบ้าง

schedule
share
ทํา พ.ร.บ.รถมอเตอร์ไซค์ มีขั้นตอนอย่างไร คุ้มครองอะไรบ้าง

คนขับรถยนต์ต้องมี พ.ร.บ.คุ้มครอง แล้วคนขับมอเตอร์ไซค์จำเป็นต้องมี พ.ร.บ.รถมอเตอร์ไซค์หรือไม่ ตามกฎหมายแล้วก็มี พ.ร.บ.จักรยานยนต์ เหมือนกันเพื่อให้คนขับและผู้โดยสารปลอดภัยหายห่วงระหว่างเดินทาง เนื่องจากมอเตอร์ไซค์ขับขี่รวดเร็ว เสี่ยงอันตราย และเกิดอุบัติเหตุบ่อยด้วย มาดูกันว่า พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์คุ้มครองอะไรบ้าง

ปัจจุบัน พ.ร.บ.จักรยานยนต์มีความสำคัญมากเพื่อเป็นหลักประกันกรณีเกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝันบนท้องถนน ช่วยคุ้มครองและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของผู้ขับขี่ค่อนข้างครอบคลุมทั้งค่ารักษาพยาบาลและเงินชดเชยต่าง ๆ  ก่อน พ.ร.บ.หมดอายุสามารถต่อ พ.ร.บ.ออนไลน์ ที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ได้ง่าย ๆ  โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปเข้าแถวต่อคิว พร้อมรับกรมธรรม์ผ่านอีเมลและจัดส่งทางไปรษณีย์ได้

ขั้นตอนการต่อ พ.ร.บ.รถมอเตอร์ไซค์

การต่อ พ.ร.บ.ทำได้ง่าย ๆ  ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยเข้าไปในเว็บไซต์ระบบ e-service ของกรมการขนส่งทางบกที่ https://eservice.dlt.go.th/esvapp/login.jsf โดยใช้เวลาเพียง 15 นาทีเท่านั้น

  1. เริ่มจากการเข้าเว็บไซต์ “ลงทะเบียนสมาชิกใหม่” กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน รวมทั้งที่อยู่ปัจจุบันและที่อยู่ส่งเอกสาร ตามด้วยรหัสประจำตัวประชาชนและรหัสผ่านเพื่อเข้าสู่ระบบ
  2. เลือกหัวข้อ “บริการ” และคลิก “ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต”
  3. กรอกข้อมูลการลงทะเบียนรถให้ครบถ้วน “กดบันทึก” ตามด้วย “ชำระภาษี”
  4. ขั้นตอนการต่อ พ.ร.บ.รถมอเตอร์ไซค์ ให้คลิกเลือก “ข้อมูล พ.ร.บ.” คลิกเลือก “ต้องการซื้อ พ.ร.บ.ใหม่” กรอกข้อมูลบริษัทประกันภัยที่ต้องการ รวมถึงสถานที่จัดส่งเอกสารให้ครบถ้วน แล้วคลิกเลือก “วิธีชำระเงิน” หลังจากนั้น พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ จะถูกส่งมาพร้อมป้ายภาษีรถจักรยานยนต์

เอกสารที่ต้องเตรียมในการต่อทะเบียน

  • พ.ร.บ.รถมอเตอร์ไซค์ ที่ถืออยู่ปัจจุบัน
  • เล่มทะเบียนหรือสำเนาทะเบียนรถ
  • กรณีรถมอเตอร์ไซค์อายุเกิน 5 ปี ต้องขอเอกสารตรวจสอบสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.)
  • ค่าธรรมเนียม 100 บาท

สามารถนำไปยื่นต่อทะเบียนตามช่องทางที่สะดวก ไม่ว่าจะเป็นการยื่นต่อทะเบียนรถออนไลน์, Drive-Thru ที่กรมการขนส่งทางบก และเคาน์เตอร์เซอร์วิสต่าง ๆ 

ค่าเสียหายในเบื้องต้น (โดยยังไม่ต้องพิสูจน์ความผิด)

พ.ร.บ.คุ้มครองครอบคลุมทั้งคนขับและคนซ้อน บุคคลภายนอกที่ได้รับบาดเจ็บ สามารถเบิกจ่ายได้ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิด มีรายละเอียดดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาล จ่ายตามค่าใช้จ่ายจริง วงเงินไม่เกิน 30,000 บาท /คน
  • เสียชีวิต ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ จ่ายเงินชดเชย 35,000 บาท /คน

ค่าสินไหมทดแทน (หากพิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูก)

พ.ร.บ.รถมอเตอร์ไซค์จะชดเชยค่าใช้จ่ายให้ในกรณีที่คนขับมอเตอร์ไซค์เป็นฝ่ายถูก ความคุ้มครองครอบคลุมทั้งคนขับและคนซ้อนที่บาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ แต่ไม่ครอบคลุมค่าซ่อมแซมยานพาหนะอื่น ๆ  ที่เสียหายจากอุบัติเหตุ ดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาล จ่ายตามจริง ไม่เกิน 80,000 บาท
  • เสียชีวิต ทุพพลภาพ ชดเชย 300,000 บาท
  • สูญเสียอวัยวะ เช่น นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป ชดเชย 200,000 บาท, สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน ชดเชย 250,000 บาท, สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน ชดเชย 300,000 บาท
  • การรักษาตัวในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) ชดเชยวันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน

จะเห็นได้ว่าการต่อพ.ร.บ.รถมอเตอร์ไซค์ ทำได้ง่ายและรวดเร็วด้วย เพราะมีเพียงไม่กี่ขั้นตอน อย่าลืมเช็กอายุรถจักรยานยนต์ว่าหากมีอายุเกิน 5 ปี ต้องนำไปส่งตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสอบสภาพรถเอกชนก่อน จึงจะต่อ พ.ร.บ.ได้ หากพร้อมต่อ พ.ร.บ. แล้ว สามารถ เช็กเบี้ย พ.ร.บ. ที่นี่!

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)