vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
รถความร้อนขึ้น เกิดจากอะไร ควรทำอย่างไรขณะขับขี่

รถความร้อนขึ้น เกิดจากอะไร ควรทำอย่างไรขณะขับขี่

schedule
share

ในประเทศที่เป็นเมืองร้อนอย่างบ้านเรา ไม่ว่าจะหน้าร้อน หน้าฝน หรือหน้าหนาว อากาศในระหว่างวันส่วนใหญ่ก็มักจะร้อนอยู่เสมอ นั่นทำให้ผู้ใช้รถในไทยมักจะต้องประสบปัญหารถความร้อนขึ้นกันไม่น้อย ซึ่งปัญหานี้เกิดได้ทั้งรถใหม่ และรถเก่าหากดูแลไม่ถึง วันนี้ทาง insurverse เราเลยจะมาไขข้อสงสัย ว่าความร้อนรถขึ้นนั้นเกิดจากอะไร และมีวิธีแก้รถความร้อนขึ้นอย่างไรได้บ้าง

ความร้อนรถยนต์ ระดับไหนถึงปกติ

ผู้ใช้รถหลายคนอาจสงสัย ว่าเราจะรู้ได้อย่างไร ว่าอุณหภูมิความร้อนของรถที่ใช้งานอยู่ในเกณฑ์ปกติ และแบบไหนควรเฝ้าระวังเพื่อนำไปตรวจเช็กอาการ ต้องบอกว่าสังเกตได้ง่ายมาก ๆ เพราะรถทุกคันไม่ว่าจะเป็นจากค่ายไหน ก็มักจะมีระบบแจ้งเตือนขึ้นที่แผงหน้าปัดให้เจ้าของรถสังเกตได้อยู่แล้ว เพียงแต่จากแต่ต่างกันไปตามเทคโนโลยีของรถคันนั้น แต่โดยหลักจะแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 

  • แบบเข็ม : ไฟเตือนแบบแรกในรถรุ่นเก่า หรือรถรุ่นเริ่มต้น มักจะมีไฟเตือนความร้อนขึ้นแบบเข็ม ซึ่งจะอยู่บนแผงหน้าปัด ที่เป็นตัวอักษร C (Cool) และ H (Hot) และมีเข็มชี้บอกระดับความร้อนเครื่องยนต์ ซึ่งระดับปกติในการขับจะอยู่ที่กึ่งกลาง หรืออาจจะเลยทางฝั่ง H นิดหน่อย 
  • แบบไฟเตือน : ไฟเตือนแบบถัดมา จะเป็นสัญลักษณ์เคลื่อนน้ำด้านล่าง พร้อมกับตัววัดอุณหภูมิ ที่จะแสดงผลเป็นสีเขียว และสีแดง หากเป็นสีแดง นั่นหมายถึงความร้อนรถขึ้นเกินระดับปกติ และต้องทำการตรวจเช็กโดยด่วน 
  • แบบไฟดิจิทัล : ไฟเตือนประเภทนี้ จะคล้ายกับแบบเข็มพร้อมกับสัญลักษณ์ความร้อนขึ้นโชว์ที่หน้าปัด และมีแถบระดับบอกว่าอุณหภูมิความร้อนอยู่ที่เท่าไหร่ หากอยู่ที่กึ่งกลางก็คือปกติ แต่หากเลยไปด้านบนจนใกล้ตัว H มากไป ก็แสดงว่ารถร้อนผิดปกติ 

*รถยนต์แต่ละรุ่น มีระดับความร้อนตามเกณฑ์ปกติที่ไม่เหมือนกัน จึงควรเช็กคู่มือก่อนทำการตรวจเช็กเสมอ*

รถความร้อนขึ้น เกิดจากอะไร

รถความร้อนขึ้น เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น หม้อน้ำรั่วซึม ท่อน้ำชำรุดหรืออุดตัน ปิดฝาหม้อน้ำไม่สนิท ปั๊มน้ำชำรุด สายพานปั๊มน้ำขาด วาล์วน้ำไม่ทำงาน หรือพัดลมหม้อน้ำเสีย ก็ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้ระบบระบายความร้อนขัดข้อง และทำให้เครื่องยนต์โอเวอร์ฮีทได้นั่นเอง เรามาเจาะลึกไปทีละอาการดีกว่า

หม้อน้ำรั่วซึม

หม้อน้ำรั่ว เป็นอาการยอดนิยมที่พบได้บ่อยในปัญหารถความร้อนขึ้น ซึ่งโดยมากมักจะเกิดจากการเสื่อมสภาพจากการใช้งาน หรืออาจจะโดนวัตถุไปกระแทกจนทำให้เกิดรอยรั่วขึ้นได้ ซึ่งส่งผลให้น้ำในหม้อน้ำลดต่ำลงจนช่วยระบายความร้อนได้น้อย และเกิดความร้อนรถขึ้นมานั่นเอง 

ท่อน้ำชำรุดหรืออุดตัน

ท่อน้ำก็เป็นอีกสาเหตุที่เกิดความร้อนรถขึ้นได้ หากมีรอยรั่ว หรืออุดตันจากการใช้งานเป็นระยะเวลานาน จึงทำให้เกิดการเสื่อมสภาพไม่ต่างจะอะไหล่ชิ้นอื่น โดยเฉพาะรถยนต์ที่จอดกลางแจ้งทั้งวัน ไม่ได้พื้นที่จอดภายในบ้าน อุปกรณ์ภายในห้องเครื่องอาจทรุดโทรมได้เร็วกว่า 

ปิดฝาหม้อน้ำไม่สนิท

ปิดฝาหม้อน้ำไม่สนิท ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่หลายคนพลาด หากฝาหม้อน้ำปิดไม่สนิท ในขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงาน น้ำหล่อเย็นอาจถูกดันออกมาได้ และอาจทำให้ระดับน้ำในหม้อพักที่คอยส่งไปหล่อเย็นลดลงตามไป ท้ายที่สุดก็อาจจะมีน้ำหล่อเย็นไม่เพียงพอ และทำให้ความร้อนเกิดขึ้น 

ปั๊มน้ำชำรุด

ระบบหล่อเย็นจะทำงานไม่ได้เลย หากปั๊มน้ำเกิดการชำรุดขึ้นมา เพราะปั๊มน้ำจะทำหน้าที่ในการปั๊มน้ำหล่อเย็นไปหมุนเวียนระบายความร้อนให้กับเครื่องยนต์แบบกลับไปกลับมา ซึ่งหากอุปกรณ์ชิ้นนี้ชำรุดขึ้นมา ก็จะไม่มีน้ำหล่อเย็นไปช่วยระบายความร้อนเครื่องยนต์ และทำให้รถความร้อนขึ้นในท้ายที่สุด

วาล์วน้ำไม่ทำงาน

วาล์วน้ำเป็นอีกหนึ่งชิ้นส่วนสำคัญ ที่จะทำหน้าที่ในการเปิด-ปิด เพื่อควบคุมอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นในการเข้าไปช่วยระบายความร้อนเครื่องยนต์ หากอุปกรณ์ชิ้นนี้ไม่ทำงาน หรือชำรุด เครื่องยนต์จะระบายความร้อนไม่ได้ และเกิดการสึกหรออย่างหนักจนบิดเบี้ยวได้ 

พัดลมหม้อน้ำเสีย 

พัดลมหม้อน้ำ ก็เป็นอุปกรณ์อีกหนึ่งชิ้น ที่ทำหน้าที่ระบายความร้อน และควบคุมอุณหภูมิความร้อนของเครื่องยนต์ไม่ให้สูงมากเกินไป หากเกิดชำรุดขึ้นมา ก็จะลงเองด้วยความร้อนเครื่องยนต์ที่เพิ่มมากขึ้นไม่ต่างกัน 

เมื่อรถความร้อนขึ้น ควรทำอย่างไร

เมื่อรถความร้อนขึ้น ควรทำอย่างไร

แม้จะรู้ถึงสาเหตุ และอาการกันไปแล้ว แต่หากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นมาจริง ๆ กับตัวเราในขณะขับขี่ ควรจะรับมือกับอาการรถความร้อนขึ้นนี้อย่างไร มาทำตามขั้นตอนด้านล่างนี้ได้เลย 

วิธีแก้รถความร้อนขึ้น

  1.  ประคองรถเข้าข้างทางทันที โดยไม่ฝืนขับต่อจนทำให้เครื่องยนต์อาจพังมากกว่าเดิม
  2. เมื่อจอดรถในที่ปลอดภัยเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการดับเครื่องยนต์ และเปิดฝากระโปรงระบายความร้อนทันที
  3. รอจนเครื่องยนต์เริ่มเย็นลง แล้วจึงค่อยหาน้ำสะอาดมาเติมลงในหม้อน้ำเป็นการชั่วคราว แต่ถ้าหากมีพกน้ำหล่อเย็นติดรถเอาไว้ ก็ให้ใช้น้ำหล่อเย็นจะดีที่สุด 
  4. เมื่อความร้อนลดลง ให้ทำการขับรถไปเช็กที่ศูนย์บริการ หรืออู่ซ่อมที่ไว้ใจ เพื่อจบปัญหาที่เกิดขึ้น 

รถความร้อนขึ้น ขับต่อได้ไหม

รถความร้อนขึ้น ไม่ควรขับต่อเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ฝาสูบโก่ง และต้องเสียเงินค่าซ่อมที่แพงในภายหลังได้ จึงควรปิดแอร์ทันที และประคองรถเข้าข้างทางเพื่อแก้ไขอาการเบื้องต้น ก่อนนำรถไปตรวจเช็กอีกที 

รถความร้อนขึ้น ซ่อมแพงไหม

รถความร้อนขึ้น ค่าซ่อมจะมีตั้งแต่หลักร้อยไปจนหลักหมื่น โดยจะขึ้นอยู่กับชิ้นส่วนที่เสียหายเป็นหลัก หากเป็นที่ปะเก็นฝาสูบแตก หรือสามารถปาดฝาสูบเพื่อใช้งานต่อได้ ก็จะมีค่าซ่อมอยู่ที่ไม่เกิน 3,000 – 5,000 บาท แต่หากอาการหนัก ก็จำเป็นจะต้องเปลี่ยนฝาสูบ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายไม่น้อยกว่า 12,000 บาทขึ้นไป 

ควรขับรถยังไงไม่ให้ความร้อนรถขึ้น

ในวิธีการป้องกันไม่ให้ความร้อนรถขึ้น สามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงตรวจเช็กระดับน้ำหล่อเย็น การทำงานของพัดลมหม้อน้ำ และตรวจเช็กคราบตะกรันต่าง ๆ ทุกสัปดาห์ รวมไปถึงการเปลี่ยนถ่ายของเหลวตามระยะที่กำหนด เพียงเท่านี้ก็จะไม่เกิดอาการรถความร้อนขึ้นอย่างแน่นอน 

ซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์กับทาง insurverse ออนไลน์ในราคาเพียง 499 บาท รับความคุ้มครองทันที 

เพราะอาการรถความร้อนขึ้น มีความอันตรายต่อเครื่องยนต์เป็นอย่างมาก ซึ่งแม้จะซ่อมมาแล้ว ก็อาจจะกลับมาเป็นอีกครั้งได้ การทำ พ.ร.บ. รถยนต์ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจึงสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะในปัจจุบัน ที่การสมัครผ่านทางออนไลน์สะดวกสบายกว่าแต่ก่อนเยอะมาก เพียงกรอกข้อมูลไม่กี่ขั้นตอน ก็รับกรมธรรม์ทางอีเมล และนำไปยื่นต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้เลย ในราคาเพียง 499 บาทเท่านั้น ใีครที่ยังไม่รู้จะซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์ ราคาถูกที่ไหน ซื้อกับทาง insurverse ได้ตลอด 24 ชม. เลย รับรองว่าถูกชัวร์ 

*ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม – 31 ธันวาคม 2567* 

สรุปบทความ รถความร้อนขึ้น เกิดจากอะไร ควรทำอย่างไรขณะขับขี่

และนี่ก็คือสาเหตุ และอาการทั้งหมดที่ทำให้รถความร้อนขึ้น ซึ่งหากหมั่นดูแล และตรวจเช็กเป็นประจำ ปัญหานี้ก็อาจจะไม่เกิดขึ้นเลยตลอดการใช้งานรถ และสำหรับคนที่ไม่มีเวลา ก็เพียงแค่นำรถไปตรวจเช็กระยะ และเปลี่ยนถ่ายของเหลวตามที่กำหนด ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงตรงนี้ลงไปได้เช่นกัน หากอยากให้รอยู่กับเรานาน ๆ โดยไม่ต้องเสียเงินค่าซ่อมแพง ๆ ในภายหลัง

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)