เชื่อว่าหลายคนคงเคยเห็นเส้นแนวก้างปลาบนพื้นถนน สัญลักษณ์ที่แสดงว่าเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคน แต่เขตปลอดภัยหมายความว่าอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร และมีกฎหมายข้อไหนที่เกี่ยวข้องบ้างนั้น วันนี้เรามีคำตอบมาฝากทุกคนค่ะ
ไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนส่วนใหญ่จะสงสัยว่าเขตปลอดภัยหมายความว่าอย่างไร คำตอบคือ บริเวณเกาะสีหรือพื้นที่บริเวณที่ทาสีเหลืองหรือสีขาวในลักษณะก้างปลาบนพื้นถนน เพื่อแสดงให้ผู้ใช้รถใช้ถนนรู้ว่าเป็นบริเวณที่ไม่ให้รถยนต์ล่วงล้ำเข้าไปโดยเด็ดขาด ไม่ว่าจะวิ่งผ่านหรือจอดรถในบริเวณดังกล่าว จึงทำให้คนเดินถนนสามารถหยุดยืนในบริเวณนี้ได้อย่างปลอดภัย ซึ่งจะแตกต่างจากเขตห้ามหยุดตรงที่เขตห้ามหยุดสามารถขับขี่ทับบริเวณนั้นได้ เพราะฉะนั้นหากอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ เขตปลอดภัยจึงมีไว้เพื่อให้ผู้เดินเท้าหยุดพักหรือหยุดรอในบริเวณนั้นอย่างปลอดภัย โดยมีประโยชน์ดังต่อไปนี้
แน่นอนว่าประโยชน์แรกของการวางสัญลักษณ์เขตปลอดภัยบนพื้นถนนคือความปลอดภัยต่อคนเดินเท้า เพราะอย่างที่รู้กันแล้วว่าคนเดินเท้าสามารถใช้เขตปลอดภัยเป็นที่หยุดรอก่อนข้ามถนน หยุดพัก หรือเป็นจุดขึ้นลงรถได้อย่างปลอดภัย ช่วยลดความสูญเสียจากการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้
เนื่องจากพื้นที่ปลอดภัยเป็นบริเวณที่ห้ามทับอย่างเด็ดขาด จึงถูกนำไปใช้ในการแบ่งช่องทางถนนหรือกำหนดพื้นที่ระหว่างขอบทางกับเส้นทางเดินรถ ช่วยลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน อย่างอุบัติเหตุรถชนประสานงาบนถนนที่ไม่มีเกาะกลางหรืออุบัติเหตุรถยนต์ชนขอบทาง
นอกจากช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับคนเดินเท้าแล้ว เขตปลอดภัยยังมีส่วนช่วยในการจัดระเบียบการจราจรบนท้องถนนให้เป็นไปตามที่ต้องการ เพราะนอกจากเป็นการแสดงพื้นที่ที่คนเดินถนนสามารถหยุดพักรออย่างปลอดภัยแล้ว ยังสามารถใช้บังคับผู้ขับขี่ขับไปในทิศทางที่ต้องการหรือควบคุมระดับความเร็วในบริเวณที่ต้องการความปลอดภัยสูงได้อีกด้วย
สำหรับลักษณะสำคัญของเขตปลอดภัยคือเป็นเส้นสีขาวหรือสีเหลือง ลักษณะเป็นก้างปลาหรือลายตาราง พบได้ทั้งบริเวณกลางถนน ไหล่ทาง หรือบริเวณทางแยก อย่างไรก็ตามในความจริงแล้วเขตปลอดภัยแต่ละจุดล้วนมีจุดประสงค์แตกต่างกันดังต่อไปนี้
เนื่องด้วยเขตปลอดภัยเป็นสัญลักษณ์ที่อยู่บนพื้นถนนจึงทำให้หลายคนมักมองข้ามและไม่ได้ให้ความสำคัญ ทั้ง ๆ ที่ในความจริงเขตปลอดภัยถูกกำหนดในข้อห้ามและมีโทษปรับตั้งแต่ 400 – 1,000 บาท และตัดคะแนนในใบขับขี่ ตาม พ.ร.บ. การจราจรทางบก พ.ศ. 2522 หลายมาตรา ได้แก่
จากข้อมูลคงทำให้หลายคนรู้แล้วว่าเขตปลอดภัยหมายความว่าอย่างไร แต่นอกจากปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดแล้ว อย่าลืมต่อประกันรถยนต์ทุกปี แต่หากไม่รู้จะทำประกันรถยนต์ที่ไหน แนะนำประกันรถยนต์ของ insurverse ประกันออนไลน์ที่ตอบโจทย์ความสะดวกสบายในทุกด้านด้วยบริการระดับดีเยี่ยม รับประกันว่าถูกใจแน่นอน
Q: เขตปลอดภัย กลับรถได้ไหม
A: ห้ามกลับรถในเขตปลอดภัย เป็นกฎจราจรที่หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมต้องห้าม เพราะดูเหมือนจะเป็นจุดที่ค่อนข้างปลอดภัย แต่แท้จริงแล้ว การกลับรถในบริเวณนี้กลับเป็นอันตรายอย่างยิ่ง
Q: เขตปลอดภัยอยู่ตรงไหนของถนน
A: เขตปลอดภัย มักจะพบได้ตามจุดต่างๆ บนถนน โดยเฉพาะบริเวณที่ต้องการให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ หรือต้องการให้ผู้คนเดินข้ามถนนได้อย่างปลอดภัย เช่น กลางถนน ทางม้าลาย ป้ายหยุดป้ายบอกทาง
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
การทำประกันไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัย กลายเป็นเรื่องธรรมดาที่หลายคนเริ่มให้ความสำคัญมากขึ้นในยุคนี้ บางคนมีประกันหลายฉบับ บางคนทำไว้หลายบริษัท พอทำประกันไว้หลายฉบับ หลายบริษัท หลายปีติด ๆ กัน แล้วเล่มหายหรือจำไม่ได้ว่าทำไว้กับใคร ปัญหาเริ่มมาแบบไม่ทันตั้งตัว โชคดีที่ทุกวันนี้สามารถเช็คกรมธรรม์จากเลขบัตรประชาชนได้แล้ว ไม่ต้องไปขุดหาเอกสารเก่า ไม่ต้องโทรถามใครให้ยุ่ง
เวลาเกิดอุบัติเหตุแล้วบริษัทประกันของอีกฝ่ายโทรมาเรียกเก็บค่าซ่อม ใครไม่เคยเจอก็อาจจะคิดว่า “ก็แค่จ่ายไปสิ” แต่พอถึงเวลาจริง บางเคสค่าซ่อมอาจพุ่งไปถึงหลักแสนแบบไม่ทันตั้งตัว แถมบางคนไม่มีเงินก้อนพร้อมจ่ายทันที ก็เลยกลายเป็นคำถามยอดฮิตว่า ถ้าไม่มีเงินจ่าย ประกันเรียกค่าซ่อมแบบนี้ ผ่อนได้ไหม? แล้วจะคุยกับประกันยังไงให้ไม่โดนฟ้อง ต้องเตรียมตัวยังไงบ้างให้รอดจากสถานการณ์สุดเครียดนี้ทุกมุม มาหาคำตอบแบบไม่ต้องมโนกันในบทความนี้ดีกว่า การเลือกประกันรถยนต์ที่เข้าใจคนขับจริง ๆ เลยเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะ ประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่ให้เลือกความคุ้มครองเองได้ตามงบอย่าง insurverse ที่ช่วยให้ไม่ต้องจ่ายเบี้ยเกินจำเป็น แถมยังซื้อตรงไม่ผ่านตัวแทน ถูกจริงตั้งแต่แรก ไม่มีเงินจ่ายค่าซ่อมในทันที ทำไงดี ถ้าบริษัทประกันเรียกเก็บค่าซ่อมจากคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิด แล้วคนคนนั้นไม่มีเงินจ่ายเต็มจำนวน ไม่ต้องรีบจ่ายทันทีแบบหน้ามืดตามัว เพราะสามารถขอเจรจากับบริษัทประกันได้ตรง ๆ ว่าจะขอผ่อนจ่ายเป็นงวดได้ไหม ซึ่งประกันหลายเจ้าก็พร้อมรับฟัง ถ้ามีเหตุผลและความจริงใจที่จะจ่ายจริง วิธีนี้เรียกว่า การประนอมหนี้ คล้าย ๆ กับการตกลงกันว่า จะผ่อนเท่าไหร่ กี่งวด แล้วต้องมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบันทึกไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจตรงกัน และป้องกันปัญหาในอนาคต แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท ประกันของตัวเองช่วยอะไรได้บ้าง ในบางเคส คนที่เป็นฝ่ายผิดก็ยังมีประกันรถยนต์ของตัวเองอยู่ แบบนี้สบายใจได้ในระดับนึง เพราะประกันของเราจะเข้ามาช่วยดูแลค่าซ่อมในส่วนที่ครอบคลุมไว้ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ แต่ต้องไม่ใช่เคสที่เข้าข่ายถูกตัดสิทธิ เช่น เมาแล้วขับ หรือใช้รถผิดประเภท… Continue reading ประกันเรียกเก็บค่าซ่อม ผ่อนได้ไหม? รู้ทันทุกขั้นตอนก่อนโดนฟ้อง คุยจบ เคลียร์ได้ ไม่ต้องหนี
กรมธรรม์ คือ เอกสารสัญญาสำคัญระหว่างผู้เอาประกันกับบริษัทประกันภัย โดยจะระบุความคุ้มครองที่จะได้รับเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง