ผู้ใช้รถทุกคนเข้าใจดีกันว่า ทุกปีต้องต่อประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับซึ่งก็คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ที่เรียกว่า พ.ร.บ. เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะถ้าไม่ได้ต่อ พ.ร.บ. ก็จะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ ในกรณีที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ก็จะได้รับความคุ้มครองด้วย มาดูกันว่า พ.ร.บ. ทำอย่างไร ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง เบิกพ.ร.บ. กี่วันได้เงิน และเบิกอะไรได้บ้าง เป็นเรื่องสำคัญที่เจ้าของรถยนต์ควรรู้ไว้ วันนี้เรามีคำตอบให้แล้ว
รู้ไหมว่าถ้าเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ เราจะได้รับความคุ้มครองอย่างไรบ้าง ถ้าเกิดอุบัติเหตุและรถมีประกันภัย พ.ร.บ. ซึ่งเป็นประกันภัยภาคบังคับ คนใช้รถก็จะได้สิทธิความคุ้มครองผู้ประสบอุบัติเหตุจากรถก่อนเป็นอย่างแรก
สิ่งแรกที่ต้องรู้คือ เบิกประกัน พ.ร.บ. ต้องทำอย่างไร ทั้งนี้ เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น ควรติดต่อเจ้าหน้าที่บริษัทประกันที่เราได้ซื้อ พ.ร.บ. เอาไว้เพื่อแจ้งเคลมและเตรียมนำเอกสารต่าง ๆ ไปยื่นเรื่องเบิก พ.ร.บ. รถยนต์ ซึ่ง พ.ร.บ. จะช่วยคุ้มครองค่าเสียหายต่าง ๆ ให้แก่ผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยชอบธรรม
พ.ร.บ. รถยนต์คุ้มครองเกิดอุบัติเหตุเบิกอะไรได้บ้าง เบิกพ.ร.บ. กี่วันได้เงิน และได้เท่าไหร่
1.คุ้มครองความเสียหายเบื้องต้น จะได้รับค่าเสียหายทันทีโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด เช่น
2.ค่าสินไหมทดแทนกรณีบาดเจ็บหรือป่วยไข้ คือเงินชดเชยที่บริษัทประกันรถยนต์จ่ายให้กับฝ่ายที่ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุรถชนตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง หลังการพิสูจน์ถูกผิดแล้ว
3.ค่าสินไหมทดแทนกรณีทรัพย์สินเสียหาย
หากรถยนต์หรือทรัพย์สินของผู้เอาประกันหรือคู่กรณีได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุ ค่าสินไหมทดแทนจะครอบคลุมถึงค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถยนต์และค่าชดเชยความเสียหายของทรัพย์สินอื่น ๆ เช่น เสาไฟฟ้า รั้วบ้าน
การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนประกันรถยนต์ได้เงินกี่บาท ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของความเสียหายและกรมธรรม์ประกันภัยที่ถืออยู่ ในด้านความเสียหายต่อทรัพย์สิน จะประเมินตามมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง หากคู่กรณีไม่มีประกันภัย หรือเงินประกันไม่ครอบคลุมเต็มจำนวน ผู้เสียหายอาจต้องรับผิดชอบส่วนที่เกินวงเงินด้วยตนเอง สำหรับความเสียหายต่อร่างกายก็ขึ้นอยู่กับค่ารักษาพยาบาลตามจริง ตามเงื่อนไขของ พ.ร.บ. หรือกรมธรรม์
หลังจากที่บริษัทประกันได้รับเอกสารครบ เบิกพ.ร.บ. กี่วันได้เงิน โดยผู้ที่ยื่นเบิก พ.ร.บ. จะได้รับเงินภายใน 7-15 วันทำการ
เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชน ผู้เอาประกันจะต้องเตรียมเอกสารที่ใช้ในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนให้ครบถ้วน เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างราบรื่น ประกอบไปด้วย
กรณีที่มีผู้เสียชีวิต ต้องเตรียมสำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุและใบมรณบัตร, สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของทายาท ตลอดจนสำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ เป็นต้น
สำหรับผู้เอาประกันสามารถเข้าไปติดต่อกรมขนส่งทางบกของแต่ละจังหวัดเพื่อยื่นเอกสารต่อประกัน พ.ร.บ. ได้ โดยเอกสารที่ควรเตรียมให้พร้อม มีดังนี้
สุดท้ายนี้ก็คงทราบกันแล้วว่า เกิดอุบัติเหตุเบิกอะไรได้บ้าง เบิก พ.ร.บ. กี่วันได้เงิน ในส่วนของการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ แนะนำที่อินชัวร์เวิร์ด บริษัทประกันภัยรถยนต์ออนไลน์ที่คุณไว้วางใจได้ สามารถซื้อประกัน พ.ร.บ. แพคคู่กับประกันภาคสมัครใจก็ได้ ทั้งยังชำระเบี้ยประกันรถยนต์ผ่านเว็บไซต์ได้โดยไม่ต้องเดินทางอีกด้วย นับว่าง่ายและสะดวก
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นประจำทุกปีนั้นเป็นสิ่งที่จะสร้างความอุ่นใจ แต่หากลืมว่าทำ พ.ร.บ. รถยนต์ กับที่ไหน หมดอายุเมื่อไหร ตรวจสอบได้ดังนี้
ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์กี่บาท? ราคาเท่าไหร่? คำตอบขึ้นอยู่กับประเภทรถยนต์ เช่น รถเก๋ง 499 บาท รถกระบะ 799 บาท รถตู้ราคา 999 บาท ราคาถูกชัวร์แบบนี้ต้องที่ insurverse
พ.ร.บ. รถยนต์ หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เป็นประกันภาคบังคับที่เจ้าของรถทุกคันต้องทำ ซึ่งให้ความคุ้มครองผู้ประสบภัยไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิด