vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
เบิกพรบ กี่วันได้เงิน

เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ เบิกพ.ร.บ. กี่วันได้เงิน เบิกอะไรได้บ้าง

schedule
share

           ผู้ใช้รถทุกคนเข้าใจดีกันว่า ทุกปีต้องต่อประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับซึ่งก็คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ที่เรียกว่า พ.ร.บ. เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะถ้าไม่ได้ต่อ พ.ร.บ. ก็จะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ ในกรณีที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ก็จะได้รับความคุ้มครองด้วย มาดูกันว่า พ.ร.บ. ทำอย่างไร ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง  เบิกพ.ร.บ. กี่วันได้เงิน และเบิกอะไรได้บ้าง เป็นเรื่องสำคัญที่เจ้าของรถยนต์ควรรู้ไว้ วันนี้เรามีคำตอบให้แล้ว


ที่มารูปภาพ: https://pixabay.com/th/photos/อบตเหตรถชน-สายโทรศพท-ผหญง-6243099/

สิทธิของผู้ประสบอุบัติเหตุจากรถ

           รู้ไหมว่าถ้าเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ เราจะได้รับความคุ้มครองอย่างไรบ้าง ถ้าเกิดอุบัติเหตุและรถมีประกันภัย พ.ร.บ. ซึ่งเป็นประกันภัยภาคบังคับ คนใช้รถก็จะได้สิทธิความคุ้มครองผู้ประสบอุบัติเหตุจากรถก่อนเป็นอย่างแรก

           สิ่งแรกที่ต้องรู้คือ เบิกประกัน พ.ร.บ. ต้องทำอย่างไร ทั้งนี้ เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น ควรติดต่อเจ้าหน้าที่บริษัทประกันที่เราได้ซื้อ พ.ร.บ. เอาไว้เพื่อแจ้งเคลมและเตรียมนำเอกสารต่าง ๆ ไปยื่นเรื่องเบิก พ.ร.บ. รถยนต์  ซึ่ง พ.ร.บ. จะช่วยคุ้มครองค่าเสียหายต่าง ๆ ให้แก่ผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยชอบธรรม 

ความคุ้มครองเบื้องต้น เบิกอะไรได้บ้าง

           พ.ร.บ. รถยนต์คุ้มครองเกิดอุบัติเหตุเบิกอะไรได้บ้าง เบิกพ.ร.บ. กี่วันได้เงิน และได้เท่าไหร่ 

           1.คุ้มครองความเสียหายเบื้องต้น จะได้รับค่าเสียหายทันทีโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด เช่น

  • ในกรณีบาดเจ็บ พ.ร.บ. จ่ายตามค่ารักษาพยาบาลตามจริง สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท
  • ในกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวรทันทีหลังเกิดอุบัติเหตุรถชน พ.ร.บ. จะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้ไม่เกิน 35,000 บาทต่อคน
  • ในกรณีที่เสียชีวิตหลังจากรักษาพยาบาล จะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 30,000 บาท และค่าปลงศพอีกจำนวน 35,000 บาท รวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน  (หากเสียหายหลายกรณีรวมกัน จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน)

           2.ค่าสินไหมทดแทนกรณีบาดเจ็บหรือป่วยไข้ คือเงินชดเชยที่บริษัทประกันรถยนต์จ่ายให้กับฝ่ายที่ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุรถชนตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง หลังการพิสูจน์ถูกผิดแล้ว

  • ในส่วนของ พ.ร.บ. ประกอบด้วย ค่ารักษาพยาบาล จ่ายตามค่ารักษาจริงสูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท , ค่าชดเชยรายวัน กรณีต้องหยุดงานและเป็นผู้ป่วยใน 200 บาทต่อวัน แต่ไม่เกิน 20 วัน, กรณีเสียชีวิต ชดเชย 500,000 บาท, กรณีสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ มีค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูร่างกาย จะจ่ายชดเชย 200,000 – 500,000 บาท 

           3.ค่าสินไหมทดแทนกรณีทรัพย์สินเสียหาย

           หากรถยนต์หรือทรัพย์สินของผู้เอาประกันหรือคู่กรณีได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุ ค่าสินไหมทดแทนจะครอบคลุมถึงค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถยนต์และค่าชดเชยความเสียหายของทรัพย์สินอื่น ๆ เช่น เสาไฟฟ้า รั้วบ้าน

เบิก พ.ร.บ. กี่วันได้เงิน

           การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนประกันรถยนต์ได้เงินกี่บาท ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของความเสียหายและกรมธรรม์ประกันภัยที่ถืออยู่ ในด้านความเสียหายต่อทรัพย์สิน จะประเมินตามมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง หากคู่กรณีไม่มีประกันภัย หรือเงินประกันไม่ครอบคลุมเต็มจำนวน ผู้เสียหายอาจต้องรับผิดชอบส่วนที่เกินวงเงินด้วยตนเอง สำหรับความเสียหายต่อร่างกายก็ขึ้นอยู่กับค่ารักษาพยาบาลตามจริง ตามเงื่อนไขของ พ.ร.บ. หรือกรมธรรม์

           หลังจากที่บริษัทประกันได้รับเอกสารครบ เบิกพ.ร.บ. กี่วันได้เงิน โดยผู้ที่ยื่นเบิก พ.ร.บ. จะได้รับเงินภายใน 7-15 วันทำการ

หลักฐานที่ต้องเตรียม

           เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชน ผู้เอาประกันจะต้องเตรียมเอกสารที่ใช้ในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนให้ครบถ้วน เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างราบรื่น ประกอบไปด้วย 

  • สำเนาบัตรประชาชน ของผู้เอาประกันภัยและคู่กรณี (ถ้ามี)
  • สำเนาใบขับขี่รถยนต์ และสำเนาทะเบียนรถยนต์ ของทั้งสองฝ่าย
  • ภาพถ่ายจุดเกิดเหตุและความเสียหายของรถยนต์ทั้งก่อนซ่อมและขณะซ่อม
  • ใบเคลมจากบริษัทประกันภัย หรือแบบฟอร์มการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
  • สำเนาสำเนากรมธรรม์ประกันภัย ของผู้เอาประกัน
  • ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล (กรณีบาดเจ็บ)
  • หนังสือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนรถชน 
  • สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคาร

           กรณีที่มีผู้เสียชีวิต ต้องเตรียมสำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุและใบมรณบัตร, สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของทายาท ตลอดจนสำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ เป็นต้น

           สำหรับผู้เอาประกันสามารถเข้าไปติดต่อกรมขนส่งทางบกของแต่ละจังหวัดเพื่อยื่นเอกสารต่อประกัน พ.ร.บ. ได้ โดยเอกสารที่ควรเตรียมให้พร้อม มีดังนี้ 

  • สำเนาบัตรประชาชน 
  • สำเนาทะเบียนบ้าน 
  • สำเนาทะเบียนรถ หรือเล่มจริง

           สุดท้ายนี้ก็คงทราบกันแล้วว่า เกิดอุบัติเหตุเบิกอะไรได้บ้าง เบิก พ.ร.บ. กี่วันได้เงิน ในส่วนของการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ แนะนำที่อินชัวร์เวิร์ด บริษัทประกันภัยรถยนต์ออนไลน์ที่คุณไว้วางใจได้  สามารถซื้อประกัน พ.ร.บ. แพคคู่กับประกันภาคสมัครใจก็ได้ ทั้งยังชำระเบี้ยประกันรถยนต์ผ่านเว็บไซต์ได้โดยไม่ต้องเดินทางอีกด้วย นับว่าง่ายและสะดวก

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย