vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
วิธีติดป้ายพรบ รถยนต์ทำยังไง?

วิธีติดป้ายพ.ร.บ รถยนต์ทำยังไง? ให้เนียนและเนี๊ยบ แบบไร้คราบกาว

schedule
share

สิ่งที่หลายๆ คนเรียกกันติดปากว่าป้ายพรบ รถยนต์ ที่จริงแล้วก็คือป้ายภาษีรถยนต์นั่นเอง แต่ที่เรียกกันแบบนั้นเพราะส่วนใหญ่เรามักจะไปต่อพ.ร.บ. และเสียภาษีรถยนต์พร้อมๆ กัน หากได้ป้ายมาแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่เราควรรู้วิธีติดแผ่นพรบหรือป้ายภาษีให้ถูกต้อง ว่าควรติดตรงไหน ติดอย่างไรกันแน่ เพื่อให้ได้เทคนิควิธีติดป้ายภาษีรถยนต์ที่ถูกวิธี ติดแน่นทนนานไม่หลุดหายออกไป

วิธีติดป้ายพรบ รถยนต์ทำยังไง?

ป้ายภาษีและป้ายพรบ รถยนต์ คืออย่างเดียวกันไหม ต่างกันยังไง

ความจริงแล้วพ.ร.บ. รถยนต์กับป้ายภาษีรถยนต์ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน แต่คุณต้องทำทั้งสองอย่างในเวลาไล่เลี่ยกัน จึงอาจทำให้มีความสับสนอยู่บ้าง โดยคุณต้องต่อพ.ร.บ.ก่อนแล้วจึงไปเสียภาษีได้

1. ป้ายภาษีรถยนต์

ป้ายวงกลมหรือป้ายภาษีรถยนต์ จะมีลักษณะเป็นแผ่นป้ายติดเอาไว้ที่รถ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเราต่อพ.ร.บ.และจ่ายภาษีเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะมีข้อมูลเลขทะเบียนรถ, ยี่ห้อรถและวันสิ้นอายุความคุ้มครองให้เห็น

2. พ.ร.บ. รถยนต์

ใบพรบรถยนต์คือประกันภัยภาคบังคับที่รถทุกคันต้องทำ เพื่อรับความคุ้มครองในการใช้รถใช้ถนนอย่างเท่าเทียม ใบนี้เราไม่ต้องนำเอกสารใดๆ มาติดแสดงที่รถ เพราะการติดป้ายวงกลมก็หมายถึงการต่อพ.ร.บ.เรียบร้อยแล้วนั่นเอง จึงทำให้เรามักเรียกป้ายดังกล่าวกันว่าป้ายพรบ รถยนต์นั่นเอง

วิธีติดป้ายพรบ รถยนต์และรถมอเตอร์ไซต์

1. ติดพรบ รถยนต์ ตรงไหนดีและติดอย่างไร

ตำแหน่งการติดป้ายพรบ รถยนต์ที่ถูกต้อง ควรติดที่ด้านในของกระจกหน้ารถ โดยให้หันข้อความด้านเลขทะเบียนและวันหมดอายุออกด้านนอกรถเพื่อให้แสดงการเสียภาษีชัดเจน ส่วนวิธีการติดมักจะติดด้วยแผ่นติดพรบ สุญญากาศ บางที่จะมีแจกให้ฟรีหรือสามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าชั้นนำทั่วไป ก็จะช่วยลดปัญหาคราบกาวบนกระจกได้

1.1. วิธีติดป้ายพรบ รถยนต์ ด้วยแผ่นติดพรบ สุญญากาศทำอย่างไร

1.1.1 เช็ดทำความสะอาดอย่าให้มีฝุ่นบริเวณที่จะติด

1.1.2. ลอกแผ่นสุญญากาศออกจากแผ่นรอง

1.1.3. วางแผ่นป้ายพรบ รถยนต์ให้ได้ตำแหน่งพอดีกับช่องสุญญากาศ

1.1.4. แปะตัวสุญญากาศติดกับกระจก แล้วค่อยๆ รีดอากาศออกให้หมด

ราคาพรบ รถยนต์แต่ละประเภท ต้องจ่ายเท่าไหร่

อัตราราคา พรบ รถยนต์ 2566 จะแตกต่างกันไปตามประเภทของรถยนต์ ดังนี้

1. รถยนต์โดยสาร

  • รถยนต์เก๋ง ไม่เกิน 7 ที่นั่ง 600 บ.
  • รถตู้ 7-15 ที่นั่ง 1,100 บ.
  • รถโดยสาร 15-20 ที่นั่ง 2,050 บ.
  • รถโดยสาร 20-40 ที่นั่ง 3,200 บ.

2. รถกระบะ/รถบรรทุก

  • รถกระบะ น้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน 900 บ.
  • รถบรรทุก น้ำหนัก 3-6 ตัน 1,220 บ.
  • รถบรรทุก น้ำหนัก 6-12 ตัน 1,310 บ.

สรุป

หากทำความเข้าใจเรื่องป้ายพรบ รถยนต์หรือป้ายภาษีรถยนต์ รวมทั้งวิธีติดแผ่นพรบกันไปเรียบร้อยแล้ว ก็อย่าลืมเช็กราคาพรบ รถยนต์ของคุณก่อน เพื่อจะได้ต่ออายุก่อนหมดอายุ ที่ insurverse มีบริการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ให้คุณด้วยเช่นกัน ต่อได้ง่ายบนหน้าเว็บไซต์ได้เลย หากคุณต้องการต่อภาษีรถยนต์ พรบ รถยนต์ราคาถูกกว่า แบบรวดเร็วทันใจ ไม่ต้องเสียเวลาไปต่อคิวที่ไหน สามารถคลิกเปรียบเทียบราคา พ.ร.บ. จาก insurverse ที่นี่ได้เลย มีให้คุณครบทุกความต้องการด้านการประกันภัยที่ได้รับการดูแลตลอด 24 ชั่วโมง

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)