หากเกิดอุบัติเหตุแล้วต้องเคลมค่าเสียหายจาก พ.ร.บ.รถยนต์ที่ทำไว้ แต่ดันไม่เข้าเงื่อนไข หรือตกไปอยู่ในข้อยกเว้นของการคุ้มครองจาก พ.ร.บ. รับรองว่าค่าใช้จ่ายบานปลายแน่นอน เพราะฉะนั้นตรวจสอบข้อยกเว้นเอาไว้ก่อนดีกว่า เผื่อเกิดอุบัติเหตุแบบกระทันหัน จะได้เตรียมรับมือได้ทัน
พ.ร.บ.รถยนต์ เป็นข้อกฎหมายที่มีการบังคับใช้ เพราะจะให้ความคุ้มครองผู้ที่ประสบภัยจากการใช้รถ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ คู่กรณี หรือผู้ประสบภัยที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดอุบัติเหตุ ก็จะได้รับการช่วยเหลือทั้งค่ารักษาพยาบาล และค่าชดเชยความเสียหาย
การคุ้มครองจะแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ค่าเสียหายเบื้องต้น ซึ่งจะมีการจ่ายค่าเสียหายในกรณีบาดเจ็บไม่เกิน 30,000 บาท/คน การสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร และเสียชีวิต จำนวน 35,000 บาท/คน ซึ่งเป็นจำนวนเงินตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
การคุ้มครองอีกประเภท คือ ค่าเสียหายส่วนเกิน กรณีบาดเจ็บ จะจ่ายชดเชยค่ารักษาพยาบาล รวมค่าสินไหมทดแทนให้ไม่เกิน 80,000 บาท/คน การสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร และเสียชีวิต จำนวน 300,000 บาท รวมค่ารักษาพยาบาลด้วย และในกรณีที่เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลแบบผู้ป่วยใน จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน
เชื่อว่าผู้ที่ใช้รถใช้ถนนที่ทำ พ.ร.บ.รถยนต์ ก็จะทราบดีอยู่แล้วว่า พ.ร.บ.จะคุ้มครองผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์อุบัติเหตุในทุกกรณี แต่ก็มีเงื่อนไขบางประการที่ควรจะศึกษาไว้ให้ดี ไม่อย่างนั้นอาจไม่ได้รับความคุ้มครองและต้องเสียค่าใช้จ่ายทั้งหมดเองเลยก็ได้
ทำไมจะต้องตรวจสอบข้อยกเว้นของการคุ้มครองจาก พ.ร.บ.รถยนต์? ก็เพราะว่าหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา แต่ดันอยู่ในเงื่อนไขเหล่านั้น ก็จะไม่ได้รับการคุ้มครอง และอาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเยอะก็ได้ ทางที่ดีเราควรจะตรวจสอบข้อยกเว้นทั้งของ พ.ร.บ.รถยนต์ และประกันภัยแบบสมัครใจให้ดี เพื่อรักษาผลประโยชน์ของเรามากที่สุดนั่นเอง
หากเราปฎิบัติถูกต้องตามกฎหมาย ก็ไม่มีอะไรให้ต้องกังวล เพราะข้อยกเว้นของ พ.ร.บ.รถยนต์ไม่ได้มีอะไรที่จุกจิก ยิบย่อยเลย และหากใครที่กำลังมองหา พ.ร.บ.รถยนต์ ราคาถูก เช็กราคาได้วยตัวเองทุกที่ ทุกเวลา ไม่ควรพลาดกับ พ.ร.บ.รถยนต์ กับ insurverse ซื้อได้ที่นี่เลย
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
สมรรถนะรถยนต์ไฟฟ้าเทียบเท่าได้กับรถยนต์ทั่วไป เหนือระดับด้วยความเป็น รถไฟฟ้า ev ประหยัดพลังงาน
หลายๆ คนที่ขับรถน่าจะรู้กันอยู่แล้วล่ะ ก่อนต่อภาษีรถยนต์ต้องต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ซะก่อน แต่ตรงขั้นตอนชำระภาษีใน dlt vehicle tax เนี่ยสิทำยังไง
ในยุคที่โลกดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน การทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ก็กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว รวมถึงการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ที่ง่าย