vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
ซื้อ พ.ร.บ.รถเก๋งออนไลน์ได้ไหม เริ่มต้นที่ราคาเท่าไหร่

รู้จักกับพ.ร.บ.รถ 4 ประตูว่ามีกี่ประเภท ราคาเท่าไหร่บ้าง

schedule
share
รู้จักกับพ.ร.บ.รถ 4 ประตูว่ามีกี่ประเภท ราคาเท่าไหร่บ้าง

ผู้ขับขี่รถยนต์ 4 ประตู อย่างรถเก๋งหรือรถกระบะ เมื่อพ.ร.บ.ใกล้หมดอายุ คงกำลังมองหาช่องทางต่อพ.ร.บ.ใช่หรือไม่? แต่ราคาพ.ร.บ.รถยนต์ ก็มีหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นพ.ร.บ.รถโดยสาร พ.ร.บ.รถบรรทุก และพ.ร.บ.รถมอเตอร์ไซค์ ทำให้ไม่ทราบว่าตกลงแล้ว พ.ร.บ.แบบไหน คือ พ.ร.บ.รถ 4 ประตู ดังนั้นมาดูกันเลยดีกว่าว่าสำหรับรถ 4 ประตู ราคาพ.ร.บ. เท่าไหร่กันแน่

พ.ร.บ.รถ 4 ประตูราคาเท่าไหร่ในปี 2567

รถ 4 ประตูประกอบไปด้วยรถเก๋ง, รถ EV และรถกระบะ โดยแต่ละประเภทมีราคาแตกต่างกันดังนี้

1.รถยนต์ส่วนบุคคลที่มีที่นั่งไม่เกิน 7 คน หรือ รถยนต์ประเภท รย.1 ราคาพ.ร.บ. เริ่มต้น 600 บาท ตัวอย่างของรถกลุ่มนี้ได้แก่

  • รถเก๋งตอนเดียว
  • รถเก๋ง 2 ตอน
  • รถเก๋ง 2 ตอนแวน

2. รถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคลที่มีที่นั่งไม่เกิน 7 คน หรือ รถ EV ราคาพ.ร.บ. 600 บาท

3.รถยนต์ส่วนบุคคลที่มีที่นั่งเกิน 7 คน แต่ไม่ถึง 15 คน หรือรถยนต์ประเภท รย.2 ราคาพ.ร.บ. 1,100 บาท ตัวอย่างของรถรย .2 เช่น รถเก๋ง 3 ตอน 4 ประตู เป็นต้น

4.รถยนต์บรรทุก ชนิดน้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน ราคาพ.ร.บ. 1,220 บาท

ความคุ้มครอง พ.ร.บ.รถ 4 ประตู เหมือนหรือแตกต่างจากพ.ร.บ.รถยนต์อย่างไร

พ.ร.บ.รถ 4 ประตู ให้ความคุ้มครองเหมือนกับพ.ร.บ. รถยนต์ทุกประการ กล่าวคือ ให้ความคุ้มครอง 2 กรณีคือ 1.กรณีที่ไม่สนว่าฝ่ายใดถูกหรือผิด หรือไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด และ 2.กรณีที่เป็นฝ่ายถูกต้องตามกฎหมาย โดยความคุ้มครองที่ได้รับ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1.กรณีไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด

ค่ารักษาพยาบาลจ่ายตามจริง สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน

เสียชีวิต ทุพพลภาพถาวร หรือสูญเสียอวัยวะ สูงสุดไม่เกิน 35,000 บาทต่อคน

2.กรณีเป็นฝ่ายถูก

ค่าชดเชยเมื่อต้องนอนพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน วันละ 200 บาท ชดเชยสูงสุด 20 วัน

ค่ารักษาพยาบาล จ่ายตามจริงสูงสุด 80,000 บาทต่อคน

สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร ชดเชยสูงสุด 500,000 บาทต่อคน

กรณีเสียชีวิต ชดเชยสูงสุด 500,000 บาท

หลังเกิดอุบัติเหตุแล้ว สามารถดำเนินเรื่องเพื่อขอเคลมประกัน ผ่านบริษัทที่ได้ซื้อ พ.ร.บ.รถยนต์ ไป ซึ่งการดำเนินเรื่องเพื่อเบิกพ.ร.บ. จะใช้เวลาประมาณ 180 วันหลังเกิดอุบัติเหตุ

ส่วนเอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการเคลมประกัน มีดังต่อไปนี้

1.สำเนาทะเบียนบ้าน

2.สำเนาทะเบียนรถคันที่เกิดเหตุ

3.สำเนาใบขับขี่ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (ในกรณีที่ผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับรถ)

4.ใบแจ้งความ

5.สำเนาใบกรมธรรม์ พ.ร.บ.

6.สำเนาบัตรประชาชน ของผู้ประสบภัย

และถ้าต้องการเบิกค่ารักษาพยาบาล ให้เตรียมเอกสาร ได้แก่

1. สำเนาบัตรประชาชน

2.ใบรับรองแพทย์ ยืนยันว่าเคยรับการรักษาในฐานะผู้ป่วยในจริงประกอบการเคลมด้วย

ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่า พ.ร.บ.รถ 4 ประตู ให้ความคุ้มครองส่วนของคนเท่านั้น ไม่ได้ให้ความคุ้มครองในส่วนของรถยนต์ ทำให้หลังจากเกิดอุบัติเหตุแล้วต้องเสียเงินซ่อมรถยนต์จำนวนมาก อย่างไรก็ตามถ้าต้องการเลือกความคุ้มครองด้วยตนเอง เพื่อความคุ้มครองอย่างครอบคลุมสมัครประกันชั้น 1 ของ Insurverse ประกันภัยในเครือทิพย จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถยนต์ไม่น้อย แถมทาง Insurverse ยังเสนอโปรโมชันพิเศษที่ทำให้คุณได้รับ พ.ร.บ. และประกันชั้น 1 ในราคาประหยัดอีกด้วย เช็กเบี้ย พ.ร.บ. ที่นี่!

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)