vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
พ.ร.บ.รถยนต์มีกี่ประเภท แตกต่างกันอย่างไร

พ.ร.บ.รถยนต์ มีกี่ประเภท แตกต่างกันอย่างไร

schedule
share
พ.ร.บ.รถยนต์ มีกี่ประเภท แตกต่างกันอย่างไร

นอกจากการทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจแล้ว สิ่งจำเป็นไม่แพ้กันและต้องทำก่อนเสมอ ทั้งทุกหลังจากออกรถใหม่ หรือการซื้อรถเป็นของตัวเองคือทำ พ.ร.บ.รถยนต์ หรือประกันภาคบังคับ ที่คนมีรถจะต้องทำเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองเบื้องต้น ซึ่งในเบื้องต้นในที่นี้หมายถึงความคุ้มครองในเรื่องของ ค่าเสียหายเบื้องต้น ค่าสินไหมทดแทนต่าง ๆ วันนี้เพื่อให้คนมีรถเข้าใจมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับพ.ร.บ.รถยนต์ ชวนคุณมาทำความเข้าใจว่าพ.ร.บ.รถยนต์ มีกี่ประเภทให้ความคุ้มครองแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร

.ร.บ.รถยนต์ มีกี่ประเภท มาเช็กกัน

ก่อนอื่นทำความเข้าใจ ก่อนว่า พ.ร.บ.รถยนต์ แบ่งตามลักษณะของรถ ขนาดเครื่องยนต์ ดังนี้

ประเภทรถยนต์ส่วนบุคคล

  • รถยนต์ที่นั่งไม่เกิน 7 คน หรือรถเก๋ง

ประเภทรถยนต์โดยสาร เช่น

  • รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง หรือรถตู้
  • รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง
  • รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง
  • รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 40 ที่นั่ง

ประเภทรถยนต์โดยสารหมวด 4 หรือรถยนต์วิ่งระหว่างอำเภอกับอำเภอในจังหวัด

  • รถยนต์โดยสารขนาดไม่เกิน 15 ที่นั่ง
  • รถยนต์โดยสารขนาดเกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง
  • รถยนต์โดยสารขนาดเกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง
  • รถยนต์โดยสารขนาดเกิน 40 ที่นั่ง

ประเภทรถยนต์บรรทุก แบ่งตามน้ำหนัก

  • รถยนต์บรรทุกน้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน
  • รถยนต์บรรทุกน้ำหนักเกิน 3 ตัน ไม่เกิน 6 ตัน
  • รถยนต์บรรทุกน้ำหนักเกิน 6 ตัน ไม่เกิน 12 ตัน
  • รถยนต์บรรทุกน้ำหนักเกิน 12 ตัน
  • ประเภทรถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส
  • รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส ขนาดน้ำหนักรวมไม่เกิน 12 ตัน
  • รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส ขนาดน้ำหนักรวมเกิน 12 ตัน

รถยนต์ประเภทอื่น ๆ

  • รถยนต์ป้ายแดง
  • รถยนต์ที่ใช้ในการเกษตร

โดยการให้ความคุ้มครอง นั้นจะเป็นไปตาม ที่กฎหมายได้กำหนดไว้ ดังต่อไปนี้

  • ในด้านของค่าเสียหายเบื้องต้นที่ได้แก่ กรณีบาดเจ็บ จะมีการจ่ายค่าชดเชยให้ไม่เกิน 30,000 บาทส่วนในกรณีเสียชีวิตจะได้รับค่าชดเชยคนละ 35,000 บาท 

นอกจากค่าเสียหายเบื้องต้นแล้ว พ.ร.บ. ให้ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมด้วยซึ่งในส่วนนี้จะจ่ายภายหลังเมื่อมีการพิสูจน์หลักฐานแล้วว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายถูก ฝ่ายผิด

  • ค่าสินไหมจะเป็นในเรื่องของ ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ ด้วยจ่ายไม่เกิน 80,000 บาท หรือต้องนอนพักรักษาตัว และได้รับค่าชดเชยวันละ 200 บาท
  • นอกจากนั้นยังมีค่าสินไหมทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน ผู้เสียหายจะได้รับค่าชดเชยคนละ 250,000 บาท

เหล่านี้เป็นเพียงความคุ้มครองที่ได้รับเบื้องต้นเท่านั้น พรบยังให้ความคุ้มครองในด้านอื่น ๆ ด้วย อย่างเช่นกรณีทุพพลภาพถาวร จะได้รับ เงินชดเชยคนละ 500,000 บาท จะเห็นได้ว่าจากความคุ้มครองเหล่านี้ช่วยบรรเทาทุกข์ให้กับทั้งคู่กรณี รวมถึงคนที่มีพรบรถยนต์

วันนี้คนมีรถไม่ว่าจะสำหรับใช้ในการเดินทางเพื่อความสะดวกในชีวิต หรือใช้ในการสร้างรายได้ อย่างคนที่ขับรถ ขนส่ง หรือการใช้รถยนต์ในการให้บริการ ขับรถส่งผู้โดยสาร อย่าลืมเช็กว่าวันนี้รถของคุณมี พ.ร.บ.รถยนต์ แล้วหรือยังหากยังไม่มี แนะนำให้ไปต่อโดยด่วน เช็กเบี้ย พ.ร.บ. ได้ที่นี่! เพื่อให้มั่นใจว่าหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดคาดฝันบนท้องถนน ไม่ว่าจะเป็นการเกิดอุบัติเหตุที่ตนเป็นฝ่ายผิด หรือหากกังวลเรื่องจการเฉี่ยวชน เล็ก ๆ น้อย ๆ แม้จะไม่ร้ายแรงถึงขั้นเสียหายทางร่างกายแต่ก็เสียหายทางทรัพย์สิน ลด มีรอยขีดข่วน รอยบุบ แนะนำทำประกันภาคสมัครใจควบคู่ไปด้วย ที่วันนี้มีให้เลือกหลายชั้น ถือว่าเป็นตัวช่วยสร้างความอุ่นใจอย่างที่บริษัท insurverse ซื้อประกันออนไลน์ 100% แห่งนี้ พร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ซื้อประกันออนไลน์ให้ความคุ้มครองทันทีมั่นใจเชื่อถือได้เพราะเป็นประกันในเครือทิพยประกันภัย

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)