vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
ประมาท ร่วม

ไขข้อสงสัย ประมาทร่วม คืออะไร? เบิก พ.ร.บ. กับประกันได้หรือไม่

schedule
share
ที่มารูปภาพ: https://pixabay.com/th/photos/ขนสง-การจราจร-รถยนต-อบตเหต-3146193/

           เมื่อพูดถึงอุบัติเหตุบนท้องถนน ถ้าเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจากสองฝ่ายขึ้นไป นอกจากไม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประมาท บ่อยครั้งเราได้ยินคำว่า ประมาทร่วม ส่วนความหมายคืออะไร ใครเป็นฝ่ายต้องรับผิดชอบ สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจาก พ.ร.บ. รถยนต์ และประกันภัยรถยนต์ที่ทำไว้ได้หรือไม่ มาไขข้อสงสัยในบทความนี้ เผื่อว่าจะตัดสินใจได้ง่ายขึ้นด้วยว่าทำประกันไว้ดีไหม 

ประมาทร่วม คืออะไร มีในกฎหมายไหม

ความจริงแล้วในทางกฎหมาย ไม่มีข้อหา “ประมาทร่วม” แต่เป็นคำที่หลายคนใช้กันเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นว่าอุบัติที่เหตุที่เกิดขึ้นเกิดจากความประมาทของสองฝ่าย ทำผิดกฎหมายจราจรจนทำให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น การชนกันในวงเวียน รถสองคันเข้าสู่วงเวียนพร้อมกันโดยไม่มีใครชะลอเพื่อให้รถที่อยู่ในวงเวียนไปก่อนตามกฎจราจร ส่งผลให้เกิดการชนกลางวงเวียน ซึ่งทั้งสองฝ่ายประมาทร่วมจนทำให้เกิดอุบัติเหตุรถชนเพราะละเมิดกฎจราจรเรื่องการให้สิทธิ์รถในวงเวียน โดยในทางกฎหมายจะใช้คำว่า “ต่างฝ่ายต่างประมาท” ทำไปโดยขาดความระมัดระวัง ไม่ได้มีเจตนาจะขับมาชนกัน ศาลจะตัดสินให้ต่างฝ่ายแยกย้ายไปรับผิดชอบความเสียหายด้วยตนเอง มีทั้งค่าซ่อมรถ ค่ารักษาพยาบาล และอื่น ๆ หากฝ่ายใดประมาทมากกว่า อาจต้องชดใช้ค่าเสียหายหรือจ่ายค่าทำขวัญให้อีกฝ่ายด้วย

ประมาทร่วม ต้องจ่ายค่าเสียหายไหม  พ.ร.บ. คุ้มครองอะไรบ้าง

หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้ว คำว่าประมาทร่วมจะหมายถึงต่างฝ่ายต่างมีส่วนผิดเหมือนกัน ต่างฝ่ายแยกย้ายกันไปเคลมค่าซ่อมรถยนต์และค่ารักษาพยาบาลกับประกันของตัวเองได้เลย ในกรณีที่มี พ.ร.บ. สามารถใช้สิทธิ์ค่ารักษาพยาบาลได้เลย แต่ พ.ร.บ. จะคุ้มครองเฉพาะค่ารักษาพยาบาลเท่านั้น ค่าซ่อมแซมหรือค่าอื่น ๆ จะต้องจ่ายเอง

           อย่างที่เกริ่นไว้ข้างต้น ถ้าหากไม่ทำประกัน ก็ยังใช้สิทธิ์จาก พ.ร.บ. คุ้มครองได้ โดยได้รับค่าชดเชยเฉพาะค่ารักษาพยาบาลหรือค่าปลงศพเท่านั้น ไม่รวมค่าเสียหายของทรัพย์สินด้วย

คนใช้รถต้องรู้ เราเป็นฝ่ายผิด เบิก พ.ร.บ. กันประกันได้ไหม

           ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุแบบประมาทร่วม  หมายความว่าทั้งสองฝ่ายต่างกระทำความผิด แน่นอนว่าแต่ละฝ่ายต้องแยกย้ายกันไปรับผิดชอบค่าเสียหายกันเอง แทบทุกอย่างจะต้องแชร์กันจ่าย ไม่ว่าจะเป็นค่าซ่อมรถ, ค่ารักษาพยาบาล หรือค่าเสียหายของบุคคลที่ 3 หากพิสูจน์ได้ว่าฝ่ายใดประมาทมากกว่า ก็จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้อีกฝ่ายตามสมควร ส่วนจะแบ่งความรับผิดชอบยังไงไปดูกัน

           กรณีที่เราเป็นฝ่ายผิด เบิก พ.ร.บ. กับประกันได้ไหม ไม่ว่าคุณจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิดก็ตาม สามารถเคลม พ.ร.บ. ได้ เพราะ พ.ร.บ. ให้ความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งจะดูแลค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยโดยไม่รอพิสูจน์ความผิด ในส่วนของคู่กรณีบาดเจ็บ สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลจาก พ.ร.บ. ที่ทำเอาไว้ได้ เว้นแต่ คู่กรณีขับรถไม่มี พ.ร.บ. จะไม่สามารถเคลม เรียกค่าเสียหายเบื้องต้น ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด และจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้อีกฝ่ายด้วย

           สำหรับประกันรถยนต์ที่เราทำไว้จะรับผิดชอบส่วนต่างที่เหลือ ไม่ว่าคุณจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิดก็เคลมประกันได้ตามแผนกรมธรรม์ที่ทำไว้ เช่น  ค่าเสียหาย ค่ารักษาพยาบาล เงินชดเชย ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในอุบัติเหตุทั้งหมด อย่างไรก็ตามกรณีที่ทำประกันชั้น 2 หรือ 3 จะไม่คุ้มครองความเสียหายรถของเรา ยิ่งถ้าหากไม่ได้ทำประกัน ต่างฝ่ายต้องรับผิดชอบค่าเสียหายกันเอง

ประกันแบบไหน เคลมคู่กรณีบาดเจ็บ

หลังเกิดอุบัติเหตุ ในกรณีที่รถคันของคู่กรณีมีผู้บาดเจ็บ ไม่ว่าจะเป็นประกันรถยนต์ชั้นไหนก็เคลมกรณีคู่กรณีบาดเจ็บได้ เท่ากับว่าประกันภาคสมัครใจคือ ประกันชั้น 1, ชั้น 2+, ชั้น 3+ และชั้น 3 ล้วนให้ความคุ้มครองการบาดเจ็บและเสียชีวิตของบุคคลภายนอกทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคู่กรณีหรือคนเดินถนน โดยแต่ละประเภทจะมีเงื่อนไขความคุ้มครองที่แตกต่างกัน เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ความคุ้มครองจากประกันแต่ละชั้น มีดังนี้

  • ในกรณีที่รถยนต์ของทั้งสองฝ่ายทำประกันชั้น 1 ทั้งคู่ก็สบายใจได้เลย  ประกันรถยนต์จะให้ความคุ้มครองครอบคลุมทั้งรถยนต์ของคู่กรณี และรถยนต์ของเรา รวมไปถึงทรัพย์สิน และบุคคลภายนอก 
  • ถ้าเป็นประกันชั้น 2+ และ 3+ จะได้รับความคุ้มครองทั้งรถเราและรถยนต์ของคู่กรณี
  • ถ้าหากทำประกันชั้น 3 ต้องซ่อมรถเองเท่านั้น เนื่องจากประกันไม่ได้ให้ความคุ้มครองส่วนนี้ด้วย

           จะเห็นว่าการมีประกันภาคสมัครใจ ถือว่าเป็นความคุ้มครองที่ครอบคลุมในหลายส่วน หากเกิดอุบัติไม่ว่าจะเพราะประมาทร่วมหรือไม่ แผนกรมธรรม์ที่เลือกก็จะช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายได้ไม่มากก็น้อย มีประกันไว้จึงดีกว่าไม่มี 

           จริง ๆ แล้ว ประมาทร่วมไม่มีในข้อกฎหมาย แต่จะใช้ว่าทั้งสองฝ่ายทำการประมาทด้วยกันทั้งคู่ หากประมาทร่วมแล้วคู่กรณีบาดเจ็บ สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลจาก พ.ร.บ. ที่ทำเอาไว้ได้ ถ้ามีส่วนต่างที่เหลือก็ให้ประกันรถยนต์ที่ทำไว้รับผิดชอบ โดยคนที่ประมาทกว่าอาจต้องชดใช้ค่าเสียหายให้อีกฝ่ายด้วย


           อย่างไรก็ตามหากคู่กรณีบาดเจ็บหรือเสียชีวิต สามารถเบิกจาก พ.ร.บ. รถยนต์ได้ ไม่ว่าประกันรถยนต์ชั้น 1, 2+, 3+, 3  ความคุ้มครองของประกัน พ.ร.บ. ช่วยบรรเทาความทุกข์ร้อนในยามเมื่อเกิดเหตุได้

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย