vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
รถยนต์ไฟฟ้ารถ(EV)ต้องทำประกันภาคบังคับ(พ.ร.บ)หรือไม่?

รถยนต์ไฟฟ้ารถ(EV)ต้องทำประกันภาคบังคับ(พ.ร.บ)หรือไม่?

schedule
share
รถยนต์ไฟฟ้ารถ(EV)ต้องทำประกันภาคบังคับ(พ.ร.บ)หรือไม่?
ที่มารูปภาพ: https://pixabay.com/th/photos/จดชารจ-ทกวน-ไฟฟา-คาใชจาย-1645270/

ปัจจุบันรถยนต์ EV CAR กำลังได้รับความนิยม เพราะช่วยให้เจ้าของรถประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของน้ำมันเชื้อเพลิง หลายคนเป็นกังวลเกี่ยวกับการเสียภาษีประจำปีและการ ซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์ ออนไลน์ หรือประกันภัยภาคบังคับ ซึ่งจะทำให้มีราคาที่ค่อนข้างสูงกว่ารถเติมน้ำมันปกติ เพราะกฎหมายเดิมจะให้เสียภาษีตามจำนวนซีซีของรถ ในส่วนของรถไฟฟ้าจะทำการจัดเก็บภาษีตามน้ำหนักรถ โดยมีวิธีคิดดังนี้

อัตราภาษีรถที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังไฟฟ้าตาม พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 แก้ไขล่าสุด

ให้จัดเก็บภาษีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคนตามน้ำหนักรถ นั่นหมายความว่า รถยนต์ ไฟฟ้า มีน้ำหนักเท่าไร ให้เจ้าของรถเสียภาษีตามจำนวนที่กรมขนส่งกำหนด ตามตารางตัวอย่างดังนี้

น้ำหนักรถ (กิโลกรัม)ภาษีสำหรับรถไฟฟ้า
ต่ำกว่า 500150
501 – 750300
751 – 1,000450
1,001 – 1,250800
1,251 – 1,5001,000
1,501 – 1,7501,300
1,751 – 2,0001,600

นั่นเท่ากับว่ารถยิ่งมีน้ำหนักมากเท่าใดอัตราภาษีรถไฟฟ้ายิ่งแพงมากยิ่งขึ้น แต่หากเทียบกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแบบเจ็ดที่นั่ง 4 ประตู ที่มีปริมาณ 3,000 ซีซี นับว่าอัตราภาษีรถไฟฟ้าถูกกว่ามาก

รถไฟฟ้าต้องทำ พ.ร.บ. หรือไม่

สำหรับรถไฟฟ้าเองถึงแม้ว่าจะขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าจำเป็นที่จะต้องเสียภาษีและ พ.ร.บ.รถยนต์ ด้วย โดยรถไฟฟ้า พ.ร.บ. รถยนต์ราคาอาจไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากข้อกำหนดเดิมเท่าใดนัก เนื่องจากเป็นประกันภัยภาคบังคับที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะบุคคลมากกว่าตัวรถ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ค่าเสียหายเบื้องต้น ไม่ต้องรอผลพิสูจน์ถูก-ผิด

  • กรณีบาดเจ็บ จะได้รับค่าเสียหายเพื่อจ่ายค่ารักษาพยาบาลสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร จะได้รับค่าเสียหายชดเชยเบื้องต้น 35,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิตหลังเข้ารับการรักษา จะได้รับค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 30,000 บาท และค่าปลงศพอีก 35,000 บาท รวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาท

ค่าสินไหมทดแทนหรือเงินชดเชยที่ฝ่ายถูกจะได้รับ เมื่อมีการพิสูจน์ถูก-ผิดแล้ว

  • กรณีบาดเจ็บ จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อจ่ายค่ารักษาพยาบาลสูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท
  • กรณีสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพอย่างถาวร หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง จะได้รับค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่ 200,000 – 500,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิต จะได้รับค่าสินไหมทดแทน 500,000 บาท
  • กรณีที่เป็นผู้ป่วยใน จะได้รับค่าชดเชย 200 บาทต่อวัน จ่ายสูงสุดไม่เกิน 20 วัน

ส่วนความเสียหายอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับตัวรถและทรัพย์สิน ทาง พ.ร.บ.จะไม่ให้ความคุ้มครอง เจ้าของ รถยนต์ไฟฟ้าจะต้องทำประกันภัยภาคสมัครใจเอง ซึ่งราคาในส่วนของค่าเบี้ยประกันภัยนั้นจะแตกต่างกันตามแต่ละบริษัทประกัน

สรุปได้ว่า รถยนต์ ไฟฟ้า EV หากต้องการทะเบียนรถและนำมาใช้บนท้องถนนจะต้องทำ พ.ร.บ.รถยนต์ เหมือนกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันทั่วไป เพียงแต่ภาษีจะมีการคำนวณในส่วนของน้ำหนักรถ ซึ่งอาจจะแพงกว่าหรือถูกกว่าขึ้นอยู่กับน้ำหนักของตัวรถและนำไปเปรียบเทียบกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันรุ่นใด แต่ถ้าเทียบกับรถยนต์ขนาด 7 ที่นั่ง น้ำหนักไม่เกิน 2,000 กิโลกรัม บอกเลยว่าคุ้มกว่าแน่นอน สำหรับท่านใดที่รถใกล้ถึงกำหนดต้องต่อ พ.ร.บ. และกำลังมองหาที่ ซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์ ออนไลน์ แต่ยังไม่รู้ว่าจะซื้อที่ไหนดี ขอแนะนำ Insurverse บริษัทประกันออนไลน์ในเครือเดียวกับทิพยประกันภัย โดยสามารถเช็กราคา พ.ร.บ. ได้ที่นี่!

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)